postheadericon คนเราเข้าใจผิดว่าสมาธิทำจิตว่างไม่ได้

 alt

คนเราเข้าใจผิดว่าสมาธิทำจิตว่างไม่ได้

นะโมตัสสะ  ภควะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

จะกล่าวถึง ใจว่าง  ใจว่าง หรือสมาธิทำจิตว่าง   บางคนพูดว่า จิตว่างนั้นไม่มี   เป็นไปไม่ได้  คนเรา จะมีจิตว่างได้อย่างไร  แม้พระอรหันต์  ก็ไม่อาจจะมีจิตว่างได้   ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  คงจะสงสัย อาจเชื่อว่า  คนเราจิตว่างไม่ได้  จิตว่างไม่ได้  ก็หมายความว่า  ต้องรู้อะไรต่ออะไร อยู่เสมอ      ต้องคิดอะไรอยู่เสมอ  จิตแปลว่าผู้รู้  ก็จะต้องรู้อารมณ์อยู่เสมอ   หรือรู้อะไรอยู่เสมอ   ก็เมื่อเขาเห็นว่าจิตว่างไม่ได้  แล้วก็พูดว่า  จิตว่างเป็นไปไม่ได้     ท่านผู้ฟังทั้งหลาย    ผู้ที่พูดว่า  จิตว่างไม่ได้หรือ เป็นไปไม่ได้  หรือไม่มี  อันนี้  เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า  เพราะว่าพระพุทธเจ้า  ท่านสอนให้ทำจิตว่าง   คือสอนให้ทำจิตบริสุทธิ์  จิตว่างเป็นจิตที่บริสุทธิ์  หรือจิตที่สงบ   จิตที่บริสุทธิ์  จิตที่สงบ คือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้า  สอนให้รู้จัก  ความสงบ  ให้ถึงความสงบ  เมื่อจะสงบ  มันก็คือจิตว่าง   ก็เพราะฉะนั้น  จิตว่างจึงเป็นสิ่งที่  ทำได้   ตามหลักของพระพุทธศาสนา  หรือตามความเป็นจริง   พระพุทธเจ้า  ท่านเปรียบจิตของเรา  เป็นธรรมชาติ  บริสุทธิ์   เป็นธรรมชาติ   บริสุทธิ์แต่เดิม  คือเป็นของเดิมบริสุทธิ์  ไม่มีใครสร้างขึ้น  คือไม่มีใครสร้าง   และก็ไม่ใช่เป็นของใคร   จิตเดิมเป็นจิตที่ผ่องใส  ท่านตรัสว่า ปภัสจิตตังภิขเว ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นธรรมชาติ   ผ่องใส  มีความผุดผ่อง  มีความสว่างอยู่ในตัว   คือมีแสงสว่างอยู่ในตัว  การที่เศร้าหมองไป ก็เพราะ อุปกิเลส  ที่จรมา   อุปกิเลส  ที่จรเข้ามา   คือ  โทสะ  โมหะ เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า  จิตเดิมผ่องใส   จิตเดิมบริสุทธิ์  จิตเดิมก็คือจิตว่างนั่นเอง  แต่เพราะว่าเวียนว่ายตายเกิด  มาจนนับชาติไม่ถ้วน  จึงสะสมเอากิเลส   คือเอาความยึดมั่น  ถือมั่น เป็นต้น   เข้ามาถือไว้  ว่าเป็นของๆตัว  หรือเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา   เข้ามาถือเอาครองธาตุ  ทั้ง 4  คือ ธาตุ ดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุลม ธาตุไฟ ว่าเป็นตัวตนของเรา  ก็เมื่อเป็นเช่นนี้  ความถือมั่น มันไม่ยอมปล่อยวาง     มันไม่มีปัญญาที่จะรู้ได้  มันก็เลยเกิดชาติแล้ว ชาติเล่า   

มันก็ไม่รู้สึก  ก็เมื่อไม่รู้แจ้ง  จิตใจมันก็ผันผวน  ก็จึงทำให้ต้องเวียนว่าย  ตายเกิดอยู่เสมอ  จิตก็กลายเป็นจิตที่เศร้าหมอง  คือมีกิเลสเป็นเครื่องเดินไปในสังสารวัฏ  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า  ผู้ใดมาสดับคำของอริยะเจ้า  สดับฟัง  ว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์  แต่เดิม    ละกิเลสจรเข้ามา ทำให้สงบผ่องใสได้  ทำให้บริสุทธิ์ได้  เหมือนผ้าขาว  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  ก็ในเมื่อเป็นเช่นนี้  การทำให้บริสุทธิ์ได้ก็ต้องทำได้   ปฏิบัติจริงๆ  จิตก็จะบริสุทธิ์ได้  และก็จะว่างได้   จิตใจก็จะว่างได้  ก็เหมือนกับผ้าขาวดังว่า    ถ้าไม่ซักมัน  มันก็ไม่มีโอกาส  ที่จะสะอาดขึ้นมาได้  ก็ต้องซักมัน สักกี่ครั้งหมั่นซัก เช่นเราซักผ้า  เราซักผ้าน้ำหนึ่ง   มันก็คงยังไม่สะอาดพอ  เพราะว่ามันเศร้าหมองมามาก  ซักครั้งเดียวมันไม่สะอาดพอ   อย่างผ้าที่เราใช้แล้ว ธรรมดาๆ นี้แหละ  ใช้มา 3 วัน 5 วัน 7 วัน  แล้วก็มาซักมันไม่ใช่มีแต่ฝุ่น  มันก็ติดเหงื่อ  ติดไคล   อะไรๆต่ออะไรต่างๆ น้ำหนึ่งคือว่าเททิ้ง   ก็ยังไม่สะอาดดี  ก็เมื่อยังไม่สะอาดดี ก็ต้องซัก อีก  จนครั้งที่ สอง หรือน้ำสอง  น้ำสองก็ยังไม่สะอาดดี เห็นว่าควรจะใช้สบู่ ก็หาสบู่ หรือผงซักฟอก  ฟอกเข้าไปใหม่ จนเป็นน้ำสาม น้ำสี่ไป  สุดท้ายก็เห็นว่าน้ำมันใสดีแล้ว  พอซักไปๆน้ำมันใสดีแล้ว  น้ำมันไม่ขุ่น ก็ทราบว่า  สะอาด หรือผ้านี้สะอาดแล้ว   ฉันใดก็ดีจิตใจของคนเรานี้  มันก็ทำให้ สะอาด สงบได้  บริสุทธิ์ได้  ว่างได้เป็นสมาธิได้   ก็หมายความว่า  คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น  ทำจิตให้ว่างได้  จิตนี้ทำให้ว่างได้  ทำให้สงบได้  ทำให้บริสุทธิ์ได้  การทำจิตให้ว่าง  เรียกว่า  สุญตะสมาธิ   สุญญตะสมาธิ แปลว่าทำจิตว่าง   หรือมีจิตว่าง    อนิมิตะ สมาธิแปลว่า  สมาธิ ไม่มีนิมิตอะไรทั้งนั้น   อุปติจิตตะสมาธิ สมาธิ  ไม่มีที่ตั้ง  คือจิตไม่มีที่ตั้งใดๆ ทั้งนั้นคือ ไม่ตั้งลงใน อารมณ์ใดๆทั้งนั้น  ไม่ตั้งลงไป ในอดีต  ในอนาคต   แล้วในปัจจุบัน    สมาธิ  ๓  อย่างนี้  คือสุญญตะสมาธิ  สมาธิจิตว่าง   อนิมิตะสมาธิ   สมาธิไม่มีนิมิต   คือไม่มีอะไร  เป็นที่หมาย  อุปติจิตตะสมาธิ   สมาธิไม่มีที่ตั้ง   คือไม่ต้องรู้อารมณ์ทั้งนั้น   ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เนื้อความมันก็อย่างเดียวกัน    คือรวมอยู่ที่จิตว่าง  เมื่อจิตว่าง  มันก็เป็นสุญญตะสมาธิ   อนิมิตตะสมาธิ   และอุปนิมิตตะสมาธิ    ก็เพราะฉะนั้น  พระพุทธเจ้า จึงตรัสสอน ภิกษุทั้งหลาย  ตรัสที่ในปราสาทของนางวิสาขา   ว่าให้ภิกษุทั้งหลาย   ศึกษาปฏิบัติ ทำสมาธิอยู่ด้วย สมาธิอันมีความว่าง  แม้สมณะพราหม์  ทั้งหลาย  แม้ในอดีตก็ดี  ปัจจุบันก็ดี    แม้ในอนาคตก็ดี   ก็ยังอยู่ด้วยความว่าง   มีความว่างเป็นที่อยู่แห่งจิต  คือไม่ได้อยู่ด้วยอะไรทั้งนั้น   คือไม่ได้ตั้งอยู่ที่นั้น  ไม่ได้ตั้งอยู่ที่นี้   ไม่มีความคิดอะไรทั้งนั้น   คือไม่มีอารมณ์   คือว่างจากอารมณ์   ฉะนั้นจึงเรียกง่ายๆ  หรือเรียกรวมคำเดียวว่าจิตว่าง    การที่จะทำจิตว่าง หรือว่างได้มันก็มีเครื่องพิสูจน์ได้  เราพิสูจน์ ได้ด้วยตัวของเราเอง  คือพิสูจน์  อย่างง่ายๆ  ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ก่อนนี้เราก็มาเกิดไม่มีอะไรกับเรามาได้เลย    ตอนที่เรามาเกิด   เราก็ไม่ได้แบก สมบัติ  พัฎสถาน  หรือกำเงินกำทองอะไรมาได้เลย    เราไม่ได้มาเอาสมบัติ  หรือกำเงินกำทองอะไรมาเลย   แล้วเราก็มาริมาหา  มารวบรวม ประกอบอาชีพ   จนมีอันนั้น ขึ้นมา  มีอันนี้ขึ้นมา   มีที่ดิน  มีบ้านเรือน   แล้วก็มีข้าวของ  เงินทอง  เครื่องมือ  เครื่องไม้ใช้สอย   อุปกรณ์ เต็มบ้าน เต็มเรือน  จนมีบริวาร   จนมีครอบครัว   ท่านผู้ฟังทั้งหลาย    ก็สิ่งเหล่านี้  ก็มีมาทีหลัง   เป็นสิ่งที่มาทีหลัง   ก็สิ่งที่มาทีหลังนี่  มันก็มารวมอยู่ที่ใจ  ว่า  เป็นของเราๆ  ก็มารวมอยู่ที่ใจว่า  อันนั้นก็เป็นของเรา   อันนี้ก็เป็นของเรา ใครเอาไปไม่ได้    ต้องเราให้หรือเราสละ  ถ้าเราไม่ให้   เราไม่เสียสละ ก็ต้องถือว่าเป็นขโมย  หรือเป็นโจร  หรือประพฤติผิดศิลธรรม    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย    เรื่องเหล่านี้  ทรัพย์สิน  เงินทอง บ้าน ช่อง  ที่ไร่ ที่นา  กับทั้งสมบัติภัสสถานต่างๆ   เมื่อรวบรวมไว้  เข้ามาถือว่าอันนั้นเป็นของเรา  อันนี้เป็นของเรา   จะต้องมา ขบมาคิด มากังวลเศร้าหมองมายึดถือ  ต้องนึกต้องคิด  นึกถึงค่ำนึกถึงเช้าอยู่เสมอ  เรียกว่าเอามาไว้ในใจ    เรียกภาษาธรรมว่า   อุปทาน   คือความเข้าไปยึดถือ   นี่ก็เป็นเพียงสมบัติภายนอก  แต่สมบัติมันก็มีหลายระดับ  สิ่งที่เข้าไปยึดไปถือ  โดยที่สุด  ละเอียดเข้าไป   มันก็ไปถือแม้แต่ สะรีระร่างกาย  คือ สะรีระร่างกาย  อันเป็นสิ่งที่มีธาตุทั้ง  4   คือดิน น้ำลม  ไฟ   มันก็เป็นสิ่งที่  บังเกิดขึ้นทีหลังเหมือนกันกับ    ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   มันก็มาก่อตัวขึ้นทีหลัง  

เมื่อมาก่อตัวขึ้นในครรภ์แล้ว  ภายหลัง  คลอดออกมาจากครรภ์  โตวันโตคืนขึ้นมา  จนเป็นหนุ่มเป็นสาว  จนแก่จนเฒ่า ประเดี๋ยว  ประด๋าว อันนี้คือว่ามันมาทีหลังเหมือนกัน  ก็ล้วนแต่เกิดมาทีหลัง  เกิดขึ้นทีหลัง  คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อน แม้ความคิด ก็มาทีหลัง เหมือนกัน  ก็เป็นอันว่า  สิ่งที่มาทีหลังนี้ทั้งหมด   เข้าไปยึดถือไว้   มันก็เป็นของหนัก ภาราหะเว  เรียกว่าเป็นของหนัก เป็นภาระ  ก็สิ่งเหล่านี้  เราทำให้ว่างได้  สิ่งเหล่านี้คือปฎิบัติให้ว่างได้  แม้สิ่งเหล่านั้นจะมีอยู่ ก็ทำจิตใจของเราให้ว่างได้   คือด้วยการ  ละวาง  หรือการไม่เข้าไปยึดถือมัน  มันก็ว่างได้  ว่างได้ไม่ตลอด  แต่มันก็ว่างได้   แม้ประเดี๋ยวประด๋าว  หรือเป็นครั้งเป็นคราว ก็ว่างได้  เช่นเราจะปฏิบัติธรรม  เข้ามาปฏิบัติธรรมอยู่ในอาศรมนี้ เป็นต้น  เราก็ไม่ได้เห็นสมบัติ เหล่านั้น  เดี๋ยวก็ลูกหลาน  เดี๋ยวก็คนซื้อ  เดี๋ยวก็คนหา  ประเดี๋ยวก็เรื่องเงิน เดี๋ยวก็เรื่องทอง เดี๋ยวก็เถือกสวนไร่นา   อะไรต่อมิอะไรมากมาย  ก็หุ้มรุมเข้ามา  สิ่งเหล่านั้น สำคัญว่าเป็นภาระหน้าที่  แต่ถ้ามาอยู่ที่นี้   หรือเข้ามาพักมาปฏิบัติธรรม  สละเสีย ชั่วคราว  ไม่คิดมันล่ะ  ชั่วโมงนี้ มันก็วางได้   มันก็ว่างได้ ชั่วโมงหนึ่ง  มันก็เบา ชั่วโมงหนึ่ง  หรือว่างได้ชั่วขณะหนึ่ง  มันก็เบา ขณะหนึ่งแค่นั้นเอง   คือเราไม่ต้องไปคิดมัน ไม่ต้องไปทุกข์มัน  ไม่ต้องไปห่วงมัน   เหมือนกับว่ามันไม่มีเสียแล้ว  เมื่อเราไม่คิดมัน  ไม่มีมันไม่ตามรู้มัน  นั่นก็เท่ากับว่าไม่มี   ก็ว่าเท่ากับไม่มี เท่ากับว่าง  อันนี้ก็คือ สุญญตา เพราะฉนั้นสุญญตา หรือสมาธินั้นว่าง  คือว่างจากที่ข้าวของ  เงินทอง  ทรัพย์สมบัติ  บ้านเรือน  ครอบครัว  อันนี้ก็ว่างไป  ว่างได้ไหม  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย    มันก็ว่างได้  ก็เพราะฉะนั้น  จิตว่าง   ว่างไม่ได้  มันเป็นสิ่งที่ท่านพูดไม่ถูก  พูดไม่ถูก คือไม่ถูกตามหลักของพระพุทธเจ้า  หลักของพระพุทธเจ้านั้น ว่างได้   แล้วก็ทำได้  แล้วก็เป็นของจริง  ที่นี้  มาว่าถึง   ผู้ที่อยู่ในวัด   หรือมาอยู่ใน สำนักปฏิบัติธรรม  ว่างจากบ้าน  ว่างจากเรือน  ว่างจากข้าวของ เงิน ทอง  ครอบครัว ก็เป็นไปแล้วตามเหล่านั้น   แต่ว่าก็ยังคลุกคลี กันอยู่   นอนคุยกัน  นั่งก็ยังคุยกัน  นอนคุยกัน  นั่งคุยกัน  นอนเล่น  นั่งเล่นแล้ว  มันก็ไม่ว่าง ได้เหมือนกัน   คือมันยังไม่ว่าง  คือมันว่างไปอันหนึ่ง  อีกอันหนึ่งมันยังไม่ว่าง  ก็ในเมื่ออันหนึ่งว่าง  อีกอันหนึ่งก็ยังไม่ว่าง  เอ้าอยู่เฉยๆ อยู่ไม่ได้หรอก  ต้องไปนั่งคุยกันที่ต้นไม้ ต้องไปนั่งคุยกันที่ตรงนั้นตรงนี้  หรือนอนอยู่คนเดียวก็ไม่ได้   ก็ต้องไปนอนคุยกับคนนั้นเป็นเพื่อน   ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   อันนี้ก็ย่อมมีอารมณ์  ยึดมั่น ถือมั่นอยู่   ก็ในเมื่อเป็นเช่นนี้  ก็ไม่เอาแล้ว  ต้องไปนอนคุยกัน  ไปนั่งคุยกัน  จิตใจมันก็ไม่ว่าง  ก็เพราะฉะนั้น ต้องไปนอนคนเดียว  ต้องไปนั่งไปคนเดียว   ไม่ต้องไปคลุกคลีกับใคร  แต่ว่า ไม่ใช่ว่าไม่พูดกับใคร   ไปโกรธกับใคร  ไม่ใช่อย่างนั้น   คือไปนั่งสงบ  อยู่คนเดียว  ทำใจให้ว่าง  โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น   เรื่องภายนอก ก็ไม่ต้องคิดล่ะ  เรื่องภายในก็ไม่ต้องคิดแล้ว  เรื่องที่ผ่านมาก็ไม่ต้องไปคิดมัน เรื่องข้างหน้าก็ไม่ต้องไปห่วงมันแล้ว  เรื่องปัจจุบันก็ปล่อยวางมันแล้ว   ก็อย่างงี้ก็ มันก็จะเข้าถึง ความว่างเปล่า  เข้าไปจนหมดความสงสัย   จิตใจมันก็ผ่องใส  จิตมันก็จะสะอาด  เพราะความสะอาดนั้นมันมีหลายระดับ   หรือความว่างนั้นมีหลายระดับ   เหมือนดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น การซักฟอกจิต เราก็ต้องซักแล้ว  ซักอีกหลายๆครั้ง มันก็จะสะอาด  ใสสะอาดขึ้นมาได้   ถ้าละเอียดเข้าไปมากๆขึ้นไป มันก็จะเป็น  สุญญตะสมาธิ   อนิมิตสมาธิ   อุปนิจิตตะสมาธิ   ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้   ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย  ได้ความว่า   สมาธิ  หรือ  จิตว่างนั้น  เป็นสิ่งที่ทำได้  เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้   และการจะเข้าถึง ก็ต้องเข้าถึงเป็นลำดับๆไป   จะเอาทีเดียวให้มันสำเร็จ เป็นขั้นสุดยอด  มันก็จะยาก  สักน้อยหนึ่ง  ค่อยทำ ค่อยไป  ค่อยซักค่อยฟอก ค่อยละ  ค่อยวางไป  มันก็ขาวผ่องใส ขึ้นตามโอกาส  ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย   ท่านพระคุณเจ้า กล่าวมาถึง   เรื่องจิตว่าง  ซึ่งบางคนว่า  ว่างมันไม่ได้   อันนั้น  มันเป็นการกล่าวที่ไม่ถูกต้อง    แต่จิตว่างนั้น   เป็นสิ่งที่ทำได้  ถูกต้องตามหลัก คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   แสดงมาย่อๆถึงเรื่องจิตว่าง  ว่าทำได้ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  โดยย่อก็ขอยุติลง   ด้วยประการละฉะนี้   ลูกขอกราบ องค์  สมเด็จพ่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า  กราบหลวงพ่อดาบส สุมโน ด้วยเศียรเกล้า  (อาศรมไผ่มรกต.com)

แก้ไขล่าสุด (วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2013 เวลา 14:13 น.)