postheadericon ร่างกายนี้เป็นของเราจริงหรือ

alt 

ร่างกายอันนี้ ไม่มีใครจะเป็นเจ้าของได้หรือหวงห้ามได้ ก็คือถือเอามาเป็นตัวเราของเราได้                  

       แต่แล้วเราก็ยังไม่เห็นแจ้งตามมความเป็นจริง เรายังยึดว่าเป้นของเรา เรายังให้ความสำคัญว่าที่เรายึดถืออยู่นี้ถูกต้อง แม้พระพุทธเจ้า และเหล่าพระอริยสงฆ์ทั้งหลายซึ่งรู้แจ้งแล้ว ก็ตรัสแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามันไม่ใช่เรา วัตถุธาตุเหล่านี้เป็นกองทุกข์ล้วนๆ เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎฎ์อันเป็นกองไฟใหญ่ หรือเป็นห้วงมหันต์ทุกข์มหันต์ภัยใหญ่อันนี้ ไม่รู้จักจบจักสิ้น เกิดเป็นอะไรต่ออะไร ได้ทั้งนั้น แล้วแต่อำนาจของจิตจะพาไป ถ้าจิตยึดความเศร้าหมองก็จะไปเกิดที่ต่ำที่เลว ที่มีความทุกข์เป็นอบาย ถ้าจิตผ่องใสตามลำดับของการปฎิบัติ ตายไปก็จะไปเกิดในที่สูง ที่มีความสุขโลกสวรรค์ หรือพรหมโลก แต่ถ้ารู้แจ้งด้วยความรู้สึกตัวตามความเป็นจริง ในสังขารในขันธ์ทั้งปวง ก็จะหลุดพ้นจากสรรพทุกข์ทั้งหลาย และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎฎ์อันเป็นมหันต์ทุกข์อันนี้ 

พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า การที่ยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรานั้น มันเป็นความหลงผิด มันไม่เป็นความจริง ในเมื่อเป็นเช่นนี้

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  แล้วไฉนเล่าเราจะรู้แจ้งตามความเป็นจริงที่พระพุทธเจ้าทรง เทศนาบอกไว้  เราจะทำอย่างไร   เราจะปฏิบัติอย่างไร  ว่ามันไม่ใช่ตัวของเราจริงๆ  เราจะทำอย่างไรเราจึงจะทำได้  เราจะมีอุบายอย่างไรหรือ   หรือจะมีดวงตาวิเศษอะไรที่มันส่องให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริง   ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นั้นเป็นความจริงแท้    เพราะสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น  เป็นสิ่งที่ลี้ลับ  หรือปิดบัง  คืออวิชาปิดบัง  หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งมันมาปิดบังไม่ให้เรามองเห็นว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันเป็นอนัตตา   ก็ในเมื่อสิ่งที่มันปิดบังแล้ว    เราจะมองเห็นได้หรือไม่  รู้ตามความเป็นจริงได้หรือไม่  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   ถ้าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  ไปตามอนุสัยบารมี หรือตามขั้นตอน  เราก็จะรู้แจ้งตามความเป็นจริงได้  ขั้นแรกเรายังไม่รู้ว่า  สรีระร่างกายของเรานี้  มันไม่ใช่ตัวตนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้เราก็ค่อยๆ คลำไป คลำไป 

  เบื้องต้นเราก็สวดคำที่ท่านทั้งหลายสวดกันเมื่อสักครู่นี้   เราก็ลองเอาบทนั้นมาสาธยายทบทวนดู

*** อะยังโขเมกาโย  อุทธัง  ปาทะตะลา อะโธ  เกสะมัตถะกา  ตะจะปริยันโต  ***

   ดังที่สวดกันข้างต้นนี้  ผ่านไปเมื่อสักครู่นี้  ว่ากายของเรานี้  ตั้งแต่เบื้องบนลงไป จดเบื้องล่าง  ตั้งแต่เบื้องล่าง คือฝ่าเท้ามาจดเบื้องปลายผม   และโดยรอบคือ       ปะริยันโต   อันมีหนังหุ้มห่ออยู่โดยรอบนี้   อะสุจิโน   มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาดทั้งนั้น   ของที่ไม่สะอาดเต็มไปในกายของเรานี้ทั้งนั้น  มีอะไรบ้างคือสิ่งที่กันง่ายๆ  ผม แล้วก็มาขน เล็บ ฟัน หนัง   และลึกเข้าไป  จากผิวหนังเข้าไปก็เป็นเส้น  เป็นเอ็น  เนื้อรัด  แล้วก็ไส้ พุง ปอด น้ำดี  น้ำเสลด  กระเพาะ  อะไรต่ออะไร  ไปจนถึงกระดูก  เราก็ทบทวนดูที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไขเนื้อความไว้ว่า   มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด  เหล่านี้   เหมือนกับป่าช้าฝังไว้  ซึ่งอสุภะทั้งหลายคือ   ซากทั้งหลายซากศพ คือซากปลา  ซากหมู ซากเป็ด ซากไก่  อะไรต่ออะไรเก็บไว้ที่สรีระร่างกายนี้   โดยผสมแปลงเป็นเนื้อ  คือเรียกว่าเข้าไปในร่างกาย  ทีแรกก็เป็นก้อน  เป็นก้อนๆ  เป็นคำๆ  เป็นชิ้นๆ  แล้วก็เคี้ยวเข้าไป  เคี้ยวเข้าไปก็ไปเข้าโรงงานในลำไส้  ในท้องของเรานี้แหละ  มันมีโรงงานคือ โรงงานบด  โรงงานแปลงเนื้อให้เป็นเลือดใส  เลือดข้น  แล้วก็เอาไปเก็บไว้เป็นเนื้อเป็นหนัง   คือเอาไปเป็นกระดูกบ้าง  เอาไปเป็นส่วนต่างๆ ก็เหมือนกับว่าที่เก็บศพ  เป็นสถานที่เก็บศพต่างๆไว้   เราก็พิจารณาตามที่ ท่านเทศนา  ไขเนื้อความไว้เราก็พิจารณาทบทวนดูว่า สรีระร่างกายของเรานี้  ท่านสอนไว้อย่างนี้  ท่านชี้บอกไว้อย่างนี้  มันเป็นความจริงหรือไม่  มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาดสกปรก   เผลอเข้าก็ไหลออกมาทางปาก  ทางจมูก  ไหลออกทางหู  ไหลออกมาทางทวารต่างๆ   หรือไม่ไหลออกมาทางช่องต่างๆ  ก็ซึมออกมาทางหนังเป็นน้ำเหมือง  เป็นน้ำไคล  มีกลิ่นไม่สะอาด   เหม็น  อะไรเหล่านี้เป็นต้น  ถ้าเกิดพุพองขึ้นมามันก็จะเน่า  ถ้าไม่หาย  รักษาไม่หายมันก็จะเน่าจะเปื่อย  แล้วก็จะเหม็น  ในที่สุดเนื้อหนังมังสัง  ตลอดจน  กระดูกไม่มีอะไรดี  ทีแรกเราก็พิจารณาไปอย่างนี้  ที่พระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่ตัวตนหรือไม่ใช่ของเรา ไม่มีใครเป็นเจ้าของได้โดยแท้จริง เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้ไปแยกออกไปเป็นส่วนๆ  มองไปก็จะค่อยๆรู้ได้นิดๆ หน่อยๆ  ถึงไม่รู้มาก  เราก็พอจะคลายความลุ่มหลง  หรือความหลงผิดไปได้บ้างไม่มากก็น้อย   เราก็อาศัยเหตุอันนี้   แต่ที่แล้วมาเราก็มายึดว่าเป็นตัวของเขา  ว่าเป็นเรา  เป็นตัวเป็นตนกันอย่างจริงจังเลยทีเดียว  อันนี้คือเราก็จะค่อยๆคลายความหลงผิดไป   ทีนี้เราก็เปรียบเทียบ   ที่เรายึดถือเป็นตน  แท้ที่จริงก็คือมันเหมือนกับเรือนที่เราอาศัย  เหมือนกับเรือน  เรือนนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน  เรือนเป็นแต่เพียงไม้    เป็นแต่เพียงสัมภาระเอามากุมประกอบกันเข้าก็เป็นรูปร่าง   เรือนหลังงามแท้   เรืองหลังนี้ช่างทำไม่สวยเลย   เรือนหลังนี้ช่างทำไม่ดูเลย   กันฝนกันลมกันหนาวกันร้อนอะไรก็ไม่ได้   เรือนหลังนี้เครื่องไม้ไม่ดีเลย   นั่นก็คือว่าร่างกายมันก็เหมือนกับเรือนนี้แหละ   เรือนดีบ้าง  เรือนไม่ดีบ้าง   เราก็พิจารณาเปรียบเทียบเหมือนกับเรือน  ก็ในที่สุดเราก็จะเข้าใจได้ว่า   อ้อ..เรือนนี้มันเป็นที่อยู่ของเรา  ไม่ใช่ตัวเรา   หรือเป็นที่อาศัยชั่วคราว  เราก็พิจารณาอย่างนี้ไปก็ได้   หรือเหมือนกับรถ   รถนั้นนะมันแล่นไปได้   พอติดเครื่อง  พอสตาร์ท เครื่องก็ดังบือๆ   มันก็ไปได้ แต่รถนั้นมันก็ไม่มีตัวตน   รถนั้นมันไม่มีตัวตน   มันไม่มีหัวใจด้วย   คือว่าเราค้นดูก็ไม่พบหัวใจ   และก็ไม่พบตัวตน   แต่มันทำไมวิ่งไปได้    เราก็พิจารณา  เปรียบเทียบอย่างนั้นไปก็ได้   ในที่สุดเราก็พบความจริง   ว่ารถนั้นเขาประกอบด้วยส่วนต่างๆ  ก็มาเป็นรถขึ้นมาได้   แต่ครั้งถอดออกแล้วแต่ละอย่างๆ  มันก็ไม่มีอะไร  คือหาตัวตนไม่ได้   หาหัวใจไม่ได้  หาเจ้าของไม่ได้

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   นี่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า   สรีระร่างกายนี้คือขันธ์  มันไม่ใช่ตัวตน  หรือไม่ใช่ของใคร   ใครเป็นเจ้าของไม่ได้  และใจที่สุดมันก็แตกสลายไป  ด้วยอาศัยดิน   น้ำ  ลม ไฟ  มาประชุมกัน   ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย  เท่าที่ท่านพระคุณเจ้าแสดงมานี้ก็พอจะคลำได้บ้าง   ตามกระแส แห่งธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า  สรีระร่างกายสังขารขันธ์ห้า นี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ หวงแหน  หรือเป็นตัวตนของใครได้   มันเป็นเพียงธาตุทั้งสี่  ประชุมกัน  แล้วก็แตกสลายไป   ท่านผู้ฟังทั้งหลายพอจะเข้าใจได้บ้างหรือยัง     ถ้าเราเข้าใจไม่ได้มาก    แต่ว่าเราหมั่นพิจารณาไปเราก็จะรู้แจ้ง  ตามความเป็นจริงมากขึ้นๆ  ความสว่างแจ้ง  หรือความรู้ประจักษ์ก็จะมาปรากฏแก่ญาณของเรา   แล้วในที่สุดเราก็จะสว่างจ้า   รู้โลก คือสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง   และเราก็จะรู้ธรรม ว่าธรรมคือสิ่งที่ไม่เกิด  ไม่แก่  ไม่เจ็บ  ไม่ตายนั้นมีจริง   แต่เท่าที่แสดงมานี้ก็คือว่า  เพียงแต่ขั้นต้น  ให้รู้จักว่า  โลกนี้คือมันเป็นของที่ไม่ใช่ตัวตน  ก็ที่เราไม่รู้จักตัวตน หรือไม่แจ้งในตัวตน  มันก็มีสิ่งที่มาปิดบังอยู่หลายประการ   เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรม จึงมีหลายสาขา   การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิก็มีสำนักต่างๆ   ปฏิบัติกันไปในแบบต่างๆ   บางแบบบางอย่าง บางอาจารย์ก็สอนให้กำหนด  นั่งหนอ  ยืนหนอ เดินหนอ  นอนหนอ  ไปหนอ  กินหนอ  ดื่มหนอ   ถ่ายหนอ   นี้บางสำนักก็สอนไปอย่างนั้น    แต่บางสำนักก็สอน พุทโธ ๆ  ธัมโม  สังโฆ  บางสำนักก็สอนไป  นะมะพะทะบ้าง    บางสำนักก็ให้เพ่งกสิน  กำหนดตัวรู้ อะไรต่ออะไรประการต่างๆ  ก็เพื่อจะให้มีบารมีสูงขึ้น  แล้วก็จะได้รู้เห็นสิ่งที่เร้นลับ  ในกายนี้ด้วยความละเอียดของจิต ดังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และมาบอกกับเราท่านทั้งหลาย   

    ท่านผู้ฟังทั้งหลายนี่ก็คือสิ่งที่เรายังไม่รู้  เราก็จะได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  แล้วก็จะพ้น   จากความทุกข์ได้แน่แท้โดยไม่ต้องสงสัย    

     แสดงมาย่อๆ  ถึงเรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า   ซึ่งว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง  มันก็ไม่เที่ยงจริง   เป็นทุกข์  มันก็เป็นทุกข์จริง   ไม่ใช่ตัวตน  ก็ไม่ใช่ตัวตนจริง   แล้วเราปฏิบัติตามไป  เราก็จะรู้แจ้ง  ตามความเป็นจริง  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  ก็ขอยุติเนื้อความลงด้วยประการฉะนี้

ร่างที่..ไ ร้ วิ ญ ญ า ณ

 

หากเราไปยืนด่าว่าหรือนืนทา ร่างไร้วิญญาณนั้น จะถือโกรธเอาความไหม หากมีคนเอามีดมาปาดเนื้อหรือหักกระดูก หรือทำให้เสียรูปไป คนที่ไร้วิญญาณนั้นไหม...คำตอบว่า..ไม่มี ใช่ไหม แต่ทำไม คนหรือร่างที่ยังมีจิต ซึ่งยังไม่กลายเป็นวิญญาณเหล่านั้น ถึงได้มีความรู้สึกดิ้นรนหรือร้อนรนกันหนักกันหนา โดยเฉพาะ มีคนพูดถึง หรือมาด่าว่านินทา เพราะว่ายังมีตัวกูนี่แร๊ะ ...จิตคือตัวรู้ คือตัวรับรู้ต่างๆนั่นเอง (คนที่ยังไม่ตายเขาเรียกว่า จิต หากตายไปแล้วคือจิตออกร่างไปแล้ว เขาเรียกว่า จิต) และก็อย่าไปพยายามหรือหาความหมายของคำสมมุติกันอยู่เลย หากผู้ปฎิบัติยังเข้าไม่ถึงกระแสจิต กระแสธรรมแห่งตน หากวันนี้ อาจพบคำตอบดีที่สุดก็ตาม ก็ไร้ประโยชน์อีกนั่นแร๊ะ ก็เพราะว่า ปัญญา(ทางธรรม)ของเราไม่มี มีหรือไปไม่ถึง หมายถึง เราไม่นำปัญญาที่ได้จากการภาวนา ไปปรับใช้กับชีวิตจริงๆ ไม่ใช่ เอาปัญญามาใช้เฉพาะ ในทางธรรมเท่านั้น ที่สำคัญเราจักต้องใช้ปัญญาในทางโลกด้วย เราถึงจะเรียกว่า ปฎิบัติธรรมคือเดินมรรค แล้วจักต้องได้คำว่า ปฎิเวธหรือผลกันสิ เพราะการปฎิบัติธรรม ไม่มีสิ่งใด หรือใครแจกข้อสอบเหมือนที่เราเคยร่ำเรียนในโรงเรียนหรือมหา'ลัย เพราะฉะนั้น ข้อสอบหรือตัวชี้วัดของผู้ปฎิบัติธรรมก็คือ สิ่งกระทบจิต..เราจะสอบผ่านหรือไม่ ก็หมายถึง จิตเราละหรืออยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งใดๆหรือไม่ อย่างไร เพราะจุดประสงค์ของการปฎิบัตินั้นก็คือ การปล่อย ก่อนผู้ปฎิบัติจะมารู้จักคำว่า ละ ปล่อย วางกันได้(((จริงๆ)))นั้น ที่ผู้ปฎิบัติธรรมตามมรรคมีองค์๘เป็นต้น เรา(จิต)จะปล่อยวางได้หรือไม่ อย่างไร ก็ด้วยปัญญา(ทางธรรม) ไม่ใช่ ท่องจำกันต่อๆกันมา หากผู้ปฎิบัติคิดว่า การศึกษาธรรม การรู้ธรรมะหรือบรรลุธรรม โดยไม่ลงมือปฎิบัติธรรมเลย อันนั้น สำหรับคนที่มีความเห็นผิดมากนัก เพราะการเรียนรู้ธรรม หรือการบรรลุธรรม สมองไม่เกี่ยวเลย หรือสัญญาไม่เกี่ยวเลย แต่ใหม่ต้องใช้สิ่งเหล่า เพื่อความหลุดพ้นภายหลัง จิตเท่านั้น ที่จะเป็นตัวบอกว่า..ยึดหรือไม่ยึด ไม่ยึดหรือปล่อยวาง เพื่ออะไร หาคำตอบกันได้ที่ โดยการนำจิตมาเดินมรรค ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็ไร้ประโยชน์ สำหรับผู้ที่อยากเรียนรู้ธรรม แต่ไม่ยอมลงมือปฎิบัติเอง แต่ก็เข้าใจพวกเราดี ขนาดผู้ลงมือปฎิบัติแล้ว ก็ยังไม่ได้หมายความว่า บรรลุธรรมซะทีเดียว แต่ค่อยๆบรรลุไปทีละขั้น ทีละอย่าง กิเลสจะถูกชำระล้างให้หมดสิ้นไปทีละอย่างๆเอง หมดเมื่อไหร่ ไม่รุ๊ ตัวของเราเองเท่านั้น ที่จะเป็นคนตอบ ไม่ใช่ ผู้อื่นตอบแทน..

 

ปล. โมทนาสาธุ กับอาจารย์ใหญ่ด้วย ที่กำลังนอนไร้วิญญาณอยู่นั่นไง..สาธุ

มรณสติที่สมบูรณ์

มรณสติมีสองส่วน หนึ่ง คือ การระลึกถึงความจริงว่าเราจะต้องตายอย่างแน่นอน และอาจจะตายในวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้ สอง การถามตัวเองว่าเราพร้อมตายหรือยัง เราทำความดีมาพอหรือยัง ส่วนที่สองนี้จะโยงสู่การปฏิบัติ คือทบทวนว่าเราได้ทำสิ่งที่ควรทำแล้วหรือยัง 

ส่วนนี้หากพิจารณาถูกต้องจะกระตุ้นให้เราขวนขวายทำความดี ไม่ผัดผ่อนในการทำหน้าที่ที่สำคัญ ไม่ว่ากับตัวเอง กับครอบครัว กับพ่อแม่ ลูกหลาน หรือกับส่วนรวมด้วย หากเราทำหน้าที่เหล่านี้ครบถ้วน คือทำทั้งงานภายนอก และงานภายใน เราก็พร้อมสำหรับการพลัดพราก นั้นคือพร้อมจะไปอย่างสงบได

มรณสติในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสองส่วนเสมอ เพียงแค่การระลึกถึงความตายอย่างเดียว ยังไม่ใช่มรณสติที่สมบูรณ์ จะต้องโยงมาสู่การปฏิบัติ หรือใช้ความจริงของชีวิตนั้น เป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ทั้งทำความดีและฝึกใจให้เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2014 เวลา 03:02 น.)