postheadericon ทุกข์ของการยึดมั่นถือมั่น

 

 alt

 

         บทเทศนาโดยท่านพระคุณเจ้า หลวงพ่อ ดาบส สุมโนฯ

              เรื่องทุกข์ของความยึดถือ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๓ จบ

จะกล่าวถึงเรื่องของทุกข์ก็คือความยึดถือ  เมื่อมีการยึดถือก็ย่อมจะมีความทุกข์  ถ้าไม่มีการยึดถือ ความทุกข์ก็ไม่มี

การปฏิบัติธรรมก็เพื่อจะทำลายความยึดถือให้มันหมดไป  ความยึดถือเป็นตัวกิเลส  เรียกว่าอุปาทาน อุปาทานเป็นรากเหง้าและเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย  อุปาทานคือความยึดถือ  ความยึดถืออะไร  พูดถึงความยึดถือคืออะไร  ยึดถือที่ถูกก็มี   ยึดถือทางที่ผิดก็มี  มันก็มีความยึดถือมากมาย ในโลกนี้ อะไรก็เป็นสิ่งที่ยึดถือไปหมด

ที่เราเรียกว่า อุปาทานขันธ์ห้า  คือโดยย่อการเข้าไปยึดถือในขันธ์ห้า  ก็เป็นทุกข์ ขันธ์ห้าคือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร วิญญาณ

รูปคือสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา  หรือสัมผัสได้ด้วยความถูกต้อง  เวทนา คือ สังขารวิญญาณ สัมผัส ยากก็เป็นนามธรรม  คือไม่มีรูปร่าง  เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างลักษณะที่แสดงออกมาเหมือนกับรูป จึงเรียกว่า  นาม  นามแปลว่ามีแต่ชื่อ  แต่นามก็มีอยู่คือมี  ถ้าจะเรียกง่ายๆ กายกับใจ ใจคือเป็นฝ่ายที่อยู่ในกายนี้  สำหรับความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ  รู้ดี  รู้ชั่ว รู้จด รู้จำ รู้...รู้คิด รู้โง่  รู้ฉลาด รู้ถูก รู้ผิด ตลอดจนมี รู้สึกในทุกข์ รู้สึกในสุข รู้ความยินดี รู้ความไม่ยินดี นี่ก็มีอยู่ในรูปธรรม  สัตว์ทั้งหลายย่อมจะยึดถือ ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง  ทั้งภายนอก และภายใน  ด้วยความยึดถืออันนี้แหละ  มันเป็นเรื่องของความทุกข์ทั้งนั้น  เป็นต้นเหตุของความทุกข์  ก็การปฏิบัติธรรมเท่านั้นแหละ จัดเป็นเป็นเครื่องทำให้ดับไปจากความทุกข์ได้

เพราะการปฏิบัติธรรมนั้น  เป็นการที่ปฏิบัติเพื่อดับเสียซึ่งอุปาทาน  ยึดมั่น ถือมั่น ในรูป ในนาม ในตัว ในตน ในความเป็นของเรา ในความเป็นของเขา  ถ้ามีเรามีเขา มีตัวมีตน อันเป็นที่เข้าไปยึดถือแล้ว  อันนี้ก็แสดงว่าย่อมเป็นต้นเหตุของความทุกข์  ยกตัวอย่าง  เขามานินทาเราเท่านั้นเอง  เพียงแต่เขามานินทาเราเมื่อได้ยินคำนินทาเข้าหูเรา ก็เกิดความไม่พอใจ  เหตุที่เกิดความ โกรธขึ้นมา นี่ก็คือความยึดถือ  เพียงแต่เขานินทาเท่านั้นเองก็ไม่ชอบใจแล้ว  เมื่อไม่ชอบใจ ก็เป็นเหตุให้กระทบกัน  คือการแตกแยกกัน  การเป็นเขา การเป็นเรา ไม่ชอบใจก็อยากให้ฉิบหายไปเสีย  ที่ชอบใจก็อยากจะถนุถนอมเอาไว้  อย่างอื่นอีกเป็นอเนกตะประการ    คนเราก็ย่อมอาศัยกิเลส ยึดถือนี่เอง เป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ถือเรา  ถือเขา ถือมึง ถือกู  ถือดี ถือชั่ว ก็จะมีความสุขแต่ที่ไหน

การอยู่ด้วยกันหรือการร่วมกันอยู่ มันก็จะไม่มีความสงบ  ความสุข ขั้นต้นก็ต้องอาศัยการปฏิบัติธรรม  โดยย่อๆ หรือโดยขั้นแรกๆ ก็คือ ศิล ๕ ธรรม ๔ ศิล ๕ ธรรม๔ ก็ย่อมจะเกิดความสุขได้ การอยู่นี่ก็จะมีแต่ความสุข

ฉะนั้นในหลวงพระเจ้าแผ่นดินของเรา  ท่านเป็นห่วงพวกเรา พสกนิกรทั้งหลาย ท่านหวังให้พวกเราทั้งหลาย จงเป็นผู้ชนะอย่างเดียว  ท่านให้โอวาทพวกเรา จงชนะอย่างเดียว คือชนะไม่ต้องแพ้ แต่ถ้าจะเอาแพ้ เอาชนะกัน มันก็จะต้องมีแพ้ มีชนะก็จะต้องถึงความหายนะ ยิ่งใหญ่ทีเดียว  แม้ประเทศของเราก็จะไม่เป็นไท  ถ้าคนเรามัวแต่ว่าจะมาเอาแพ้ เอาชนะกัน เอาแพ้เอาชนะกันมันเป็นกิเลส ถือตัว ถือตน ถือเรา ถือเขา ถือดี ถือชั่ว ถือผิด ถือถูก มัวแต่ถกเถียงกัน เอามาแก่งแย่งกัน  เอามาต่อสู้กัน เอาชัยชนะอย่างนี้มันก็ย่อมมีฝ่ายหนึ่ง ก็ย่อมเป็นฝ่ายชนะอีกฝ่าย ก็ย่อมเป็นฝ่ายแพ้  เมื่อแพ้แล้วก็ย่อมชนะ ชนะแล้วก็ย่อมแพ้ ท่านบอกว่าการแพ้แล้วก็ชนะ ชนะแล้วแพ้นั้นไม่ดี ต้องเอาชนะอย่างเดียว การเอาชนะอย่างเดียว การสมัคร สมานสามัคคีกัน การสมัครสมานสามัคคีกัน มีอะไรปรึกษาหารือกัน พูดกัน ปรองดองกัน  ปรึกษาหารือกัน พิจารณาให้มีเหตุมีผล อันใดดีก็รักษาอันนั้นไว้ อันใดไม่ดีหรือนำมาซึ่งความเสื่อม ก็ละทิ้งอันนั้นไมเสีย มีความสามัคคีกันแล้วก็จะไม่มีวันแพ้ ท่านว่าอย่างนั้น

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย  ไม่มีวันแพ้ก็คือ  อาศัยการปฏิบัติธรรมนั่นเอง  จะลดทิฎฐิมานะ ลดการแก่งแย่งกัน ลดการแข่งดี ลดการแข่งดีแข่งเด่นกัน เอาแพ้เอาชนะกัน อันนี้ไม่ดีไม่มีความสุข ในพรรคไหน ในสังคมไหน ในบ้านใด ในตำบลใด ในเรือนใด ตลอดจนวัดวาอารามใด ถ้ามีการแก่งแย่งกัน  ในที่นั้นก็ย่อมไม่มีความสุข หาสันติสุขไม่ได้ การอยู่ร่วมกันจะต้องอาศัยหลักธรรมปฏิบัติ คือการลดละมานะทิฎฐิไม่ถือตัว  พยายามทำลายทิฎฐิมานะ  ถือเนื้อ ถือตัว ถือดี ถือชั่ว ให้ออกไปให้หมด มันก็จะรู้จักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะถึงความสุขอันแท้จริง แม้สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ เขาก็ยังรู้จักปฏิบัติธรรม  ดังเรื่องนกพระโพธิสัตว์กับช้างกับลิง นั่นคือนกกระทา คือพระพุทธเจ้าของเราในกาลครั้งนั้นก็เกิดเป็นนกกระทา พระโพธิสัตว์ของเรา  อาศัยต้นไทร ต้นหนึ่ง มีกิ่งใบงาม ก็เป็นที่อาศัยร่มเย็นเป็นสุข ก็ยังมีสัตว์อีก ๒ ท่าน คือลิง กับช้าง ก็อาศัยต้นไทรต้นเดียวกัน

ก็สัตว์ทั้ง ๓ ก็อาศัยร่มเงาอันเดียวกันคือต้นไทร  แต่สัตว์ทั้ง ๓ เหล่านั้นก็ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติธรรม  ขั้นแรกการอยู่ด้วยกัน  มันก็เป็นสิ่งที่ไม่สันติสุข คือช้างถือว่า ตัวโต ตัวใหญ่กว่าเขา  อาศัยต้นไทรนี้ สำคัญวาตัวมีกำลัง มีแรงมาก แม้จะฆ่าเสียซึ่งนกกระทาก็ดี  ลิงก็ดี ย่อมจะทำได้ หรือจะทำลายเสียซึ่งต้นไทรใหญ่ ก็ย่อมจะทำได้  ส่วนลิงก็สำคัญว่าตัวเป็นคนเฉลียว ฉลาดว่องไว อาจจะทำอะไรได้สำเร็จ ตามความปรารถนาของตน ด้วยสติปัญญา ความเฉลียวฉลาดหลักแหลมของตน  ของตน ส่วนนกกระทา นกกระทาถึงแม้ไม่มีกำลังมาก แต่ก็มีสติปัญญาพอจะรู้ได้ว่า  อันใดเป็นศีล อันใดเป็นธรรม  อันใดเป็นทางนำมาซึ่งทุกข์ อันใดเป็นทางนำมาซึ่งสุข รู้เหตุ รู้ผล รู้ต้น รู้ปลาย

ก็เมื่อทีแรกอยู่กันไม่รู้เหนือ รู้ใต้  ไม่รู้อก ไม่รู้ใจซึ่งกันและกัน ต่างก็ถือดีซึ่งกันและกัน แต่ส่วนนกกระทานั้นผู้มีปัญญาในทางธรรม  พิจารณาว่า การที่เราอยู่ร่วมต้นไทรเดียวกันนี้  เราไม่มีความเคารพกัน  มันนำมาซึ่งความทุกข์  นำมาซึ่งความทุกข์โดยอย่างเดียว  แล้วเราอยู่ด้วยกัน จะเอาความสุขที่ไหนมา ไม่พบความสุขอันแท้จริง ต่างคนต่างเอาใจตนว่า นกกระทาจึงพูดขึ้นว่า เราอยู่ด้วยกัน เราก็ควรจะนับถือซึ่งกันและกัน เราควรจะอาศัยธรรม เราควรจะปฏิบัติธรรม ช้างและลิงก็พูดว่า  นี่นกกระทา ที่ท่านพูดอย่างนั้น ก็ดูเป็นการพูดที่ดีอยู่ เราควรจะปรึกษาหารือกัน ควรมีความเคารพกัน มีการปฏิบัติธรรม เราควรจะเป็นผู้ใหญ่ และก็เป็นผู้รอง ตามหลักของผู้น้อยแล้วเราปฏิบัติธรรม เราก็จะมีความสุขทั้ง ๓ ท่านก็มีความไม่รังเกียจ ในเมื่อนกกระทาพูดขึ้นอย่างนั้น ก็เราจะทำอย่างไรกันเล่า  เราจะเอาใครเป็นใหญ่  เราจะนับถือใครเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ก็มีคำถามขึ้นว่า ก็ถ้าใครเป็นคนรู้เหตุ รู้ผล รู้ต้น รู้ปลาย ผู้นั้นก็เป็นผู้ใหญ่ เป็นหัวหน้า

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็คนใดเป็นผู้รู้ต้น รู้ปลาย ควรเป็นหัวหน้าเรา  ต้นไทรต้นนี้ท่านเห็นเมื่อไหร่  ช้างก็บอกว่าต้นไทรต้นนี้นะ สมัยหนึ่งยังไม่เป็นต้นไทรใหญ่นี่ ต้นไทรต้นนี้ สมันก่อนโน้น เราเคยมากับแม่ของเรา แล้วเราติดตามแม่ของเรามา ต้นไทรต้นนี้ก็ยังน้อยๆแม่ของเราเดินผ่านมายอดไทรต้นนี้ยังเขี่ยต้อง(ท้อง) ของแม่เรา ก็หมายความว่า ชั่วคนยืนเท่านั้นเอง

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ทีนี้ก็ลิง นกกระทาถามลิง ท่านลิงท่านละเห็นต้นไทรต้นนี้ตั้งแต่เมื่อไร  ลิงก็บอกว่า เราเห็นตั้งแต่น้อยๆกว่านี้ สมัยนั้นเรามากับมารดาของเราต้นไทรต้นนี้ เรายังเอื้อมกินยอดของมันเลย แม่ของเรากับเรายังกัดยอดกินกันอยู่ ต้นไทรนี้ยังเป็นต้นเตี้ยๆอยู่กับดิน

alt

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ช้างนั้นก็ได้เห็นต้นไทรสูงพอควร เคียงบ่า เคียงหัวมันข้ามได้  เพราะช้างมันตัวใหญ่ ข้ามได้ รอดใต้ท้องได้ แต่ลิงนั้นเห็นเมื่อมันเตี้ยๆอยู่กับดิน ก็หมายความว่า ลิงเห็นก่อน  เห็นเมื่อเตี้ยๆอยู่ติดกับดิน ช้างเห็นทีหลัง  ทีนี้ก็ลิงก็ถามนกกระทาบ้าง  นกกระทาบอกว่า ต้นไทรนี้เดิมอยู่ที่โน้น คือเป็นต้นไทรต้นโน้นก่อนที่ตรงโน้น  เราเองได้กินลูกต้นไทร แล้วไทรต้นโน้น แล้วเราก็บินมาที่นี้ อุจจาระไว้  เราถ่ายอุจจาระแล้วต้นไทรต้นนี้ก็เกิดจากอุจจาระของเรา พอฝนตกเข้า  หน่อไทรแตกงอกขึ้นมา เราเห็นตั้งแต่อยู่ที่โน้น  ยังไม่อยู่ที่นี้ พวกช้างและลิงก็บอกว่า  เห็นต้นไทร ไม่รู้ต้น สายปลายเหตุว่ามันมาจากที่ไหน เป็นอันว่า ได้ความว่า นกกระทานั้นได้รู้ต้นสายปลายเหตุ ของต้นไทรได้ก่อนเพื่อน  ส่วนสัตว์ทั้ง ๒ ทั้งลิงกับช้าง ได้เห็นต้นไทรนี้ทีหลัง ก็เรียกว่า ยังไม่รู้ต้น เหง้าว่าเหตุเป็นมาอย่างไร  ความว่านกกระทานั้น เป็นผู้ที่รู้ต้น รู้เหตุ รู้การไกลกว่าเพื่อน รู้มากกว่าเพื่อนด้วย อายุมากกว่าเพื่อนด้วย

ก็เป็นอันว่า ช้างและลิง ก็เลยยกนกกระทาให้เป็นครูบาอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของตนให้ทำความเคารพ ซึ่งนกกระทา ตั้งแต่นั้นมา นกกระทาก็ได้สอนให้เราสามัคคีกัน ให้พวกเรา สามัคคีกัน อย่าผิดกัน ปรึกษาหารือกัน สมัครสมานสามัคคีดีกัน ใครผิดใครถูก ก็ยอมรับผิด

คือยอมให้อภัยซึ่งกันและกัน และนกกระทาก็สอนให้ปฏิบัติธรรม ๔ รักษาศิล ๕ ช้างและลิงก็รักษา ศิล๕ธรรม ๔ ข้อ

ศีล ๕ คือ ๑ .ปาณาติปาตาเวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป ๒. อทินนาทานา   เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา  เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ

๕ .   สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท

ธรรม ๔ คือ

๑ .มีความเคารพซึ่งกันและกัน

๒ .มีความอดทน

๓ มีความให้อภัย

๔ .มีความรับผิด รับถูก ซึ่งกันและกัน

 นี่ชื่อว่า ธรรม ๔ ศิล๕  นกกระทา ช้าง ลิง  ก็ปฏิบัติด้วยธรรม ๔ ประการ กับด้วยศิล ๕ ก็อยู่มาด้วยกันเป็นสุขสถาพรจน อวสานแห่งชีวิต

สัตว์ทั้ง ๓ ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกัน  สุดท้าย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสบอกว่า นกกระทาในกาลครั้งนั้น ก็คือเรา ตถาคตนี่เอง เป็นนกกระทา ส่วนลิงก็ได้ท่องเที่ยวไป ก็กลับมาเกิดเป็นพระสารีบุตร นั่นเอง ในชาติปัจจุบันนี้ ส่วนช้าง ในกาลครั้งโน้นนั่น ก็คือพระโมคคัลลานะ ในชาติปัจจุบันนี้เอง

ศรัทธาญาติโยม ท่านผู้ฟังทั้งหลาย นี่ก็คือสัตว์ทั้ง ๓  ก็ปฏิบัติสามัคคีกัน ก็ชื่อว่า สัตว์ทั้ง ๓ เป็นผู้รักษาศิล ๕ และปฏิบัติธรรม ๔ ข้อ รวมกันว่า ธรรม ๙ ข้อ คือ ศิล ๕ ธรรม ๔

ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ศิล๕ คงจะจำกันได้ง่าย แต่ธรรม ๔ ก็ขอแย้มอีกทีหนึ่ง ๑-๔

๑.  ความอดทน และความให้อภัยกัน ความรู้จักรับผิด ในสิ่งที่กระทำแล้ว ว่าเป็นผิด ถูกก็รับว่าเป็นถูก ไม่ถือเนื้อ ไม่ถือตัว ไม่ถือดี ไม่ถือชั่วกัน ก็อยู่ด้วยกันเป็นสุขสถาพร

ท่านพระคุณเจ้า แสดงถึงเรื่อง ธรรมของสัตว์ทั้ง ๓ หรือผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ส่วนผู้ไมประพฤติธรรมก็ไม่เป็นสุข  เพราะฉะนั้น ท่านหลวงพ่อจึงว่าพระเจ้าแผ่นดินของเรา เป็นห่วงพวกเราทั้งหลาย  ให้เราทั้งหลายมีความสามัคคีกัน เมื่อฝ่ายที่จะไปแก่งแย่ง เอาแพ้ เอาชนะกัน เมื่อเราชนะ ส่วนเดียว ด้วยการมีแต่ชนะอย่างเดียว จะไม่มีวันแพ้

ก็คืออาศัยการปฏิบัติธรรม  .............. ใครผิดใครถูกก็ไม่ถือกัน  ปรึกษาหารือกัน  การอยู่ร่วมกันในโลกนี้ หรือในวัด  ในเมืองเดียวกัน  ในประเทศเดียวกัน ก็ย่อมจะมีความสุข  ความสถาพร  นั้นกาลนาน ท่านพระคุณเจ้าหลวงพ่อได้เทศนามา  กล่าวมาถึงเรื่อง  การปฏิบัติธรรมเป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสุข  แต่การไม่ปฏิบัติธรรม  ถือดีกัน แย่งดี แย่งชั่วกัน เอาชนะกัน เอาแพ้กัน ก็ย่อมจะถึงความหายนะฝ่ายเดียว  เมื่อเราไม่แก่งแย่งกัน  มีความสามัคคีกัน ให้อภัยกัน ยอมรับผิด รับถูกกัน ก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญ เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน มานะทิฏฐิ 

แสดงมาย่อๆ ก็ขอยุติลงด้วยประการฉะนี้..

altaltaltaltaltaltaltaltaltalt

แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2016 เวลา 02:34 น.)