postheadericon การเจริญหรือการทำกับการละการวาง

 

https://scontent-b-kul.xx.fbcdn.net/hphotos-xap1/v/t1.0-9/10915269_377919035702089_4176724573171693778_n.jpg?oh=4234a8e1e4d4c56b8c19a3daff513757&oe=552FA857

 

การเจริญหรือการทำให้เป็นบุญ เป็นการเริ่มต้นของกุศลผลบุญ ส่วนการละ หรือการวาง ความชั่ว เป็นสิ่งที่ต้องเอาออก สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม บางคนมุ่งหน้าทำความดีไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ย้อนถึงความชั่วที่ต้องละ ความชั่วถ้าไม่ละ การปฏิบัติก็จะไม่เป็นไปตามจุดหมาย ความดีที่ทำ แม้เป็นเวลาอันยาวนาน ความชั่วก็จะติดตาม มาลบล้างความดีเสีย ความชั่วก็จะมาลบล้างความดีเสีย ความดีที่ทำมาเพียบพร้อมแม้กระนั้น ความดีก็เหมือนกับว่าจะไม่ให้ผล เพราะความชั่วมันมาลบล้างความดีไปเสีย เหมือนกับว่าน้ำที่สะสมไว้เต็มโอ่ง เมื่อมีสิ่งปฎิกูลตกลงไปน้อยหนึ่ง(นิดหนึ่ง)ก็ทำให้เกิดโทษ มีกลิ่นเหม็น อย่างนี้เป็นต้น น้ำที่สะสมมาพอจะเต็มโอ่งต้องเททิ้ง
ในพระพุทธศาสนาเรา กล่าวถึงคนที่ไม่รู้จักพอเป็นคนที่ยากจนที่สุด

รากเหง้าของความไม่ดี มีสมมุติฐานอยู่ 3 ประการ คือความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือรวมความแล้วก็เรียกอีกอย่างหนึ่ง คือตัญหา ความไม่ดีทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ละได้ยาก มีความอยากเป็นตัวต้นเหตุ ความอยากมีอยากเป็น ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักแก้ไข ไม่ยอมละ ยอมวาง มันก็จะสร้างแต่ปัญหา หรือความชั่ว นั้นย่อมทับถมมากขึ้นๆ เหมือนดั่งไม้ที่ลอยไปตามกระแสน้ำ มันก็จะไหลลงต่ำไปเรื่อยๆ ตามลำดับๆ ผ่านตำบลที่หนึ่งแล้วก็ ผ่านไปอีกตำบลที่สอง จนไปถึงตำบลที่3,4,5,6,7,8 มันก็จะไหลลงไปสู่ที่ต่ำเสมอ จนถึงอบายภูมิ จากอบายภูมิเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกใหม่ๆ ก็จะต้องมาสร้างคุณงามความดีใหม่ แต่จะมาสร้างความดีใหม่อย่างไร ในเมื่อไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ มัวแต่ไปเกิดเป็นสัตว์อื่น ก็จะไม่มีโอกาสปฎิบัติธรรมความดี หรือสะสมความดี หรือหลุดจากความชั่วไปได้ มันก็จะกลายเป็นสัตว์ที่จองเวร สร้างกรรมกันต่อไปอีก ต้องฆ่ากัน ต้องกินกัน ผลัดกันเป็นใหญ่ ตามจองล้างจองผลาญกันอยู่ ก็จะเวียนวน อยู่กับสิ่งที่ไม่ดีแล้วเมื่อไหร่จะได้พบพระพุทธศาสนา อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ยาก คนที่ไม่ยอมละความดี ความชั่ว คนที่ไม่ยอมละตัญหา มันก็จะใหญ่ ขึ้นเรื่อยๆ แล้วต้องไปรับกรรมอยู่เป็นเวลาอันเมิน(ยาวนาน)อันนาน เมื่อใดเกิดมาแล้ว ได้พบพระพุทธศาสนา จึงเริ่มที่จะสร้างความดี ซึ่งเป็นโอกาสยากนัก ที่จะพบพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะสาวก เปรียบดังสายฟ้าที่ฟาดลงมาแค่ครั้งเดียว ในการเวียนเกิดเวียนตายหลายอสงค์ไขยกัป
การปฏิบัติธรรมนั้นก็คือการละสิ่งไม่ดีออก ทำแต่สิ่งที่ดีก้าวหน้าไป แต่สิ่งไม่ดี ทำง่ายกว่าการละการวาง
ฉะนั้น คนทำทานได้ แต่ละความโกรธความให้อภัยกันไม่ได้ 
คนรักษาศีลได้ แต่ก็ละกิเลสไม่ได้ 
คนเจริญภาวนาได้ แต่ก็ละวางอารมณ์ทั้งหลายไม่ได้
ดังนั้นการละจึงยากกว่าการทำ ค่อนข้างยากกว่าการเจริญ เช่นการเจริญภาวนา รักษาศีล ถ้าไม่ยอมละตัญหาอันเป็นรากเหง้าแล้ว ยอมไหลลงไปสู่ที่ต่ำ เหมือนดั่งไม้ที่ไหลไปตามน้ำ ไปสู่ตำบลนั้น ที ไปสู่ตำบลนี้ที จนถึงที่สุดดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน