postheadericon สุมโน ดาบส

backcover

คลิกที่ในรูปมีไฟล์ประวัติของหลวงพ่อ

alt

 

hthttps://youtu.be/Bfd25Q15Abwps://youtu.be/dCWD6qp0Ydg

https://youtu.be/Bfd25Q15Abw

alt

๒๕๐. ปี (๒๔) ๙๑ อยู่จำพรรษาเจดีย์หลวง อยู่ไปจนเลยแล้งไปอีก ในแล้งพรรษาปีนั้นหล่ะ ได้ปะกันกับท่านสง่าดาบส หลวงพ่อดาบส สุมโน เป็นพระหนุ่มอายุ ๒๔ – ๒๕ พรรษาได้ ๕ พรรษาเต็ม เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อลี วัดอโศการาม บวชมาแต่เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี แต่อยู่ศึกษากรรมฐานกับท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) ที่วัดคลองกุ้ง จะเข้าสังกัดเจดีย์หลวง แต่ท่านเจ้าคุณพุทธิโสภณ ให้เรียนจบนักธรรมเสียก่อน ท่านสง่ามีอุปนิสัยยินดี แต่การออกป่าปฏิบัติ
จึงได้กราบลาหนีขึ้นเมืองพร้าว ขึ้นไปเรื่อยไปอยู่สำนักป่าเฮ้ว ป่าช้าเลไลย์ ญาติโยมศรัทธาเขา ต้องการอยากได้ วัดพระป่าพระธุดงค์ เขาได้แผ้วถางป่าช้า ทำบุญให้เปรตผีเจ้าที่เจ้าทางแล้ว สร้างศาลาธรรมขึ้น กั้นห้องนอน มีห้องถานก็เหมาะกันกับที่ ท่านสง่าขึ้นไปอยู่ให้ ศรัทธาญาติโยมเขาก็ยินดีพอใจ

ผู้ข้าฯ ถาม “ ท่านสอนอะหยังเขาบ้าง ? ”
“ ขอโอกาส สอนให้เขารู้จักไหว้พระสวดมนต์ เจริญเมตตา ฝึกหัดภาวนาทำจิตให้สงบ ฝึกให้เขาได้ปฏิบัติ เทศน์ธรรมให้ฟัง ให้รักษาศีล ให้รู้จักพิจารณาเกิด แก่ เจ็บ ตาย รู้จักแก้ไขจิตของตน ”
“ เขาใส่โทษใส่ความท่านอย่างใด ”
“ เริ่มแรกนั้น หมู่ศรัทธาญาติโยม เขามาขอนิมนต์ ให้เป็นผู้พาทำวิสาขบูชา เพราะผมเล่าสู่เขาฟังว่า ท่านพ่อลี (ธมฺมธโร) เคยพาทำทุกปี ทีนี้ศรัทธาก็ เอะอะชักชวนกันจัดงานขึ้นมา เป็นงานใหญ่ครั้งแรก เพราะไม่เคยมีใครคณะใด ได้จัดงานอย่างนี้มาก่อน พวกเจ้านายผู้ปกครองทางอำเภอ ปลัดอำเภอ จ่าอำเภอ ผู้คนมาร่วมงาน วันนี้เองที่เป็นสาเหตุให้ พระฝ่ายมหานิกายเขาไม่พอใจ จนเดือน ๗ ใกล้เข้าพรรษา พระนิกายวัดกลางเวียง มาขอตรวจหนังสือสุทธิ คัดเอาสำเนาส่งไปยังพระครูสีประสิทธิ์พุทธศาสน์ วัดพันตองในเวียง ”
alt ใกล้เข้าพรรษาวันสองวันตุ๊หลวงวัดกลางเวียง เป็นตุ๊หลวงวัดชื่อ สีป้อ เอาจดหมายของพระครูสีประสิทธิ์ฯ มาขับไล่ให้หนีจากเขตอำเภอพร้าว ไม่ให้อยู่ในเขตอำเภอพร้าว หรือเขตเวียงเชียงใหม่ให้กลับจันทบุรีไป
ผมก็อยู่ฉลองศรัทธาให้แก่ญาติโยมชาวศรัทธา ทีนี้เมื่อออกพรรษาแล้ว พระครูสีประสิทธิ์ขึ้นมาตรวจธรรม สนามหลวงในเขตปกครองอำเภอพร้าว วัดกลางเวียง วันสุดท้ายสอบเสร็จแล้วก็เอาพระเณร นักธรรมมาชุมนุมขับไล่ผมให้ออกจากเขตเวียงพร้าว ๒๐๐ กว่ารูป ตอนเช้าผมกำลังฉันจังหันเช้าอยู่ พระครูสีฯ มาขอหนังสือสุทธิ ทีแรกว่าขอตรวจดูเฉยๆว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอม ผมก็ไม่ไว้ใจเขา เปิดให้เขาดู เขาก็ดึงกระชากจากมือไป แล้วประกาศทันทีว่าเป็นหนังสือสุทธิปลอม บวชด้วยตนเองเป็นพระปลอม เพราะไม่มีตราประทับเข้าสังกัด ไม่มีรูปถ่าย ต้องยึดไว้และขับไล่ให้หนีไป
แล้วเขาใส่โทษว่า ทำการก่อสร้างวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ บังคับให้ผมยอมรับผิด ผมไม่ยอม ขอหนังสือสุทธิคืนเขาก็ไม่ให้ เขาจะให้ผมเซ็นต์ ผมก็ไม่ยอมเซ็นต์ พระครูสีฯ ก็เอาหนังสือไป บอกว่า
“ ถ้าแน่จริงให้ตามไปเอาที่วัดพันตอง หากอยากให้เรื่องจบไวก็ให้กลับจันทบุรีเสีย ”

ทีนี้พวกศรัทธาญาติโยมที่เคารพนับถือเขาฟังอยู่ด้วย เขาก็ไม่พอใจ มีหัวหน้านายตำรวจนายสถานี สมุห์บัญชีอำเภอ ปลัดอำเภอ นายกำนัน พ่อแก่บ้าน ผู้คนหลายคน เขาก็ว่า
“ ท่านพระครู การก่อสร้างวัดนี้พวกผมนี้หละทำมาก่อน ท่านสง่าเดินธุดงค์มาของท่านเอง พวกผมต้องการอยากได้ตุ๊เจ้าผู้ทรงศีลมาค้ำวัดค้ำศาสนา จึงนิมนต์ไว้ จะมาว่าท่านสง่าผิดนั้นไม่ควร ถ้าท่านพระครูจะเอาผิดก็ต้องเอาผิดพวกผมทั้งหมดทุกคนนี้ ”

ท่านพระครูสีฯ ก็ไม่ยอมฟัง ยังขู่โยมทั้งหลายว่า จะให้พวกเจ้านายในเวียงออกมาเอาโทษด้วย ข่มขู่ผมกับพวกโยมอยู่นาน ก็พาหมู่พระเณรกลับวัดกลางเวียง หัวค่ำวันนั้นพวกเขาก็เอาหนังสือสุทธิ หนังสือบันทึกข้อความ เข้าไปแจ้งนายอำเภอ นายอำเภอก็ว่า
“ ผมเป็นผู้ปกครองในเขตนี้ ท่านไปทำมาเองโดยพลการ ผมไม่รู้เรื่อง ผมเป็นนายอำเภอ รักษาราษฎร รักษากฎหมาย หากใครทำผิดผมจับใส่โทษได้ทั้งนั้น จับได้ทั้งพระทั้งคน ”
ท่านพระครูสีฯ ก็กลับ เมื่อเขาไม่ยอมคืนสุทธิให้แล้ว วันรุ่งขึ้นญาติโยมผู้คนก็มาชุมนุมปรึกษากันอยู่ว่าจะเอาอย่างไรกับเจ้าคณะอำเภอ ทางนายอำเภอก็จะเอาเรื่อง ผมก็เลยประกาศว่า
“ หนังสือสุทธิที่เขายึดไปนั้นก็ไปจากที่นี่ หากอาตมาไม่มีความผิดและไม่มีเรื่องอะไร เขาจะต้องเอามาส่งคืนที่นี่ และผู้ใดเอาไปผู้นั้นต้องเอามาคืน ”
แล้วผมก็เขียนจดหมาย ลำดับเหตุการณ์แต่ต้นจนจบแจ้งไปยังพระอุปัชญาย์ ท่านเจ้าคุณอมรโมลี เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรีฉบับหนึ่ง อีกฉบับหนึ่งแจ้งไปหาท่านพ่อลีผู้เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอุปัชญาย์ก็แจ้งตอบมาว่า
“ ให้รอฟังดูว่าเขาจะจัดการอย่างไรและได้ส่งท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) ขึ้นไปทำการแทนแล้ว ”
ทีนี้ทางท่านพ่อลีก็แจ้งจดหมายมาอย่างเดียวกันว่า
“ ให้รอฟังดูก่อน หากเขาไม่ยอมส่งคืนให้ก็จะขึ้นไปจัดการให้ถึงที่สุด ”

ท่านสง่ารอหนังสือสุทธิอยู่ ๓ ปี ไม่ได้เรื่องไม่ได้ความอะไร จึงเข้ามาตามหนังสือสุทธิที่วัดพันตอง พระครูสีก็ว่า “ ไม่รู้ว่าเก็บไว้ไหนแล้ว ”
จึงมาพักอยู่กับวัดหอธรรม รอเข้าพบท่านเจ้าคุณฯ พุทธิโสภณ วันรุ่งขึ้นจึงได้พบ ท่านเจ้าคุณก็ว่า
“ เขาส่งมาให้นานแล้ว ” “ เอ้า...เอาคืนไปเหียตุ๊ ”
ท่านสง่าก็ว่า “ ส่งมาอย่างนี้ผมไม่เอา ” กราบแล้วก็ลงกุฎิแจ้งไปยังพระอุปัชญาย์
พระอุปัชญาย์ก็ว่า “ เขาส่งให้แล้วก็รับเสีย ”
ท่านสง่าก็พิจารณาว่า หากรับเอาก็เสียสัจจะของตัวเอง ไม่รับก็จะเสียอุปัชญาย์อาจารย์

๒๕๑.) ปี (๒๔) ๙๓ เดือน ๑๒ ท่านสง่าเข้ามาคุยกับผู้ข้าฯ อยู่ข้างในอุโบสถ์หลังพระยืน ว่าจะเอาอย่างใด ? เพราะทางท่านเจ้าคุณวัดเจดีย์หลวง พระมหา พระปลัด ก็ไม่พอใจไม่อยากจะให้อยู่ เพราะว่าผมดื้อรั้น ไม่ถือครูบาอาจารย์ เราก็ว่า เป็นพระเขาก็ว่าให้ได้ เป็นเณรเขาก็ว่าให้ได้ เพราะพระเณรต้องถืออุปัชญาย์ครูบาอาจารย์ อย่าหาว่าผมประมาทผ้าทรงของพระพุทธเจ้า หนีออกไปบวชเป็นฤาษีดาบสเสียอยู่ให้ห่างไกลจากผู้คนเหล่านี้ เพศเป็นนักบวชแต่เราก็รักษาศีล สมาธิ ปัญญาของพุทธะได้
สุดท้ายก็ตกลงใจได้ว่าจะไปเสาะหาที่อยู่ภูเขาทางเวียงป่าเป้า ผู้ข้าฯก็เตือนว่า อย่าได้กลับไปอยู่เมืองพร้าวอีก เพราะจะเป็นเหตุให้เขาไม่พอใจและเอาผิดได้มากกว่าเก่าอีก

วัน ๑๓ ค่ำ พระมหาจันทร์ (กุสโล) บอกให้พระปลัดเกตุ (วณฺณโก) มาแจ้งให้ทราบว่าหากไม่ยอมรับใบสุทธิ ไม่ยอมขอขมาต่อครูบาอาจารย์ ท่านเจ้าคุณฯ ว่าไม่ให้อยู่ด้วย ตอนหัวค่ำ ท่านสง่าก็มาบอกลาว่าพรุ่งนี้เช้าบิณฑบาตได้แล้ว ผมจะออกไปจากเวียง หนังสือสุทธิไม่เอา แล้วท่านสง่าก็ฝากหนังสือแจ้งต่อคณะสงฆ์ไว้ยื่นให้ผู้ข้าฯ
ผู้ข้าฯ ก็ว่าดีอยู่ แต่ไม่ดีอย่างหนึ่ง ถ้าหากท่านเอาหนังสือฝากไว้กับผม ผมได้เอาไปแจ้งต่อคณะสงฆ์ท่านเจ้าคุณ ทางท่านเจ้าคุณฯ ก็จะรู้ว่า ผมเป็นผู้เจ้ากี้เจ้าการ ขอให้ท่านเอาไว้ในห้องพัก เอาอะไรทับไว้แล้วก็ไปได้ หากอยู่ไหนก็แจ้งข่าวให้ศรัทธาญาติโยมเมืองพร้าวเขาทราบก็พอแล้ว

ท่านสง่าหนีออกจากวัดเจดีย์หลวงวัน ๑๔ ค่ำ ก่อนลงอุโบสถวันหนึ่ง มาภายหลังได้ข่าวว่าไปสึกอยู่เวียงป่าเป้า ศรัทธาญาติโยมก็ไปเอาลงมาอยู่ที่เก่าอีก ไม่สร้างเป็นวัด แต่ให้เป็นที่พักปฏิบัติธรรม บวชเป็นดาบสแล้วก็เลาะเที่ยวไปได้ตลอดไปอยู่ทางเมืองน่าน เมืองแพร่ สุดท้ายไปอยู่เชียงราย มาเรียกชื่อตัวเองว่า “ ดาบสสง่า ”
ดาบสสง่าเป็นคนบางกระจะ จันทบุรี บวชเป็นศิษย์ท่านอาจารย์ลี สมัยอยู่เมืองจันทบุรี ได้ ๔ พรรษา ก็ขึ้นเชียงใหม่เป็นคนมั่นคงในสัจจะ ตั้งมั่นในข้อศีลนี้เรื่องของดาบสสุมโน ลาสิกขาเป็นดาบสก็เพราะรักษาสัจจะ เป็นคนอ่อนน้อม วัดที่สง่าดาบสไปอยู่ตอนเป็นพระนั้นเอาชื่อ วัดป่าเลไลย์เป็นป่าช้าป่าเฮ้วที่ทิ้งผีของชาวบ้าน ต่อมาท่านทองสุกคนสว่างแดนดินไปอยู่ ท่านอาจารย์สิม (พุทฺธาจาโร) หาเงินไปสร้าง ย้ายไปอยู่ที่แม่กอย ตรงที่ท่านอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ไปอยู่จำพรรษา แล้วตั้งชื่อวัดป่าพระอาจารย์มั่น
***คัดจากธรรมประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ : กลับเมืองเหนือเครือคร่าววัยธรรม — กับ พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว และ Praphaporn Yamebane

"...เดิมชื่อ สง่า นามสกุล เจริญจิตต์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๖๗ ปีชวด ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นลูกคนที่ ๖ ในจำนวนทั้งหมด ๘ คน บิดาชื่อ “นายเถียน” มารดาชื่อ “นางเวียง”

ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ อายุได้ ๑๘ ปี “คุณป้า” ได้นำ “เด็กชายสง่า” ไปบรรพชาที่ “วัดจันทนาราม” จังหวัดจันทบุรี เพื่อเรียนปริยัติธรรมซึ่งต่อมาสามารถ สอบได้ทั้ง “นักธรรมตรี” และ “นักธรรมโท”

พ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม แสวงหาธรรม จึงออกเดินธุดงค์ไป “จังหวัดเชียงใหม่” ตามเส้นทาง “อำเภอดอยสะเก็ด” สู่ “ถ้ำเชียงดาว” อำเภอเชียงดาว

ได้ธุดงค์พลัดเข้ามาสู่เขตพื้นที่ของ “อำเภอพร้าว” ในปี ๒๔๙๐ ถึง ๒๔๙๔ จึงพำนักและปฏิบัติธรรมใน “ป่าช้า” ของตำบลเวียง อำเภอพร้าว หรือ “วัดป่าเลไลย์” เป็นเวลาถึง ๔ ปี

ณ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” ตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยม่อนพระเจ้าหล่าย อำเภอเวียงป่าเป้า ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์”

โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียงผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว้ จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยม่อนพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “๓ วัน ๓ คืน”

จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ สิริอายุได้ ๗๖ ปี

“หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่าน

นอกจากนี้ ในวันเผาสรีระของท่าน แต่หัวใจของท่าน กลับเผาไม่ไหม้ แถมยังแปรสภาพเป็น "สีเขียวมรกต" อีกด้วย พร้อมกันนี้ยังมีเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นอัศจรรย์ ท่ามกลางสายตาของผู้ร่วมพิธีนับพันคน นั่นก็คือมีแสงรุ้งรัศมีขึ้นบนท้องฟ้า ในขณะพิธีฌาปนกิจศพของท่านด้วย

เหมือนกับท่านบอกว่าเป็นนัยยะว่า นับประสาอะไร..อุปสรรคเช่นนี้ที่เป็นเปลวไฟของกิเลส จะมาย่ำยีท่านได้ ผลที่สุด "หัวใจ" ท่านจึงได้กลายเป็นอมตะ หลุดพ้นจากไฟกิเลสที่เผาผลาญทั้งปวง

จึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป

 

โดยเฉพาะท่านยังอยู่ในหัวใจของคณะศิษย์หลวงพ่อฯ และ "คณะตามรอยพระพุทธบาท" ตลอดมา ประทับใจที่ได้ไปฟังธรรมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ทุกวันนี้..หัวใจของท่าน ศิษยานุศิษย์ยังคงเก็บรักษาไว้ ณ กุฏิของท่านเพื่อเป็นที่สักการะแก่ผู้ศรัทธาโดยทั่วไป

นอกจากหลวงพ่อดาบส แล้ว ที่ไฟไม่อาจย่อยสลาย “ดวงใจ” ของท่านได้ ยังคงมีเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันของภิกษุณี “หยวนจ้าว” ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศจีน และ หลวงปู่ ติช กวาง ดึ๊ก ที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนามเช่นกัน (อ่านรายละเอียดได้ที่ tnews.co.th/contents/221427)

พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต เรียบเรียง วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๑

หลวงพ่อผู้มีทิพจักขุญาณแจ่มใส

 

อาจารย์ ยกทรงบอกว่า ขนาดคนขอยืมเงินทำบุญ อยู่ห้องโน้นที่หน้าห้องส้วม ทำบุญจนหมดตัวแล้วหลวงพ่อพูดอะไรไม่รู้ เอาไม่อยู่ขอยืมเงินเพื่อน ให้กูร้อยหนึ่งน่า เดี๋ยวกูมาใช้มึง เวลาถวายปุ๊บ หลวงพ่อก็แซวเลย ให้กูร้อยเถอะจะรีบใช้มึงแล้วแกก็กลับไปนินทาหลวงพ่อ อะไรวะกำแพงขวางยังมองเห็นอีก โอ้โฮ ทำไมถึงตายาวขนาดนั้น แล้วอีกคนหนึ่งก็เร่งรีบเช่าสามล้อเข้าปากทางถนนใหญ่ ความจริงวันนั้นหมดเวลาแล้ว เราก็บอกหลวงพ่อนิมนต์เถอะ ครับ หลวงพ่อบอกเดี๋ยวรออีกคนหนึ่ง ไอ้เราก็ไม่กล้าขัดใจก็คุยโน่นคุยนี่ถ่วงไป ประมาณสัก ๒๐ ทีก็มาถวายเยอะ เจ้าคนนั้นศรัทธาแรงเต็มที่ ๒๐ บาท เราก็เลยกระซิบถาม หลวงพ่อ ๒๐ บาท ก็ยังคอยเหรอ หลวงพ่อบอกเขามาไกล เขาลำบาก เราอยู่ใกล้ลุกเมื่อไหร่ก็ไปได้ ตรง นี้ท่านเคยสอนพระไว้ ไม่ให้เสียพระง่ายๆ เขาทำบุญ ๑๐ บาท ๒๐ บาท มากบ้าง น้อยบ้าง อย่าไปดูถูกเขา ท่านให้ดูกำลังใจคน ถ้าแกคิดอย่างนี้แกจะตกนรกง่ายที่สุด เขาทำบุญมากทำบุญน้อย ต่อไปแกจะโลภ หลวงพ่อบอกต้องดูกำลังใจคน แกจะวัดด้วยเงินหรืออะไรไม่ได้ ท่านสอนเรานะ ท่าน ถือว่ากำลังใจสำคัญยิ่งอย่างโยมคนเมื่อกี้มาจากชลบุรี เป็นคนมีอายุแล้ว การเดินทางไกลก็ย่อมไม่สะดวก อย่างหลวงพ่อดาบสเทศน์ คนที่ขึ้นรถลงเรือมาไกลอย่างนี้ ถือว่าเอาชีวิตมาทำบุญ เพราะว่าการขึ้นรถออกจากบ้านมาแล้ว มันสามารถจะตายได้ทุกเวลาเช่นกัน ชีวิตเรายังไม่ห่วง เรียกว่า ปรมัตถบารมีจริงๆ

alt

 

 

 

แก้ไขล่าสุด (วันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2020 เวลา 04:05 น.)