postheadericon จิตสงบ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต  อะระหะโตสัมมาสัมพุทธสะ ฯ     ผู้ที่ทำจิต คนที่ทำจิตให้สงบ ได้ย่อมจะรู้จักรสของพระนิพพาน  พระพุทธเจ้าตรัสว่า  นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง  หรือว่าสุขอย่างยอดยิ่ง   นี้ืคือยอดยิ่งกว่าสุขทั้งหลาย   สุขมีกี่ประการ  สุขมีกี่อย่าง   สุขท่านตรัสไว้ ๓ อย่าง   คือสุขอันเป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย อย่างหนึ่ง  เรียกว่ามนุษย์สมบัติ   สุขหนือกว่ามนุษย์สมบัติ  คือเป็นสุขแดนสวรรค์   หรือเมืองสวรรค์เรียกว่าสวรรค์สมบัติ   สุขอย่างยอดเยี่ยม  คือพระนิพพานสมบัติ  จึงเป็นสุขเหนือกว่าสุขดังที่กล่าวมานี้    ในเมืองมนุษย์  ในเมืองสวรรค์  จะมีสุขสักเพียงใดก็หา เท่าเทียม  หรือจะเปรียบเทียบสุข  ในเมืองพระนิพพานได้   การทำจิตให้สงบ  หรือเรียกพื้นๆว่าการทำใจให้สงบ   ผู้ที่ทำใจให้สงบ  ด้วยอำนาจสมาธิภาวนา   ก็จะได้รับรสของความสุข   ที่เรียกว่าสุขอย่างยอด หรือสุขคือพระนิพพาน   สุขอย่างยอดหรือสุขในพระนิพพาน   ปุถุชนทั้่งหลายหรือสามัญสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้พบเห็น  คือไม่รู้จักทุกข์  รู้จักแต่สุขอันอาศัยรูป   อาศัยเพียงกลิ่น  อาศัียรส  อาศัยสัมผัส   ที่เกิดทางตาทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย  ทางการสัมผัสในใจ   เรียกอีกอย่างหนึ่ง  ว่าเป็นกามสุข คือสุขของโลก   สุขของโลกคือเป็นสุขทั่วไป   คือไม่ใช่สุขพระนิพพาน   การได้อะไรๆในโลกนี้อันเป็นที่ความสมปราถนา  การได้สิ่งนั้นๆ  หรือการได้ถึงสิ่งนั้นๆ   เป็นความสุขในโลก   แต่การถึงสุขในพระนิพพาน   พูดได้ยาก   ก็ต้องทำจิต ทำใจให้สงบ  ด้วยอำนาจสมาธิภานา  แล้วก็ย่อมจะรู้รสสุขของพระนิพพาน  ก็หมายความว่าผู้ใด   ทำจิตให้สงบได้  ด้วยอำนาจสมาธิภาวนาผู้นั้นก็ถึงพระนิพพานนั้นเอง   ดูเหมือนกับว่าการถึงพระนิพพพานนั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่ยาก    เหมือนกับว่าไม่ยาก  แต่จะว่าง่ายมันก็ไม่ใช่ของง่าย   ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง   ดูเหมือนกับว่าไกลยิ่งกว่า ๘๔๐๐๐ โยชน์ที่จะถึงได้  แต่จะพูดอีกอย่างนัยหนึ่งก็คือว่าไม่ไกลกว่ามือเอื้อม   ไม่ไกลกว่ายื่นมือเอื้อม   คือหมายความว่า  ยื่นมือเอื้อมยังไกลกว่าเสียอีก   ก็เพราะฉะนั้นจึงพูดยาก   จะว่าไกลก็เหมือนใก้ล  ที่ว่าใกล้ ก็ดูเหมือนว่าหายากที่จะพบได้   เพราะฉะนั้นสุขชนิดนี้  จึงต้องทำเอง  ให้มันเกิดขึ้นเอง  จะถามเขาก็ไม่รู้ได้   จะเอามาตอบกัน   ก็ตอบไม่ถูกเหมือนกับ   เต่ากับปลา    ที่เขาถามเขาตอบกัน   เต่าเป็นสัตว์ที่ขึ้นบกได้   ลงน้ำได้   อยู่บนบกก็ได้  ลงไปในน้ำก็ได้  วันหนึ่งเต่าลงไปในน้ำ   ลงไปในหนองน้ำ   แห่งหนึ่งก็พบปลา  ปลาก็ถามเต่า  ถามว่าท่านมาจากที่ใหน   เต่าก็ตอบว่ามาจากเมืองคน   เรามาจากแผ่นดินเบื้องบน   ปลาก็สงสัยว่าเมืองคนหรือแผ่นดินเบื้องบน   มันมีอย่างไรหนอ   ปลาจึงถามต่อไปว่าเมืองคน  มันจะเหมือนกับเมืองเราที่อยู่ในนี้หรือเปล่า   ที่อยู่กันในหนองน้ำนี้   มันก็เป็นเมืองอันกว้างขวางใหญ่โต   ที่เราอยู่มากันตั้งแต่ใหนแต่ไรมา   ตั้งแต่บรรพบุรุษ   ก็อยู่กันมาตั้งแต่ใหนแต่ไรมา   แล้วก็เป็นที่อยู่ดีมีสุข    ก็แต่ว่าเมืองคนมันมีอยูที่ใหนอีกหรือ   เต่าก็คุยใหญ่  ละทีนี้  ก็คุยตามความจริงว่าแผ่นดินเมืองมนุษย์    หรือที่สัตว์ทั้งหลายอยู่นี้   มันใหญ่กว้างขวางกว่าที่เราอยู่นี้   เราอยู่ในหนองน้ำ    มันแค่นิดเดียว    ในเมืองคนนั้นมันน่าอยู่  มีต้นไม้  มีป่า  มีเขา  มีทุ่งนา  มีบ้าน มีเรือนมี  ช้าง   มีม้า  วัว  ควาย  มีสัตว์ต่างๆมากมาย    ตลอดจนมีรถยนต์  มีเครื่องบิน  รถไฟ  แล้วก็ผู้คนก็มีหลายเหล่า    เขาเล่าให้ปลาที่อยู่ในน้ำฟัง   ปลาก็ฟังไปที่เต่าเล่า   ก็ถามว่าคนเป็นอย่างไร    ที่ว่าคนๆ นั้นมันเป็นอย่างไร   เล่าให้เราฟังบ้าง เต่าก็เล่าไป   ส่วนปลาฟังก็ไม่เข้าใจ  ว่าไอ้คนมันเป็นอะไร  แล้วก็ ภูเขามันเป็นอย่างไร   เต่าก็เล่าไป  มันมีต้นไม้   มันมีอะไรต่อ  มิอะไรมากมาย   ปลาฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ  ไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร   ถึงแม้เต่าจะเล่าไป  ตั้งแต่ต้นจนจบ   มันก็ไม่มีมโนภาพขึ้นมาได้    ปลาก็ว่ามันเหมือนอะไร   มันจะเหมือนกับที่เราอยูนี้หรือไม่   เต่าก็ว่าไม่เหมือน   ปลาว่ามันจะเหมือนอันนี้ไหม    เต่าก็ว่าไม่เหมือนทั้งนั้น  แต่ว่ามันมีอยู่   เต่ายืนยันว่ามีอยู่    เพราะไปรู้ไปเห็นมาแล้ว    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   นี้ก็คือว่าคนที่ไม่เคยทำจิตให้สงบ   ไม่ทำจิตให้สงบก็จะรู้ความสุข    คือพระนิพพานอันเป็นที่สงบไม่ได้    ถึงจะถามหาอย่างไร    ค้นหาอย่างไร   เอาไปเทียบเคียงอย่างไร    มันก็ไม่อาจที่จะ พบความสุขดังที่กล่าวนี้ได้     ความสุขที่กล่าวนี้    อันเป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม    คือสุขพระนิพพาน    อยู่ที่ใจนี้เอง  พระพุทธเจ้าตรัสว่าอยู่ที่ใจ   พระพุทธองค์ตรัสว่าความสงบด้วยใจเป็นความสุขคือพระนิพพาน   ผู้ที่ทำจิตให้ถึงความสงบ ก็ย่อมจะถึงพระนิพพานนี้เอง  ในสมัยโบราณ  หรือคนเฒ่าหรือคนแก่   เล่าสืบๆกันมา   ว่าผู้ที่จะถึงพระนิพพาน  มันจะต้องรู้อะไรมากๆทีเดียว   หรือจะหาไม่ได้ในคนเรา    คล้ายๆกับว่าจะปฎิเสธ  ว่ามันจะไปถึงไม่ได้เป็นบ้าน  เป็นเมืองเป็นดินแดนอันที่จะไปถึงได้ยาก   คนมนุษย์อย่างเราๆ  ดูเหมือนกับว่าจะไม่อาจไปถึงพระนิพพานได้   ถ้าเราฟังคนที่เล่าๆสืบกันมามันดูเหมือน  จะเป็นอย่างนั้น        นายบุญเหลือ เป็นผู้เดินทางจะไปสู่เมืองแก้ว  กู่  อมตะมหานิพพาน  ได้ถูกถามปัญหาแต่ละด่านๆ   หรือแต่ละเมืองๆ   ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้  ไม่รู้ปัญหาที่ถาม   ก็จะไปถึงแก้วกู่อมตะ  มหานิพพานไม่ได้   นายบุญเหลือเดินทาง   เดินทางไปอย่างไร   เดินทางอย่างพิศดาร  ด้วยทุรกันดาร   จะเดินทางไปหาเมืองอมตะ   มหานิพพาน แก้วกู่    ก็ออกเดินทางจากบ้่าน   ทางบ้านเขา   ก็เป็นคนพื้นบ้านชาวอีสานดีๆนี้ละ    แล้วก็ไป   อยู่เมืองลาว  แล้วก็ตั้งรกราก   อยู่ที่เมืองลาวไป ๆ   มาๆ    อยู่เมืองไทย   เมื่ออายุ ๑๒  ปี ก็ออกเดินทาง   เพื่อจะไปเสาะหา  เมืองแก้วกู่มหาอมตะ นิพพาน    เมื่อเดินทางไม่ถึง  เมืองพิศดาร  ก็พบพวกยักษ์  พวกเทวดา   หรือผู้ที่เป็นเจ้าบ้าน   ถามปัญหาแต่ละด่านๆ    ถ้าแก้ไม่ได้  ก็จะไปไม่ถึงเมืองนั้น   ท่านพระคุณเจ้าจะขอเอามารวม  กันทั้ง สามด่าน  ในคำถามนั้นๆ   คำถามแรกเขาถามว่า  ฟ้าสูงเท่าไหร่  ดินต่ำเท่าไหร  ถ้าเธอตอบได้ก็จะผ่านไปได้   ถ้าเธอ ตอบไม่ได้  ก็จะผ่านไปไม่ได้   ฟ้าสูงเท่าไหร่   ดินต่ำเท่าไหร่  คำถามจำให้ดี  นี้คือคำถามเทวดา เทวดายักษ์    ก็มีคำตอบของนายบุญเหลือ  หรือปู่บุญเหลือ  นั่นแหละ  เดี่ยวนี้ก็มีชื่อว่าปู่บุญเหลือ  ตอนนั้นก็มีชื่อว่านายบุญเหลือ  เพราะมีอายุน้อย  เขาก็ตอบว่า  ฟ้าสูง ๖ แผ่นดินต่ำ ๔ แก่ตอบอย่างงี้   เทวยักษ์ก็ว่าถูกต้องแล้ว เพราคนที่จะตอบได้ก็หาได้ยาก ส่วนผู้ที่เดินทางมาสู่ที่แห่งนี้  จะได้ไปเมืองแก้วกู่มหาอมตะนิพพานนั้น  ไม่อาจที่จะตอบปัญหาอันนี้ได้   ก็ไปไม่ได้   ผ่านพ้นอันตรายไปไม่ได้   ผ่านพ้นเขตไปไม่ได้   ก็ปรากฎว่า   แกตอบได้ถูกต้อง  ทีนี้ก็ปัญหาที่ ๒ หรือว่าผ่านด่านที่๒ อีก   เขาก็ถามปัญหาอีก ปัญหาด่านที่๒  เขาถามว่า  สูงกว่าฟ้ามีเท่าไหร ต่ำกว่าดินมีเท่าไหร  นายบุญเหลือก็ตอบว่าสูงกว่าฟ้ามี ๒๐ ต่ำกว่าดินมี๙  เทวยักษ์ก็ยินดี  ให้ผ่านไปได้   ทีนี้ก็ผ่านไปเจอด่านสุดท้าย   เทวยักษ์ก็ถามว่า   ดินต่ำก็ไม่ใช่ฟ้าสูงก็ไม่ใช่   ต่ำกว่าดินก็ไม่ใช่   มีเท่าไหร่  นายบุญเหลือก็ตอบว่ามีหนึ่ง  เทวยักษ์ก็ยินดีที่นายบุญเหลือตอบได้  ศรัทธา ท่านผู้ฟังทั้งหลาย   ก็เป็นอันว่านายบุญเหลือ ก็ไปถึงอมตะพระนิพพาน   ได้ว่าถึงปัญหาข้อแรก  ที่นายบุญเหลือตอบข้อแรกแก่เทวยักษ์   ว่าฟ้าสูง ๖ แผ่นดินต่ำ ๔  ได้แก่อะไร  ก็ได้แก่สวรรค์ ๖ ชั้น   แผ่นดิน ๔ ทวีป   คือความหมายมีอย่างนี้   ที่ว่าฟ้าสูง ๖  ก็คือ   ชั้นจาตุมหาราช    ชั้นดาวดึงส์   ชั้นยาม   ชั้นดุสิต   ชั้นนิมมารดี   ชั้่นปรนิมมารดี   นี่คือสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น   ที่ว่าแผ่นดินต่ำ ๔  นายบุญเหลือก็หมายถึง  ทวีปทั้ง ๔ คือหมายถึงในโลกมนุษย์นี้  แผ่นดินนี้มีทวีปอยู่ ๔ ทวีป   ทวีปที่เราอยู่นี้เรียกวาชมพูทวีป  แล้วก็อีก ๓ ทวีป  คือ บุพเคหะทวีป อุตระโกลุทวีป  อมันโคยังทวีป  คือรวม  ทวีป ๔ทวีป   นี้คือเป็นข้อที่นายบุญเหลือ  ตอบด่านที่ ๑  ส่วนด่านที่๒  ที่ว่าสูงกว่าฟ้ามี ๒๐  ต่ำกว่าดินมี ๙  หมายถึงอะไร   สูงกว่าฟ้าคือหมายถึงสูงกว่า เมืองสวรรค์ ๖ ชั้น ขึ้นไปก็หมายถึงพรหม ๒๐ นั่นเอง  หมายถึงพรหม ๒๐ ชั้นคือ  รูปพรหม  ๑๖ อรูปพรหม ๔ ต่ำกว่าดินลงไปมี ๙ ชั้นคือ  มหานรก  ทั้ง ๙ ขุม  เริ่มตั้งแต่นรกขุมนรกที่ ๑ คือ  ญัญชีพ  กาลสูตร ไปตามลำดับๆ  ตาปะ มหาตาปะ โลวะ มหาโลวะ  อเวจี โลกันตระ คือตามลำดับกันไป  รวมเป็น ๙ ชั้น  ศรัทธาญาติโยม ท่านผู้ฟังนี้ก็คือด่านที่ ๒  ที่ตอบถูก  ไปด่านที่ ๓  คือว่าดินก็ไม่ใช่สูงกว่าดินก็ไม่ใช่  ต่ำกว่าดินก็ไม่ใช่  เหนือกว่าฟ้าก็ไม่ใช่มีเท่าไหร   ก็หมายถึงพระนิพพานนั่นเอง   คือยอดแห่งมหาอมตะพระนิพพานคือมีหนึ่ง หมายถึง โลกุตระ พระนิพพานมีหนึ่ง  ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  นี้ก็คือคำถามเทวดา ก็เป็นที่น่ายินดี   ที่นายบุญเหลือ  ตอบถูกทั้งหมดก็เป็นอันว่านายบุญเหลือ  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้โกนผม   ห่มผ้าเหลือง  ก็ประพฤติพรหมจรรษ์   อย่างพวกฤาษี  ชีไพร   อาศัยอยู่ตามถ้ำ  ตามป่าเดินทาง ไปทะลุบ้าน  ทะลุเมือง  ไปยังที่ว่านี้ ผจญภัยไปจนถึง  ตามที่กล่าวมานี้  ๓ ด่าน  ก็หมายความว่าไปถึงเมืองแก้วกู่    มหาอมตะนิพพานได้ การที่จะไปสู่พระนิพพานอันเป็นบรมสุขยอดเยี่ยมนั้น   เหมือนกับว่า  จะต้องมีความรู้นอก  เหมือนกับว่าจะต้องเดินทางยืดยาว   ผ่านฟ้าผ่านดิน  ผ่านนรก    ผ่านสวรรค์   ก็มีอะไรมากมาย  ตลอดจนถึงกับว่าไปพรหม ๑๖ ชั้น    การที่จะไปถึงนั้น  ก็ไม่ใช่ว่าจะยืดๆ  ยาวๆ อย่างที่นายบุญเหลือ   แท้ที่จริงก็คือ  เดินที่ใจเรานี้แหละ  ถ้าผู้ใดย่อมทำจิต ทำใจให้แจ่มแจ้งก็จะถึงเมืองแก้วกู่มหาอมตะพระนิพพาน   ย่อมจะรู้รสของความสงบสุข  อันเป็นนิรมิตสุข  อันเป็นบรมสุข  สุขอย่างยอดเยี่ยม  เหนือกว่าความสุขทั้ง ๓ ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  ได้แสดงมาถึงผู้ที่ทำจิตทำใจให้สงบได้ก็ย่อมจะรู้รส ของพระนิพพาน ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้  ก็ขอยุติเนื้อความโดยย่อลงแต่เพียงเท่านี้  

 

 









แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2012 เวลา 01:23 น.)