postheadericon อริยมรรคธรรมทาน

 

อย่าปล่อยวางคำบริกรรม

_____________________

 

ผู้ที่ฝึกหัดจิตใจในเบื้องต้นอย่าปล่อยวางคำบริกรรม เราเคยถือคำบริกรรมใดซึ่งถูกต้องกับจริตนิสัยของเรา เช่น พุทโธก็ได้ ธัมโมก็ได้ สังโฆก็ได้ มรณานุสติก็ได้ หรือธรรมบทอื่นใดก็ตาม เมื่อเป็นอรรถเป็นธรรมถูกต้องกับจริตนิสัยแล้ว ให้เอาธรรมบทนั้นๆ ที่ตนชอบใจเข้ามาเป็นคำบริกรรมกำกับจิตใจ ให้ใจทำงานด้วยคำบริกรรมนั้นๆ แล้วสติจดจ่อบังคับงาน ให้ทำหน้าที่ที่สติสั่งไว้ เช่นคำบริกรรม ไม่ให้เคลื่อนคลาดจากคำบริกรรม จะเสียดายความคิดความปรุงมากน้อยเพียงไร นั่นคือเสียดายเรื่องกิเลส เรื่องวัฏทุกข์ ที่จะจมไปอีกเป็นเวลานานไม่มีสิ้นสุด ไม่ต้องเสียดาย ให้เสียดายจิตใจที่จะเผลอไปตามกิเลส ให้ตั้งสติไว้อยู่สม่ำเสมอ

 

ยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม นอนก็ตาม เว้นแต่หลับเท่านั้น เป็นเวลาที่สติควบคุมจิตใจซึ่งเป็นนักโทษ เป็นผู้ต้องหาอยู่ตลอดเวลา เมื่อสติควบคุมแล้วจิตก็ไม่มีกิเลสเข้ามารบกวน จะมีแต่ธรรมคือคำบริกรรมอันเป็นงานของธรรมล้วนๆ ไม่ใช่งานของกิเลส ทำงานอยู่ภายในหัวใจ มีสติเป็นเครื่องกำกับรักษาอยู่โดยสม่ำเสมอตลอด เราไม่ต้องกำหนดเวลานั้นเวลานี้สติจะมา สติจะเผลอ ไม่ถูกทั้งนั้น

 

เพราะกิเลสเป็นกิเลสวันยังค่ำ เป็นพื้นฐานของกิเลสอยู่แล้วในหัวใจของเรา เราจะนำธรรมเข้ามาเป็นวรรคเป็นตอน สำหรับผู้มุ่งต่ออรรถต่อธรรมอย่างยิ่งแล้วไม่สมควรกันเลย ควรจะได้ติดกันเป็นพืด เช่นเดียวกับกิเลสฝังอยู่ในหัวใจเป็นพืดเรื่อยมา ก็ให้เป็นพืดเรื่อยไปเช่นเดียวกันด้วยการตั้งสติให้ดี ท่านทั้งหลายจำให้ดี

 

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระวันกฐิน ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๗

ตามเสด็จพระพุทธเจ้าทุกฝีก้าว


ในภาพอาจจะมี 2 คน

"ธรรมดา เขาทำนา ทำสวน เขาไม่ได้ทำใส่ บนอากาศเลย เขาทำใส่ พื้นดินนี่แหละ จึงได้รับผล ฉันใด"

"โยคาวจร ผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลาย ควรพิจารณาร่างกายนี้แหละ เป็นอารมณ์ จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่าย ในนามในรูปนี้"

"ด้วยอำนาจแห่งปัญญา นั้นแหละ จึงจะเป็น ทางหลุดพ้นได้ ไม่ควรติด ในความสงบ โดยส่วนเดียว"

 

 

 

พึงเป็นคนมีสติ อย่าถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง 
ความเสื่อมปัญญา นักปราชญ์ท่านติเตียน 
ความเจริญปัญญา เลิศกว่าความเจริญทั้งปวง..หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต..
https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl
รูปภาพ : พึงเป็นคนมีสติ อย่าถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง ความเสื่อมปัญญา นักปราชญ์ท่านติเตียน ความเจริญปัญญา เลิศกว่าความเจริญทั้งปวง..หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต..https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl

ธรรมอยู่ที่ใจนั่นแล...

 

การพ้นทุกข์ก็ต้องพ้นที่นั่น แน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา...

 

น้อมกราบพระธรรมคำสอนของ หลวงปู่มั่น ด้วยเศียรเกล้า เจ้าค่ะ ...

 

"จงทราบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไปว่า ธรรมอยู่ที่ใจนั่นแล จงรักษาระดับจิต ระดับความเพียรไว้ให้ดี อย่าให้เสื่อมได้ นั่นแหละคือฐานของจิตฐานของธรรม ฐานของความเชื่อมั่นในธรรม และฐานแห่งมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่น จงมั่นใจและเข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยากพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ก็ต้องพ้นที่นั่น แน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา"

 

หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ สอนหลวงปู่ขาว

 

จากหนังสือ ใต้จิตสำนึก หลวงปู่ขาว อนาลโย

 

เสียงบรรลือโลกธาตุ ชาติสิ้นแล้ว..ท่านเดินทางออกจากวัดป่าสุทธาวาสในตัวเมืองสกลนครแล้วก็ย้อนกลับสู่วัดดอยธรรมเจดีย์อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พักอยู่กุฏิกระต๊อบหลังเล็กๆ อยู่บนยอดเขา เป็นกุฏิต่างจากครั้งก่อนที่เคยเกิดปัญหาธรรมผุดขึ้นในใจระยะนั้นเป็นพรรษาที่ ๑๖ ในชีวิตการบวชของท่านและเป็นปีที่ ๙ แห่งการออกปฏิบัติกรรมฐาน บนเขาลูกนี้ของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ด้วยความอดทนพากเพียรพยายามติดต่อสืบเนื่องตลอดมานับแต่เริ่มออกปฏิบัติอย่างเต็มเหนี่ยวรวมเวลาถึง ๙ ปีเต็ม คืนแห่งความสำเร็จระหว่างกิเลสกับธรรมภายในใจของท่านก็สามารถตัดสินกันลงได้ในเวลา ๕ ทุ่มตรง ดังนี้"…ก็พิจารณาจิตอันเดียว ไม่ได้กว้างขวางอะไร เพราะสิ่งต่างๆ ที่เป็นส่วนหยาบมันรู้หมด รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสทั่วโลกธาตุมันรู้หมดเข้าใจหมดและปล่อยวางหมดแล้ว มันไม่สนใจพิจารณาแม้แต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ยังไม่ยอมสนใจพิจารณาเลยมันสนใจอยู่เฉพาะความรู้ที่เด่นดวงกับเวทนาส่วนละเอียดภายในจิตเท่านั้น สติปัญญาสัมผัสสัมพันธ์อยู่กับอันนี้ พิจารณาไปพิจารณามา แต่ก็พึงทราบว่าจุดที่ว่านี้มันยังเป็นสมมุติ มันจะสง่าผ่าเผยขนาดไหนก็สง่าผ่าเผยอยู่ในวงสมมุติ จะสว่างกระจ่างแจ้งขนาดไหนก็สว่างกระจ่างแจ้งอยู่ในวงสมมุติ เพราะอวิชชายังมีอยู่ในนั้นอวิชชา นั้นแลคือ ตัวสมมุติ จุดแห่งความเด่นดวงนั้นก็แสดงอาการลุ่มๆ ดอนๆ ตามขั้นแห่งความละเอียดของจิตให้เราเห็นจนได้ บางทีก็มีลักษณะเศร้าหมองบ้างผ่องใสบ้าง ทุกข์บ้างสุขบ้าง ตามขั้นละเอียดของจิตภูมินี้ให้ปรากฏพอจับพิรุธได้อยู่นั่นแล สติปัญญาขั้นนี้เป็นองครักษ์รักษาจิตดวงนี้อย่างเข้มงวด กวดขัน แทนที่มันจะจ่อกระบอกปืนคือสติปัญญาเข้ามาที่นี่ มันไม่จ่อ มันส่งไปที่อวิชชาหลอกไปโน้นจนได้อวิชชานี้แหลมคมมาก ไม่มีอะไรแหลมคมมากยิ่งกว่าอวิชชาซึ่งเป็นจุดสุดท้ายว่า ความโลภมันก็หยาบๆ พอเข้าใจและเห็นโทษได้ง่าย แต่โลกยังพอใจกันโลภ คิดดูซิ ความโกรธก็หยาบๆ โลกยังพอใจโกรธ ความหลง ความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธอะไร เป็นของหยาบๆ พอเข้าใจและเห็นโทษได้ง่าย โลกยังพอใจกันอันนี้ไม่ใช่สิ่งเหล่านั้น มันเลยมาหมด ปล่อยมาได้หมด แต่ทำไมมันยังมาติดความสว่างไสว ความอัศจรรย์อันนี้ ทีนี้ อันนี้เมื่อมันมีอยู่ภายในนี้ มันจะแสดงความอับเฉาขึ้นมานิดๆ แสดงความทุกข์ขึ้นมานิดๆ ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน ไม่คงเส้นคงวา ให้จับได้ด้วยสติปัญญาที่จดจ่อต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ลดละความพยายามอยากรู้อยากเห็นความเป็นต่างๆ ของจิตดวงนี้ สุดท้ายก็หนีไม่พ้น ต้องรู้กันจนได้ว่า จิตดวงนี้ไม่เป็นที่แน่ใจตายใจได้ จึงเกิดความรำพึงขึ้นมาว่า‘จิตดวงเดียวนี้ ทำไมจึงเป็นไปได้หลายอย่างนักนะ เดี๋ยวเป็นความเศร้าหมอง เดี๋ยวเป็นความผ่องใส เดี๋ยวเป็นสุข เดี๋ยวเป็นทุกข์ ไม่คงที่ดีงามอยู่ได้ตลอดไปทำไมจิตละเอียดถึงขนาดนี้แล้ว จึงยังแสดงอาการต่างๆ อยู่ได้’พอสติปัญญาเริ่มหันความสนใจเข้ามาพิจารณาจิตดวงนี้ ความรู้ชนิดหนึ่งที่ไม่คาดไม่ฝันก็ผุดขึ้นมาภายในใจว่า‘ความเศร้าหมองก็ดี ความผ่องใสก็ดี ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี เหล่านี้เป็นสมมุติทั้งสิ้น และเป็นอนัตตาทั้งมวลนะ’เท่านั้นแล สติปัญญาก็หยั่งทราบจิตที่ถูกอวิชชาครอบงำอยู่นั้นว่า เป็นสมมุติที่ควรปล่อยวางโดยถ่ายเดียว ไม่ควรยึดถือเอาไว้หลังจากความรู้ที่ผุดขึ้นบอกเตือนสติปัญญาผู้ทำหน้าที่ตรวจตราอยู่ขณะนั้นผ่านไปครู่เดียว จิตและสติปัญญาเป็นราวกับว่าต่างวางตัวเป็นอุเบกขามัธยัสถ์ ไม่กระเพื่อมตัวทำหน้าที่ใดๆ ในขณะนั้นจิตเป็นกลางๆ ไม่จดจ่อกับอะไร ไม่เผลอส่งใจไปไหน ปัญญาก็ไม่ทำงาน สติก็รู้อยู่ธรรมดาของตนไม่จดจ่อกับสิ่งใดขณะจิต สติ ปัญญา ทั้งสามเป็นอุเบกขามัธยัสถ์นั้นแล เป็นขณะที่โลกธาตุภายในจิต อันมีอวิชชาเป็นผู้เรืองอำนาจได้กระเทือน และขาดสะบั้นบรรลัยลงจากบัลลังก์คือใจ กลายเป็น วิสุทธิจิตขึ้นมาแทนที่ ในขณะเดียวกันกับอวิชชาขาดสะบั้นหั่นแหลกแตกกระจายหายซากลงไป ด้วยอำนาจสติปัญญาที่เกรียงไกรขณะที่ฟ้าดินถล่มโลกธาตุหวั่นไหว (โลกธาตุภายใน) แสดงมหัศจรรย์บั้นสุดท้ายปลายแดนระหว่างสมมุติกับวิมุตติตัดสินความบนศาลสถิตยุติธรรม โดยวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผู้ตัดสินคู่ความ โดยฝ่ายมัชฌิมาปฏิปทา มรรคอริยสัจเป็นฝ่ายชนะโดยสิ้นเชิง ฝ่ายสมุทัยอริยสัจเป็นฝ่ายแพ้น็อคแบบหามลงเปล ไม่มีทางฟื้นตัวตลอดอนันตกาลสิ้นสุดลงแล้ว เจ้าตัวเกิดความอัศจรรย์ล้นโลก อุทานออกมาว่า‘โอ้โหๆ .. อัศจรรย์หนอๆ แต่ก่อนธรรมนี้อยู่ที่ไหนๆ มาบัดนี้ธรรมแท้ ธรรมอัศจรรย์เกินคาดเกินโลก มาเป็นอยู่ที่จิตและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจิตได้อย่างไร..และแต่ก่อนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกอยู่ที่ไหน? มาบัดนี้องค์สรณะที่แสนอัศจรรย์มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิตดวงนี้ได้อย่างไร..โอ้โห! ธรรมะแท้ พุทธะแท้ สังฆะแท้ เป็นอย่างนี้ละหรือ’ ... "ผลแห่งความพากเพียรปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุดของท่านในคืนนั้นทำให้เกิดความสลดสังเวชใจในการเวียนว่ายตายเกิดของตนดังนี้"…จนถึงคืนวันดับนั้นถึงได้ตัดสินใจกันลงได้ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพเรื่องชาติ เรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องกิเลสตัณหาอาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้น ใจได้เปิดเผยโลกธาตุให้เห็นอย่างชัดเจน เกิดความสลดสังเวช น้ำตาร่วงตลอดคืนในคืนนั้นไม่ได้หลับนอนเลย เพราะสลดสังเวชความเป็นมาของตน สลดสังเวชเรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะอำนาจแห่งกิเลสมันวางเชื้อแห่งกองทุกข์ฝังใจไว้ ไปเกิดในภพนั้นชาตินี้มีแต่แบกกองทุกข์หามกองทุกข์ ไม่มีเวลาปล่อยวางจนกระทั่งถึงตายไปแล้วก็แบกอีกๆ คำว่า แบก ก็คือใจเข้าสู่ภพใดชาติใดจะมีสุขมากน้อย ทุกข์ ต้องเจือปนไปอยู่นั่นแล จึงได้เห็นโทษ เกิด ความสลดสังเวชแล้วก็มาเห็นคุณค่าแห่งจิตใจซึ่งแต่ก่อนไม่เคยคิดว่าจิตใจจะมีคุณค่ามหัศจรรย์ถึงขนาดนั้น การไม่นอนในคืนนั้นเพราะความเห็นโทษอย่างถึงใจและความเห็นคุณอย่างถึงจิตถึงธรรม ในตอนท้ายแห่งความละเอียดอ่อนของจิต เราก็เห็นว่าอวิชชาเป็นของดีและประเสริฐไปอย่างสนิทติดจมไปพักหนึ่ง...หลงอวิชชาอยู่เป็นเวลา ๘ เดือนไม่เคยลืม เพราะรักสงวนอวิชชาซึ่งเป็นตัวผ่องใส ตัวสง่าผ่าเผย ตัวองอาจกล้าหาญ จึงรักสงวนอยู่นั้นเสีย … ทั้งๆ ที่สติปัญญาก็มีเต็มภูมิแต่ไม่นำมาใช้กับอวิชชาในขณะนั้น เมื่อเวลาได้นำสติปัญญาหันกลับมาใช้กับอวิชชาอย่างเต็มภูมิ เรื่องอวิชชาจึงแตกกระจายลงไป ถึงได้เห็นความอัศจรรย์ขึ้นมาภายในจิตใจนั้นแหละ จึงเป็นความอัศจรรย์อย่างแท้จริง ไม่อัศจรรย์แบบจอมปลอมดังที่เป็นมา…"โลกธาตุสะเทือนสะท้านหวั่นไหวเกิดขึ้นในขณะที่ธรรมภายในใจของท่านกระจ่างแจ้งขึ้นมาดังนี้"...อยัญจ ทสสหัสสี โลกธาตุ หมื่นโลกธาตุ สังกัมปิ สัมปกัมปิ สีมปเวธิ มีความสะเทือนสะท้านทั่วถึงกันหมดเลยในหมื่นโลกธาตุนี้ อำนาจอานุภาพความสว่างไสวของเทวดาทั้งหลายทั้งแดนโลกธาตุนี้ไม่มีอานุภาพของเทวดาตนใดจะเสมอเหมือนอานุภาพแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วกระจ่างแจ้งขึ้นมาในเวลานั้นแต่เมื่อธรรมนั้นกระจ่างขึ้นมาภายในใจเรา ซึ่งเป็นธรรมประเภทเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกันแล้วจะไปทูลถามผู้ใดแม้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ข้างหน้า พูดแล้ว สาธุ! ไม่กราบทูลหรือไม่ทูลถามท่านให้เสียเวลา เพราะคำว่า สันทิฏฐิโก ที่รู้เองเห็นเองนั้น เป็นธรรมที่ประกาศด้วยความเลิศเลอสุดยอดแล้ว‘นี่เราก็ไปเจอเข้าแล้วประจักษ์ใจประหนึ่งว่า แดนโลกธาตุนี้ไหวไปหมด’ในขณะที่กิเลสตัวกดถ่วงจิตใจมาตั้งกัปตั้งกัลป์ ตัวพาให้เกิดให้ตาย เพียงเราคนเดียวนี้ การเกิดตายของเรา หากว่าเอาประเทศไทยเป็นป่าช้าแล้วน่ะ ร่างกายของเราเพียงคนเดียวนี้ ไม่มีที่ใดที่จะเก็บจะวางศพของตัวเอง ‘มากไหม พิจารณาสิ!’เพราะมันเกิดมันตายมันเกิดมันตายมา ไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายจนกระทั่งคืนวันนั้น เป็นวันตัดสินขาดสะบั้นไประหว่างป่าช้าคือความเกิดตายกับใจของเราที่บริสุทธิ์หลุดพ้นแล้วจากความเกิดตาย‘ใจกระจ่างแจ้งขนาดนั้นแล้ว โลกธาตุจะไม่หวั่นไหวได้ยังไง กิเลสมันหนักขนาดไหน ฟังซิ’หลังจากนั้นแล้วความสว่างจ้าครอบโลกธาตุกลับปรากฏขึ้นในใจดวงเดียวที่เคยมืดบอดมากี่กัปกี่กัลป์ นี้แหละความสว่างกระจ่างแจ้งขึ้นมา โดยไม่ต้องไปทูลถาม พระพุทธเจ้าเลยเพราะหายสงสัยทุกอย่าง นี้เรียกว่า จิตมีความสว่างกระจ่างแจ้งครอบโลกธาตุแล้ว..."ประวัติและปฏิปทา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..
https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl

ให้พากันอุตสาห์พยายามสร้างบุญกุศล..อย่าขี้เกียจขี้คร้านนะ!! เป็นเรื่องของมารที่จะทำลายเรา..ให้ปัดออกๆ

ขี้เกียจขี้คร้านขนาดไหนก็ให้สร้าง สร้างบุญ..!! เวลาจะเป็นจะตายจริงๆ บุญนี้แหละ !!

ที่เราขี้เกียจขี้คร้านสร้าง จะติดแนบหัวใจของเรา อย่างอื่นไม่มีที่อาศัยละ บุญกรรมนี้ละ สำคัญมาก..

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..


 

 

 

หัวใจของการปฏิบัติธรรม อยู่ที่สติสัมปชัญญะตัวเดียว 
เราทำสมาธิไปถึงขั้นใด ได้ฌานขั้นใด ญาณขั้นใด 
หรือรู้เห็นอะไร วิเศษวิโสแค่ไหน จุดสำคัญคือสติ..

 

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย..
https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl

 

“เราคนเดียว เทียวรัก เทียวโกรธ จะไปโทษใคร
แก้อะไรใครได้ ก็ไม่เท่าแก้ใจตน เพียงคนเดียว”

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ..

      

"เกิด ดับ อยู่ที่จิต"

“ทุกอย่างเกิดที่จิตและดับที่จิต

 ไม่มีอะไรจริงเท่ากับจิต

ไม่มีอะไรปลอมยิ่งกว่าจิต

ไม่มีอะไรดีเท่ากับจิต

ไม่มีอะไรเลวยิ่งกว่าจิต

ไม่มีอะไรละเอียดเท่ากับจิต

ไม่มีอะไรร้อนเท่ากับจิต

และไม่มีอะไรเย็นยิ่งกว่าจิต...


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


~เรื่องของการพ้นทุกข์อยู่ที่จิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เพราะหากร่างกายนี้ไม่มีจิตอยู่แล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกแต่อย่างไร ให้พิจารณาจุดนี้ให้ดี ๆ แล้วจึงจักวางอารมณ์ลงได้ด้วยเห็นกฏของความจริง และจงอย่างฝืนใจใคร ให้วางกรรมใครกรรมมันให้จงหนัก เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น และควรมีกำหนดขอบเขตของความเมตตาด้วย มิใช่เมตตาจนเป็นเบียดเบียนตนเอง ถ้าทำอันใดไปแล้วคิดว่าเป็นเมตตา แต่สร้างความหนักใจและทุกข์ใจให้กับตนเอง จุดนี้ไม่ใช่เมตตา จับทางปฏิบัติให้ถูกแล้วจักถึงมรรคถึงผลได้ง่าย~

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑๑ หน้า ๒๗
รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

พระราชพรหมยานมหาเถระ
หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

“จิตมนุษย์มีพลังมหาศาล จะทำอะไรก็มักสำเร็จ

ก็เพราะมีดวงจิตที่เป็นกำลังสำคัญ

จิตดวงเดียวสำคัญที่สุด…

จิตมันบอกลักษณะไม่ได้

แต่มันก็มีความรู้สึกอยู่ภายใน…

เว้นแต่ว่ามนุษย์เกิดมาแล้ว

จะเอาดีหรือเอาชั่วเท่านั้น

มันเป็นขั้นตอนอยู่ตรงนี้

ถ้าเอาดีก็ต้องได้ของดีมาประดับตัวแน่นอน…”


หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร (ในรูปท่านมีอายุได้ 110ปี)


 

 

 จิตของผู้ที่ฝึกให้ดีแล้ว ย่อมมีสติพร้อมอยู่ทุกอิริยาบถ

ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ถึงแม้หลับอยู่ ก็หลับด้วยการพักผ่อนในสมาธิ

อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก 
เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ 
(รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖

สมัยที่พระองค์บำเพ็ญทาน รักษาศีลภาวนา สรัางบุญบารมีมาก็ดี 
พระองค์ตั้งอกตั้งใจ ประกอบกระทำ ทุกสิ่งทุกอย่าง 
ไม่ใช่ทำเล่นๆเหมือนพวกเราทั้งหลาย เรียกว่า ทำจริงๆ ปฏิบัติจริงๆ

ทำอะไรเมื่อมันมีความจริงในจิตในใจล่ะ อันนั้นแหล่ะ 
สมาธิภาวนามันอยู่ที่จิตใจทำจริงๆ ภาวนาจริงๆ 

ไม่ใช่ว่า คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น เราจะคิดไปที่ไหนก็คิดฟุ้งซ่านไป อย่างนี้ไม่ได้ 
ไม่มีหลักจิตใจของตัวเอง 
ไม่มีอธิฐานไว้ในจิต ในใจ 
ต้องมี สัจจะ ความจริงใจ 
มีอธิฐานใจไว้ สิ่งใดที่ไม่เหลือวิสัย ต้องให้ทำไ
ด้

 

มีสติอยู่ในดวงใจ มีสติเต็มที่ ระลึกได้อยู่ทุกเวลา 
เมื่อมีสติ ระลึกได้อยู่ที่ไหน 
สมาธิ ก็ตั่งมั่นลงไปได้ในที่นั่น 
ปัญญาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั่น 
ญาณอันวิเศษละกิเลส ราคะ โทษะ โมหะ ให้หมดไปสิ้นไป 
ก็เกิดขึ้นที่จิตที่ใจนี้ทั้งนั้น ไม่ได้มาจากที่อื่น ที่อื่นไม่มี 
มันมีอยู่หัวใจคนเรานี้เอง เมื่อ กาย วาจา ใจ 
จิตใจเราอยู่ที่ไหน ตัวเราอยู่ที่ไหน นั่งอยู่ที่ไหน นั่งทำอะไร 
ในขณะนี้เวลานี้ นี่แหล่ะสมาธิ ก็ตั้งลงไปที่ตรงนี้ 

 

 จิต คือ พุทธะ ในตอนนี้ผู้เขียนขออธิบายว่า พุทธะ คือความรู้ทั่วไป ไม่ได้หมายถึงสัมมาสัมพุทธะ พุทธะ คือผู้รู้ทั่วไป หรือธาตุรู้ก็ว่า

แล้วก็อีกคำหนึ่งท่านว่า จิตส่งออกนอกเป็นตัวสมุทัย มันก็แน่ทีเดียว ถ้าจิตส่งแล้วมันเป็นตัวสมุทัย โดยความเข้าใจของผู้เขียน จิต คือผู้คิดผู้นึก ผู้ส่ง ผู้ปรุงแต่ง ผู้จดผู้จำ เป็นอาการวุ่นวายของจิตทั้งหมด ครั้นมาเห็นโทษเห็นภัยเห็นเช่นนั้นแล้วถอนเสียจากความยุ่ง ความวุ่นวายแล้ว เข้ามาหาตัวเดิม คือ ใจ แล้วไม่มีคิดไม่มีนึก ไม่มีส่งไม่ส่าย ไม่มีจดไม่มีจำอะไรทั้งหมด คือเป็นกลางๆ อยู่เฉยๆ นี่ละ ผู้เขียนเรียกว่า ใจ คืออยู่กลางๆ ของความดีความชั่ว ความปรุงความแต่ง อดีตอนาคตปล่อยวางหมด จึงกลับมาเป็นใจ จิตคือ พุทธะ ท่านคงหมายเอาตอนนี้ 

ผู้ใคร่อยากรู้ใจแท้ ถึงแม้ยังไม่เป็นสาวกพุทธะปัจเจกพุทธะ สัมมาสัมพุทธะก็ตาม ขอให้ศึกษาพอเป็นสุตพุทธะเสียก่อน คือ จงกลั้นลมหายใจไปสักพักหนึ่งลองดู ในที่นั่นจะไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากความรู้เฉยๆ ความรู้ว่าเฉยนั่นแหละเป็นตัวใจ พุทธะ ทั้งสี่จะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะมีใจ ดังนี้ ถ้าหาไม่แล้ว พุทธะทั้งสี่จะมีไม่ได้เลยเด็ดขาด 

แท้จริง จิตกับใจ ก็อันเดียวกันนั่นเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสไว้ว่า จิตอันใดใจก็อันนั้น แต่ผู้เขียนมาแยกออกเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายตามภาษาบ้านเราเท่านั้น เมื่อพูดถึงใจแล้วต้องหมายความของกลาง อย่างใจมือ ใจเท้า หรือใจไม้ แม้แต่ใจของคนก็ชี้เข้าตรงที่ท่ามกลางอกนั่นเอง แต่ความจริงแล้วใจไม่ได้อยู่ที่นั่น ใจย่อมอยู่ในที่ทั่วไป สุดแท้แต่จะเอาไปเพ่งไว้ตรงไหน แม้แต่ฝาผนังตึกหรือต้นไม้ เมื่อเอาใจไปไว้ตรงนั้น ใจก็ย่อมปรากฏอยู่ ณ ที่นั้น 

คำพูดของหลวงปู่ดูลย์ที่ว่า จิต คือ พุทธะ ย่อมเข้ากับคำอธิบายของผู้เขียนที่ว่า ใจ คือ ความเป็นกลางนิ่งเฉย ไม่ปรุงแต่ง ไม่นึกไม่คิด ไม่มีอดีตอนาคต ลงเป็นกลางมีแต่รู้ตัวว่านิ่งเฉยเท่านั้น เมื่อออกมาจาก ใจ แล้วจึงรู้คิดนึกปรุงแต่งสารพัด วิชาทั้งปวงเกิดจากจิตนี้ทั้งสิ้น 

นักปฏิบัติทั้งหลายจึงต้องควบคุมจิตของตน ด้วยตั้ง สติรักษาจิต อยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตแส่ส่ายไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก รู้ว่าเป็นไปเพื่อก่อแล้ว รีบดึงกลับมาให้เข้าใจ นับว่าใช้ได้แต่ยังไม่ดี ต้องเพียรพยายามฝึกหัดต่อไปอีก จนกระทั่งใจนึกคิดปรุงแต่งไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก ก็ รู้เท่าทัน ทุกขณะ อย่าไปตามรู้หรือรู้ตาม จะไม่มีเวลาตามทันเลยสัก

ถ้าตามใจของตนไม่ทัน หรือไม่เห็นใจตน มันจะไปหรืออยู่ หรือมันจะคิดดีคิดร้ายอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องของมัน นั้นใช้ไม่ได้เลย จมดิ่งลงกามภพโดยแท้ 

 

พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)
๙ มีนาคม ๒๕๒๘
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

alt

 

มหัศจรรย์พระธุดงค์ละสังขาร พบในถ้ำร่างกายไม่เน่าเปื่อย
เหตุพระธุดงค์ปลงสังขารนานกว่า 2 ปี ร่างกายยังสมบูรณ์ไม่เน่าเปื่อย พบในถ้ำลึกอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ส่วนชาวบ้านที่อยู่ละแวกใกล้เคียงให้การว่า พระรูปดังกล่าวได้ธุดงค์มาปักกรดจำศีลภาวนาในป่าอุทยานแห่งนี้นานกว่า 6 ปีแล้ว ช่วง 2 ปีหลังได้หายตัวเข้าไปในป่าลึกโดยได้เขียนจดหมายทิ้งไว้กับชาวบ้านมีข้อความว่า 


 

"วันใดฉันไม่อยู่ โปรดรู้ ฉันไปแล้ว ใครถามให้ตอบตามแนว ว่าไปแล้วก็แล้วกัน อย่าเสียเวลาตามหา เพียงรู้ว่าเช่นนั้น อย่ากังวลไม่สำคัญ ความจริงนั้น ฉันไม่ได้ไป-ไม่ได้มา"

 


 

 

 พระทวีศักดิ์ หรือ "หลวงหน่อย" อดีตเป็นวิศวกรเครื่องจักรทำงานอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานานกว่า 20 ปี หลังจากเกษียณกลับมาอยู่เมืองไทย ได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2536 ที่วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงปู่ทิม พระเกจิชื่อดังเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "เขมะธรรมโม" จากนั้นได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเข้าลำเนาไพรเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้น ล่าสุดทราบข่าวว่ามาปักกรดในป่าผานกเค้า อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน แต่ขาดการติดต่อกันมานานหลายปี 

 

 

สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?



altสมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา... ผู้ถาม : 
...สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร? หลวงปู่ : 
...เป็นสมาธิได้ ได้ดังนี้ ขั้นต้นน้อมใจหมายเข้าหาธรรมที่สงบที่ละเอียดประณีต การน้อมใจหมายถึงโน้นใจนี้นี่แหละ เป็นตัวสมาธิชี้ชัดอยู่แล้ว จะว่าใจเคลื่อนเข้าหาความสงบความละเอียดและความประณีต หรือมีทุกข์มีสังขารเป็นที่สิ้นไปก็ไม่ใช่ การโน้นใจถึงหรือโน้มใจหาธรรมชาติที่สงบละเอียดประณีตนี้นี่เอง อารมณ์อื่นๆ คืออารมณ์นึกอารมณ์คิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนถูกตัดตอนย่อมสงบไปเอง นอกจากอารมณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานี้สงบไปเองแล้ว ความยึดถือเกาะกำที่เป็นเสมือนรากยึดอันลึกเข้าไปที่มีอยู่ ก็จะถูกถอนออกตามไปด้วย เพราะการน้อมเข้านำออกมีทั้งส่วนตื้นและส่วนลึก ที่ยึด คือ เกาะกำชื่อว่าเป็นส่วนลึก อารมณ์นึกคิดชื่อว่าส่วนตื้น... 
...สมาธิแบบนี้แม้ไม่มีอารมณ์ภาวนา ไม่ต้องทำอารมณ์ แต่ก็เหมือนมีเหมือนทำ เพราะมีการกระทำภายในใจแทน และความหมายก็ไปอีกอย่างหนึ่ง การทำสมาธิทั่วไปส่วนมาก เปรียบเหมือนการทำการผูกมัดวัวควายให้อยู่กับหลัก แต่อบบนี้จะเหมือนการทำการปลดปล่อยวัวควายที่ถูกผูกมัดอยู่กับหลักให้ออกจากหลักไป พร้อมทั้งถอนหลักที่เป็นหลักผูกล่ามทิ้ง เลิกสิทธิ์เป็นเจ้าของวัวควายต่อไป... 
...ผู้ผูกมัดก็คือการทำ ผู้ปลดปล่อยก็คือการทำ เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ทำกันไปคนละแบบ คนละความหมาย เมื่อทำการปลดปล่อยอารมณ์ จิตว่างใจว่าง หรืออารมณ์สงบใจผ่องใสดังแก้วมณีไม่มีรอยแล้ว อะไรเล่าที่เป็นของหยาบ จะเข้ามาจับต้องหรือปลิวมาติดมาค้างได้... 
...ถ้าจะมีการย้อนถามอีกว่า การทำสมาธิแบบนี้เปรียบเหมือนทำการปลดปล่อยวัวควายที่ผูกมัดไว้แล้ว ในที่นี้ก็หมายถึง วัวควายที่ถูกผูกมัดไว้แล้วนั้นเอง วัวควายก็หมายถึงจิตที่ไปแล้วในอารมณ์ ต่างมีรูปอารมณ์เป็นต้น อันรู้ได้ยากเห็นได้ยาก แต่จิตจริงๆ แล้วไม่ได้ไปอย่างนั้น นั่นมันเป็นเพียงอารมณ์จิตที่กระจายออกไปคว้านั่น จับนี่วุ่นวายไป เมื่อเราทำในจิตปล่อยวางความนึกคิดออกไปเราก็รู้ว่าต้นตอจิตที่แท้มันอยู่ภายในนี่เอง ตัวที่มีอยู่ภายในนี้มันถูกมัดถูกล่ามอยู่แล้ว คือไปมัดติดอยู่กับอารมณ์ต่างๆ หย่อนยานบ้าง เคร่งเครียดบ้าง เราเมื่อมารู้ว่าจิตนี้มันถูกมัดถูกผูกล่ามอยู่กับอารมณ์อยู่ตลอดเวลามาแล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดอีก เพราะฉะนั้นการทำสมาธิในแบบนี้ จึงตัดปล่อยทั้งต้น แล้วทั้งปลายไปทั้งหมดเลย ทำไม่ให้มีที่ภายในทั้งภายนอกทั้งต้นทั้งปลาย สมาธิแบบนี้เป็นสมาธิย่อและรวบยอด เป็นองค์มรรค 8 หรือทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ที่ตั้งไม่มี ภพก็ขาดไป ชาติชรา พยาธิก็ขาดไป บาปกรรม นรก อบาย ก็ขาดไป ทุกทั้งหลายทั้งปวงขาดไปเพราะจิตสงบจากสังขาร ข้ามพ้นล่วงแดนฯ... ผู้ถาม : 
...จิตที่คลายอารมณ์ สละวางทุกสิ่งไม่เกาะอะไรแล้ว จิตจะยังมีรู้อะไรอยู่บ้างหรือไม่? หลวงปู่ : 
...ถ้าเข้านิโรธสมาบัติในขั้นสุด ความเสวยอามรณ์ไม่มี เพราะสัญญาความจำดับ แต่ถ้าไม่เข้านิโรธสมาบัติดังกล่าว ยังคงมีความรู้อยู่ แต่อยู่ในห้วงแห่งความสงบ เหนือความนึกคิด และรู้เต็มเปี่ยมหรือเต็มรอบเป็นรู้มีใรทุกขุมขน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนน้ำมีอยู่เต็มสระใหญ่ทั้งซึบซาบไปตามบริเวณรอบๆ ด้วยฉะนั้นฯ... altถาม : 
...จิตที่ไม่มีนอกไม่มีในไม่มีที่ตั้ง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร จิตจะอยู่ในแบบใด? หลวงปู่ : 
...จิตจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง เหมือนฟ้าไม่ต้องอาศัยแผ่นดินหรือดวงดาวอะไรๆ ทั้งนั้นแต่จะพูดว่าอาศัยธรรมนั้นก็ได้อยู่ จะเปรียบให้ฟังง่าย ทารกน้อยแรกเกิดมา ไม่อาจนั่งยืนเดินได้ เอาเพียงจะพลิกคว่ำพลิกหงายในที่นอนอยู่ก็ทั้งยาก หมายความว่า เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ซิ นั่งนอนยืนเดินหรือจะทำอะไรก็ย่อมทำได้ คือหมายความว่า เป็นตัวของตัวเองได้ อุปมาเปรียบนี้ก็ฉันนั้น... ถาม : 
...การทำสมาธิแบบนี้ เราจะเริ่มต้นที่ไหนหรือทำอย่างไร? หลวงปู่ : 
...เริ่มต้นที่ใจเรานี่แหละทันที ไม่ต้องรอเวลาหรือมีพิธีอะไร จะอยู่ป่า อยู่โคนไม้ ศาลาว่าง กุฏิ นั่ง นอน ยืน เดิน แม้ไปในยามหลับตาทำหรือลืมตาทำก็ได้ ขอแต่ว่าปลอดภัยและไม่มีโทษ และมีความจริงใจที่จะทำฯ... altถาม : 
...ถ้าทำจิตให้สงบว่างจากอารมณ์นึกคิดไม่ได้ ตามแบบข้างต้น จะมีวิธีใดบ้างที่เป็นมูลฐานช่วยให้จิตสงบมีความว่างแจ่มใสได้? หลวงปู่ : 
...มีเหมือนกัน คือให้นุกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นอารมณ์ หยุดอยู่ในที่หนึ่งเสียก่อน จิตรวมตัวหยุดอยู่ที่หนึ่งนี้จะเรียกว่านิมิตก็ใช่ เมื่อจิตรวมตัวเป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว แล้วเราก็เบนจิตออกจากอารมณ์หนึ่งนั้น โน้นเข้าหาความว่างความสงบทั่วรอบ ที่เรียกว่าโน้นเข้าหาฝั่งเพื่อขึ้นฝั่ง... 
..ที่ว่าให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงนั้นเป็นต้น ว่าดูส่วนอันใดอันหนึ่งในร่างกายเราท่านหรือศพ หรือวัตถุ ขาว เขียว แดง อะไรก็ได้ แต่อย่างลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีย่อตัดตรง อีกนัยหนึ่ง จะนึกถึงรูปร่างอัตภาพสังขารทั้งหลายภายในภายนอกว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไปไม่มีส่วนเหลือ จิตก็จะเข้าสู้ความสงบว่างเปล่าล่วงสังขารทั้งหลายไป เข้าถึงฝั่งพ้นทุกข์อันเป็นฝั่งพ้นทุกข์ที่เดียวกันนั้นเอง 
--------------------
ขอขอบคุณที่มาของบทความ:นิตยสารหญิงไทยออนไลน์
���͹��ǧ������� �����
alt


พระพุทธองค์ทรงโปรดพราหมณ์ผู้ถือตัวถือตน ได้ถือดอกไม้สองกำมาข้างละกำมือ 
เมื่อมาถึงพระองค์ก็ทรงบอกว่า วางสิ…พราหมณ์ 
พราหมณ์ได้วางดอกไม้ในมือข้างหนึ่งลง ยังเหลืออีกข้างหนึ่ง 
พระองค์ตรัสต่อไปว่า…วางสิพราหมณ์ พราหมณ์ก็ได้วางลงอีกข้างหนึ่ง 
พระองค์ก็ยังตรัสต่อไปอีกว่า วางสิ..พราหมณ์ ปรากฏว่าพราหมณ์ชักโมโห 
จะวางอะไรอีกล่ะ วางจนหมดแล้วนี่น่า จะให้วางอะไรอีกล่ะ 
พระองค์ก็ตรัสว่า วางการยึดมั่นถือมั่นถือตัวถือตนสิพราหมณ์ จะได้เบากว่านี้ 
ทำให้พราหมณ์ได้เกิดแวบขึ้นมาในหัวใจ และทำให้เกิดลดทิฏฐิมานะความยึดมั่นถือมั่นลงไปได้มากทีเดียว

__________________
ความว่าง ก็คือ ความว่าง

พรมนุษย์
๑.อุ ขยันหา หาเป็น มีวิชชา จรณะ
๒.อา เก็บรักษา เก็บเป็น มีปัญญา ประมาณ
๓.กะ มีเพื่อนกัลยา คบคนเป็น มีญาณ สติ
๔.สะ เลี้ยงชีวาประหยัด ใช้เป็น มีสติ สันโดษ
ที่มา หนังสือ ธรรมะสาระของชีวิต.

 

ศีล คือ การสํารวมอินทรีย์ ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระวัง ระเว้น ระแวง ระแวก ระไว ไม่เผลอ ไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ไปสู่อบายมุข ๑๐ ประการ ระมัด ระวังเอาไว้ ระเว้นไปไกล 
ระแวงมิให้หลับใจหลงจิต ระแวก กาย วาจาใจ ระไวทุกอย่างไม่ถือมั่น
ศีลกาย ให้เย็น-หิน ไม่หวั่นไหวต่อแรงลม
ศีลวาจา ให้ร้อน-เร่ง ไม่หลงไหลสิ่งเสพติดลามก
ศีลใจ ให้ตัด-เร็ว ไม่ลอยลืมไปตามอารมณ์
ที่มา หนังสือ ธรรมะสาระของชีวิต.

 

ร่างกายเป็นรังของโรคมีความเสื่อมสลายไปในที่สุด
ธรรมโอวาท
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
องค์สมเด็จพระทรงธรรม บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงสั่งสอนให้
รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์
ทรงสั่งสอนให้รู้จักสภาวะของร่างกายและสังขาร 
ว่าร่างกายมันเป็น อนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ 
ร่างกายมันเป็น ทุกข์ ถ้าเราไปยุ่งกับมัน ใจเราก็มีความทุกข์ 
ร่างกายมันเป็น อนัตตา
มันจะเป็นอะไรขึ้นมา เราห้ามไม่ได้ นี่อย่างหนึ่งอีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสว่า ร่างกายเป็น โรคนิทธัง
มันเป็น รังของโรค ทุกคนต้องมีโรคทั้งหมด 
ขึ้นชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บของร่างกายมันมีเป็นธรรมดานี่อีกศัพท์หนึ่ง ท่านว่าร่างกายเป็น ปภังคุณัง 
จะต้องเน่าเปื่อยเป็นธรรมดาไปในที่สุด
นี่คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
พ่อจำได้และก็ไม่ลืมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร 
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ถ้าเราต้องการหมดความทุกข์ ต้องการมีความสุข 
ก็จงอย่าคิดว่าโลกนี้เป็นของเรา 
ทรัพย์สินทั้งหมดในโลกนี้เป็นของเรา
ร่างกายนี้เป็นของเรา ร่างกายของบุคคลอื่นเป็นเราเป็นของเราตัดความหลงด้วยมรณานุสสติกรรมฐาน
ตัดความหลงได้ความโลภความโกรธก็ไม่มี
ธรรมะโอวาท
หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
เราจะเข้าถึงความดีได้ ก็เพราะอาศัยการฝึกฝน ตน คือ จิต 

คำว่าตน ในที่นี้ได้แก่จิต ไม่ใช่ร่างกาย คือ เอาจิตของเรา
เข้าไปเกาะความดีเข้าไว้ ธรรมส่วนใดที่จะทำให้เรา
เข้าถึงพระนิพพานได้เราก็ทำส่วนนั้น ธรรมส่วนสำคัญ
ที่เราจะเห็นได้ง่ายคือ ตัดรากเหง้าของกิเลส 
ก็ได้แก่ โลภะ ความโลภ เราตัดด้วยการ ให้ทาน 
ทำจิตให้ทรงอยู่เสมอว่า เราจะให้ทานเพื่อทำลาย โลภะ 
ความโลภ แล้วความโลภจะได้ไม่เกาะใจ 
อีกประการหนึ่ง รากเหง้าของกิเลส ก็ได้แก่ ความโกรธ 
เมื่อจิตเราทรง พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ
เพื่อเป็นการหักล้างความโกรธเมื่อจิตเราทรง พรหมวิหาร ๔ 
ความโกรธ ความพยาบาทมันก็ไม่มี 
ประการที่ ๓ โมหะ ความหลง ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ 
เป็นรากเหง้าใหญ่ เป็นตัวบัญชาการให้เกิดความรัก 
ความโลภ ความโกรธ ถ้าหลงไม่มีเสียอย่างเดียว 
เราตัดความหลงได้อย่างเดียวเราก็ตัดได้หมด 
การตัดตัวหลงตัดอย่างไร ตัดตรง มรณานุสสติกรรมฐาน 
ก็คิดเสียว่าคนและสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความตายไปในที่สุด 
วัตถุต่าง ๆ ที่เป็น สมบัติของโลก
มันมีการเกิดก่อตัวขึ้นในเบื้องต้นแล้วก็สลายตัวไปในที่สุด
เหมือนกัน วัตถุเรียกว่า พัง คนและสัตว์ เรียกว่า ตายการวางเฉยในร่างกายคือการไม่ยึดติด
แต่ถ้ากายป่วยก็ต้องบำรุงรักษาเพื่อระงับเวทนา
ธรรมโอวาท
หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
ใช้ สังขารุเปกขาญาณ 

เฉยทั้งอาการที่เข้ามากระทบกระทั่งจิต
ในด้านของโลกีย์วิสัย 
เฉยทั้งคำชม เฉยทั้งคำนินทา 
เฉยทั้งได้มา เฉยทั้งเสื่อมไป 
เฉยหมด ไม่มีอะไรสนใจ 
คำนินทา ว่าร้ายเกิดขึ้นกระทบใจ
แผล็บปล่อยหลุดไปเลย ช่างมัน 
ฉันไม่ยุ่งอารมณ์อาการต่าง ๆ 
ที่เกิดขึ้น กับร่างกายจะป่วยไข้ไม่สบาย
มันจะแก่ มันจะตาย ก็ช่างมัน 
แต่การรักษาพยาบาล 
การบริหาร ร่างกายเป็นของธรรมดา 
ถือว่าทำตามปกติ ถ้าเขาจะถามว่า 
ถ้าทำจิตได้อย่างนี้ยังสูบบุหรี่ไหม 
ยังกินหมากไหม 
ยังจะต้องใช้ของที่เคยใช้กับร่างกายไหม 
ก็ต้องตอบว่าใช้ตามปกติ เขาไม่ได้ติด 
แต่ ร่างกายต้องการ
เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ยังฉันภัตตาหาร เรื่องอะไร ที่ประสาทต้องการ
เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องบำรุงโดยประสาท 
เพื่อเราจะเอาไว้ใช้เป็นประโยชน์ 
เหมือนกับคนที่ลงเรือรั่วเพื่อหวังจะข้ามฟาก 
ถ้าขณะใดที่ยังอาศัยเรืออยู่ 
เมื่อน้ำมันรั่วขึ้นมาเรา ก็ต้องอุด 
มันผุตรงไหนก็ต้องทำนุบำรุงซ่อมแซม 
ไม่ใช่ว่าปล่อยให้มันรั่วให้มันพังไป
จนกว่าเรา จะขึ้นฝั่งได้มองทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดา
เป็นคุณธรรมที่ใกล้บรรลุพระโสดาบัน

 

เคล็ดวิชาดูจิต 
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท 

 

เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร คือ จิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 

เมื่อผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้ จิตก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมด ไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น 

เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ แสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเกิดจากผู้รู้อันนี้ ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มีเช่นกัน มันคืออาการของพวกนี้   

สมาธิไม่ต้องเท่าไหร่ ดูอาการภายนอกเลย ดูเหตุผล พิจารณาเรื่อยไป เราเอาความสงบนี้มาพิจารณา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ แม้จะดี จะชั่ว สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอา เอาแต่ลูกที่ดีๆ ไม่เปลืองแรง เพราะว่าไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วง คอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมา เอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมัน ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มันมาเอง เรามีความสงบ มีปัญญา สนุกเฟ้น สนุกเลือกเอา ใครจะว่าดี ว่าชั่ว ว่าร้าย ว่าโน่นว่านี่ ต่างๆ นานา ล้วนแล้วแต่เป็นกำไรของเราหมด เพราะมีคนเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมา เราก็สนุกเก็บเอา ไม่กลัว จะกลัวทำไม มีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เรา ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหล่านี้เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเรา เราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอา เรารู้จักแล้ว ลูกไหนดี ลูกไหนเน่า เมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้ อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้ เรียกว่าปัญญา เป็นวิปัสสนา ไม่ได้แต่งมัน ถ้ามีปัญญา มันเป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมัน 
ถ้ามันรู้แจ้งน้อย ก็เรียกว่า วิปัสสนาน้อย ถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่ง ก็เรียกว่า วิปัสสนากลาง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่า วิปัสสนาถึงที่สุด เมื่อเราทำไปถึงขั้นนี้แล้ว เราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทำความเพียร จะช้าหรือเร็ว เราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันจะรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วมันจึงเกิดผลขึ้นมา เหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ป้องกันแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรา นี่เรื่องศัทธาของเรา ส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปดึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้ ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตาม เรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้น เป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควาย หมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมาก ทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย ถ้าเอาน้ำให้กิน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้า เท่านั้แหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้วเราจะบังคับว่า แกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงๆ นา ทุกข์จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรารู้จักหน้าที่ของเรา ของเขา หน้าที่ของใครของมัน จิตก็จะรู้หน้าที่การงาน ถ้าจินไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเอง ให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้น นั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาทั้งนั้น ถ้ารู้อย่างนี้ คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลง มันผิด รู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อย ให้เป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีต่อไป เราทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติ พันชาติก็ช่างมัน จะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบายๆ นี่แหละ พวกญาติโยมถึงปฏิบัติอยู่บ้าน ก็พยายามให้มีศีล 5 กาย วาจา ของเราพยามให้เรียบร้อย พยายามดีๆ เถอะ ค่อยทำค่อยไป การทำสมถะนี่ อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้ว มันไม่สงบก็เลยหยุด ยังไม่ถูก ต้องทำนานอยู่นะ ทำไมถึงนาน คิดดูสิเราปล่อยมากี่ปี เราไม่ได้ทำ มันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมัน ทีนี้จะหยุดให้มันอยู่เท่านี้ เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่ง มันก็ยังไม่พอ คิดดูเถิด การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำ มันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง ปล่อยไว้ก่อน เราเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก เอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี้แหละ ถ้าทำแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราได้ทำแล้ว อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผล มันไม่สงบ เราได้ทำแล้ว ถ้าจะนั่งสมาธิ อย่าคิดมาก ถ้าอยากให้มันเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ หยุดดีกว่า เวลานั่งสมาธิเราตั้งใจว่า “เอาละ จะเอาให้มันแน่ๆ ดูที” เปล่า ! วันนั้นไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า เอาละวันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุก คิดอย่างนี้ไม่นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตาย มันจะดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมาย ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมัน นั่งไปเรื่อยๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมัน อย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่า จะเอาให้มันแน่ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ ให้เราวางใจสบายๆ หายใจก็ให้พอดี อย่าเอาสั้น เอายาว อย่าไปแต่งมัน กายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป มันจะถามเราว่า จะเอากี่ทุ่ม จะเอานานเท่าไหร่ มันมาถามเรื่อย เราต้องตวาดมัน "เฮ้ย อย่ามายุ่ง" ต้องปราบมันไว้เสมอ เพราะพวกนี้มีแต่กิเลส มากวนทั้งนั้น อย่าเอาใจใส่มัน ต้องตัดมันไว้อย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเรื่อยไป ตามเรื่องของเรา วางใจสบาย ก็เลยสงบ ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้ จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของ ควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน เวลาเราไปเลี้ยงควาย ทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ค้อนฟาดมัน มันจะได้กินต้นข้าวหรือ แต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน ถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ๆ เราการปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดที่ตามดูจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงมาร จิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง รู้ออกมาจากจิตนั่นแหละ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญา จิตนั้นคือความนึกคิด ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป ถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีก มันเข้าจับทันที เหมือนกับควายนั่นแหละ เมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณา จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้ จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอา มันก็หยุดเท่านั้น มันก็ขี้เกียจเหมือนกัน เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอ ทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต หัดมันอยู่อย่างนี้แหละ เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า เขาพูดไม่ถูก ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความจริง ถ้าเราผิดดังเขาว่า ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก ถ้าคิดได้ดังนี้ รู้สึกว่าสบายจริงๆ มันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด อาตมาปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริงๆ เราจะไม่เอาใจใส่ทั้งความสุข และความทุกข์ จะวางมัน สัมมาปฏิปทา ต้องเดินสายกลาง สงบจากความสุข ความทุกข์ ความดีใจ เสียใจ นี้คือลักษณะปฏิบัติ ถ้าใจเราเป็นอย่างนี้แล้ว หยุดได้ หยุดถามได้ ไม่ต้องไปถามใคร ต้องเป็นผู้ละ พูดจาน้อย มักน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้ คนพูดถูกก็ฟังได้หมด ดูจิตดูใจเรา คล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิดมันนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไป ระวังให้ดี ให้มันรู้ไว้ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดๆ เดียวเท่านั้น อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงนี้ คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้ เราจึงเรียกพวกนั้น ที่ออกจากจิตของเรามา เป็นเจตสิกหมด ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไหร่ โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่างๆ นานา ให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมัน นี่แหละเรียกว่า เจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รักแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านั้นเอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไหร่ก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง ไฟอยู่บ้านเขา ไปจับมันก็ร้อน ไฟอยู่บ้านเรา ไปจับมันก็ร้อนเหมือนกัน ถาม ผมได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ยังไม่มีที่ท่าว่าจะได้ผลคืบหน้าเลย ตอบ เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้นจะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั่งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความที่อยากจะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะพบความสงบไม่ได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัตินานเท่าใดหรือนานสักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้) จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติแต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง คัดลอกมาจาก :: :: 
http://se-ed.net/yogavacara/cha.html

 

__________________
http://www.wimutti.net
"จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย 
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ 
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค 
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ"
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

 

 

๐ ธรรมแท้ ๆ ! เป็นกลาง ๆ ..
ใคร ? ปล่อยวางได้..ก็.."สบาย"

๐ ธรรมแท้ ๆ ! ไม่มี..สู้!..ไม่มี..หนี!
เพียงแต่..ดู-รู้-ตรง "ปัจจุบัน" นี้
แล้วก็..ปล่อยไป..เท่านั้นเอง!๐ น้ำไม่ไหล! ขังไว้..ย่อม..เน่า ฉันใด!
จิตที่..รู้เรื่องอะไร ? แล้วไม่ยอมปล่อย
ย่อม "ทุกข์" ฉันนั้น..
__________________

 

๑ ปี เอาเหล็กมาขัดสนิมหนึ่งครั้ง ซ้ำยังไม่ขัดถึงที่สุด..
ไม่ทำถึงจุดที่จะไม่เกิดสนิมสืบต่อไป เหล็กจะวาวขึ้นมาได้อย่างไร??
การขัดเกลาตนของนักปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน..
และสนิมเหล็กเกิดจากเนื้อในเหล็ก กัดกร่อนทำลายเหล็ก ฉันใด..
สนิมใจเกิดจากเนื้อในใจ กัดกร่อนทำลายใจ ฉันนั้น..
__________________

"การละบาป เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการทำบุญ
ถ้าทำบาปแลกบุญจะขาดทุนเรื่อยไป" 
"ใจจะสงบได้ ก็เพราะความเห็นที่ถูกต้อง" 
"ธรรมดาจิตนั้นนะ..มันมีเวลาขยัน และขี้เกียจ
ถ้าทำเพียรด้วยสัจจะ เราต้องทำเรื่อยทั้งที่ขี้เกียจ 
ทำจิตให้จิตรู้อยู่ การรู้ภายใน การฉลาดภายในจิตจะเป็นอย่างนี้
การทำทุกวัน บางทีสงบ บางทีไม่สงบ เป็นอนิจจัง" 
"เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นในจิตใจของเราแล้ว
จะมองไปที่ไหน..จะมีแต่ธรรมะทั้งนั้น
เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดเวลา" ธรรมะโอวาท หลวงพ่อชา

 

ทุกข์ ... เกิดที่จิต เพราะทำผิดเรื่องผัสสะ
ทุกข์ ... จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เรื่องผัสสะ
ทุกข์ ... เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ

 

อันการงาน...คือการ...ประพฤติธรรม 
พุทธทาส...ท่านย้ำ...ถ้อยคำนี้
หน้าที่ใคร...ตั้งใจ...ทำให้ดี
เพราะธรรมะ...คือหน้าที่...ของทุกคน
                                                    __________________
คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้...ต้องหยุดคิดให้ได้..จึงรู้ 
แต่ก็ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ..จึงรู้ 
คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรม 
ต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มี และอยู่กับสิ่งที่ไม่มี..
คติธรรมของ........หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
__________________
ยามจะได้...ได้ให้เป็น...ไม่เป็นทุกข์

ยามจะเป็น...เป็นให้ถูก...ตามวิถี

ยามจะตาย...ตายให้เป็น...เห็นสุดดี

ถ้าอย่างนี้...ไม่มีทุกข์...ทุกวันเอยฯ

 

 

 

 

 

 

alt

มนุษย์ เป็นที่ประชุมใหญ่ มีทั้งดีและชั่ว
ที่สุด ที่อเวจี เป็นฝ่ายอกุศล
ดีที่สุด ที่พระนิพพาน

มนุษย์ ใจสูงใจกล้าหาญ มีทั้งที่ดีและร้าย
มรรคผล ก็อยู่ในชั้นมนุษย์ ครบทุกอย่าง!
มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ภพอื่น ไม่มีครบ เหมือนชาติมนุษย์นี้


(พระธรรมคำสอน…หลวงปู่หลุย จันทสาโร

 

 

 

สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม”


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

 

เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว รีบพากันปฏิบัติ
เพื่อจะได้ไว้เป็นที่พึ่งในภายหน้า..

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ..

 

 

ความคิดอย่างหนึ่งที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ คือความคิดว่าพอ..คิดให้รู้จักพอ ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่าแสวงหาไม่หยุดยั้ง ความไม่รู้จักพอมีอยู่ได้แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโต มั่งมีมหาศาล และความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้ยากจน ต่ำต้อย ทั้งนี้ก็เพราะความพอ เป็นเรื่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก คนรวยที่ไม่รู้จักพอก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนจนที่รู้จักพอก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา

การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้นทำได้ไม่ง่าย บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ แต่การยกระดับใจ ให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคนแม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริง คนรู้จักพอไม่ใช่คนเกียจคร้าน และคนเกียจคร้าน ก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้านแต่ให้เป็นคนรู้จักพอ

พอเป็นสิ่งหายากในหมู่คน โลภ

นิ่งเป็นสิ่งหายากในหมู่คน โกรธ

หยุดเป็นสิ่งหายากในหมู่คน หลง

ธรรมะเท่านั้นที่ช่วยท่านได้..

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


 

 

กุศลกรรมทำให้ลอย.. 

บาปกรรมทำให้หล่น..

โลกุตตรกุศลทำให้หลุด..

แม้จะถ่อมตัวกลัวลอยก็ตาม ความดีที่บำเพ็ญไว้เป็นต้องส่งเสริมให้ชีวิตสูงส่งอย่างแน่นอน..และแม้จะคุยโวโอ้อวดสักปานใด หากมีอกุศลครอบงำก็ย่อมหนีความตกต่ำไปไม่พ้น.. ส่วนผู้หนักทางจิตภาวนาชอบละชอบวาง สักวันหนึ่งก็คงว่างจากตัวตน หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงขึ้นมาได้ทันที..

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม..

 

 

 

 

 



แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2017 เวลา 16:10 น.)