postheadericon ***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

 

 

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

 

ให้ดูแต่อารมณ์จิตของตนเอง รักษากำลังใจไว้ให้ดี 
จงพยายามปรับจิตให้ละจากอารมณ์ที่มีความเห็นผิด 
เช่น จิตล่วงละเมิดไปในความโกรธ ก็จงรู้ว่าโกรธแล้ว เพราะขาดสติ
 

เมื่อมีสติก็จงพิจารณาละซึ่งความโกรธนั้นเสีย 
โดยใช้หลักอริยสัจเป็นสำคัญ 
ความโลภ หรือความหลงก็เช่นกัน 
จักต้องมีกำลังใจรู้อารมณ์ของจิตอยู่ตลอดเวลา 

รู้แล้ว-เห็นแล้วจักต้องพยายามหักล้างให้ได้โดยไว 
อย่าปล่อยปละละเลย กิเลสจักมีกำลังเหนือจิต 
โดยโอกาสที่จักแก้ไขจิตจักมีได้ยาก 
จงอย่าดูใคร ให้ดูใจเราเป็นสำคัญ


***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

จงอย่าประมาทในการสร้างความดี 
ยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าทิ้งการทำบุญ ทำทาน 
แม้พระอรหันต์จบกิจแล้ว แต่ชีวิตยังอยู่ ท่านก็ไม่เว้น การทำบุญ ทำทาน 
เพราะมีผลเป็นจาคานุสติ และอุปสมานุสสติด้วย 
ท่านทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เพราะท่านไม่ประมาทในความดี 
จงเอาอย่างท่าน

หากศีลยังไม่มั่นคง สมาธิยังไม่ตั้งมั่น ปัญญายังจู๋อยู่ 
ห้ามคิดว่าไม่ติดบุญ ในทาน ความดี เพราะจิตยังติดบาปอกุศล 
จิตเป็นคนโง่อย่างแท้จริง 

พระอรหันต์ ท่านยังไม่ทิ้งการทำบุญ ทำทาน เพราะท่านไม่ประมาท
ในกรรมทั้งมวล

อยากฉลาดต้องมีคุณธรรมประจำจิต ยอมรับกฏของไตรลักษณ์ 
ทำใจให้เป็นกลางให้ได้ และเป็นคนไม่ประมาท 
ทบทวนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอ


***คำสอนสมเด็จองค์ปฐม***

"สมบัติที่แท้จริงของคน คือกรรม 

ทุกคนมาตามกรรมอยู่ด้วยกรรม และไปตามกรรมทั้งสิ้น

คนฉลาดจึงเลือกเอาแต่กรรมที่เป็นกุศล และอัพยากฤติกรรม 

กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ แต่โลก และขันธโลกนั้นไม่เที่ยง 

กรรมจึงอยู่เหนือโลก"


 

 

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

โลก หรือโลกะ แปลว่ามีอันฉิบหายไปในที่สุด 
คือ อนัตตา-พัง-สลายตัว หรือตายนั่นเอง 
ทุกสิ่งในโลก รวมทั้งเทวโลก และพรหมโลก 
ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ช้าหรือเร็วเท่านั้น 

ดังนั้นพึงชำระจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลกลงเสีย 
เพราะมันไม่เที่ยง ยึดเข้าก็เป็นทุกข์

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

กฎของกรรมเป็นของเที่ยง.....กรรมใครกรรมมัน

ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีอุปสรรคเข้ามาทดสอบกำลังใจอยู่เสมอ 
เช่น สัทธรรม ๕, โลกธรรม ๘, ปัญหาครอบครัว-เศรษฐกิจ 

ละวางได้แค่ไหนคือของจริง เป็นครูวัดผลของการปฏิบัติ
ให้มีสติกำหนดรู้ อย่าท้อถอยกับครู หรือเหตุการณ์ที่เข้ามาทดสอบ.....

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

ขอให้เชื่อกฎของกรรมนั้นมีจริง 
ให้หลีกเลี่ยงกับการปะทะคนพาลให้มากที่สุด 

จงอย่าไปต่อปากต่อคำด้วย เพราะรังแต่จักทำให้ขาดทุน 
เขาด่า เขาว่า ก็ปล่อยให้เป็นกรรมของเขาแต่เพียงผู้เดียว 
จงอย่าไปรับกรรมนั้นมา รังแต่จักทำให้เสียอารมณ์จิ 
เสียเวลา เสียผลของการปฏิบัติความดีเปล่าๆ 

บุคคลผู้ใกล้อเวจีมหานรกเข้าไปทุกที 
จงอย่าไปสนใจ หรือใส่ใจให้มากนัก 
รักษากำลังใจของตนเองเข้าไว้ให้อยู่ในความดียังจักดีกว่า 
อดทน ข่มใจ อย่าไปแสดงความไม่พอใจโต้ตอบเป็นอันขาด 

รักษากำลังใจให้เป็นสุข สร้างอภัยทานให้เกิดกับจิต 
แล้วผลกรรมที่เขากระทำมา ย่อมตอบสนองเขาอย่างหนักไปเอง 

ขอให้เชื่อกฎของกรรมนั้นมีจริง 
ในอดีตชาติเจ้าย่อมทำกรรมอย่างนี้มาก่อน ก็จงชดใช้หนี้กรรมมันไป 

ถ้าหากพ้นวาระกรรมเมื่อไหร่ เจ้าก็พ้นจากสภาวะที่ถูกแกล้งอย่างนี้แน่นอน 
อย่าไปโกรธเขา ให้สร้างอภัยทานแล้วแผ่เมตตาให้แก่เขาให้มากๆ 
แล้วจิตของเจ้าก็จักเยือกเย็นลงเอง

 

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

"จงอย่าไปเดือดร้อนกับกรรมของบุคคลอื่น 
ให้ทำใจอยู่ในขอบเขตกรรมของตนเองก็พอ 

อะไรมันผ่านมากระทบ แล้วก็ให้มันผ่านไปเลย 
แยกแยะให้ออกว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องที่เป็นสาระอันพึงจักยึดถือ 
มิใช่เป็นปัจจัยนำจิตให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน 

พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 
โดยรักษากำลังใจในการทำหน้าที่ของตนให้เต็มเท่านั้น 

ผลจักเป็นอย่างไรได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น 
แม้จักถูกตำหนิในบางครั้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา 
เพราะทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได 

มีแต่พระตถาคตเท่านั้นที่จักไม่พลาดเลย 

ดังนั้น เมื่อมีการผิดพลาดขึ้นครั้งใด 
แม้จักทำด้วยกำลังใจเต็มที่แล้ว 
ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมด 
เหตุอันใดแก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้ 

ยึดเอาธรรมดาเป็นที่ตั้ง แล้วจิตจักได้เป็นสุข สงบเยือกเย็นขึ้น"

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

จงอย่าลืมว่า เราคือจิต หรือจิตคือเรา 
จิตเป็นอมตะไม่เคยตาย 
ผู้ตายคือร่างกาย (ขันธ์ ๕) ที่จิตเราอาศัยอยู่ชั่วคราว 

ดังนั้นขันธโลก หรือร่างกาย จึงเป็นมหาสมุทรแห่งธรรม
เป็นจุดศูนย์กลางแห่งไตรลักษณ์ หรือเป็นตู้พระไตรปิฎก
ที่จิตเราจะต้องศึกษาหาความจริงให้พบ 
พบแล้วก็ต้องทำใจให้ยอมรับนับถือด้วย 

เนื่องจากจิตหลงยึดว่าร่างกายนี้ เป็นเรา-เป็นของเรา 
มานานแสนนาน เป็นอสงไขยกัปนับไม่ถ้วน 

เมื่อจิตมาพบความจริง จากพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์แล้ว
จะให้ทำใจไม่ให้เผลอยึด-เกาะ-ติดร่างกายได้ ก็ต้องใช้กำลังใจ
และเวลาสักระยะหนึ่งจึงจะทำได้

 

 

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม***

พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติ
ให้ผู้ปฏิบัติรู้ และเห็นความจริงว่า คน-สัตว์-วัตถุธาตุใดๆ ในโลก
เป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ยึดถืออะไรไม่ได้ จะเกิดเป็นทุกข์ 

หมายความว่าสิ่งที่เราเห็นอยู่ รู้อยู่ สัมผัสอยู่นั้น มันไม่ทรงตัว 
เป็นเพียงแค่ สภาวะธรรม เท่านั้น มันเคลื่อน หรือเปลี่ยนแปลง
ไปเรื่อยๆ เป็นสันตติ คือ เกิดดับๆ ๆ ติดต่อกันไปไม่ทรงตัว 
แต่อุปาทานไปติด-ยึดว่าเป็นตัวเป็นตน 

เพราะในที่สุดมันก็วิ่งไปหาตัวอนัตตา หรือตาย หรือสลายตัวไปในที่สุด 
เปลี่ยนสภาพ หรือเปลี่ยนสภาวะจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง 
เช่น บริโภคอาหารหลายชนิดเข้าทางปาก รุ่งขึ้นมันออกมา
เป็นอุจจาระ หรือขี้หมด แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นต้น 

ธรรมจุดนี้แหละที่เข้าใจได้ยากที่สุดในพุทธศาสนา 
เพราะไม่มีคน-ไม่มีสัตว์-ไม่วัตถุธาตุใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสมมุติธรรม 
เป็นเพียงแค่สภาวะธรรม ที่เคลื่อนไปเป็นสันตติ เป็นไตรลักษณ์ 

ทำให้มีผู้สงสัยกันมากว่า ในเมื่อไม่มีคน-ไม่มีสัตว์
แล้วทำไมจึงมีการเกิดการตายขึ้นได้เล่า 

ต้นเหตุก็อยู่ที่เขาไม่เข้าใจเรื่องกฎของกรรม ซึ่งเข้าใจยาก 
และยากที่จะเข้าใจ แม้จะเริ่มเข้าใจแล้ว แต่จิตเขายังไม่ยอมรับอยู่ด 

เพราะส่วนใหญ่เข้าใจว่าร่างกาย หรือขันธ์ ๕ เป็นเขา เป็นของเขา 
เขาไม่รู้ว่าตัวเรา คือจิต ที่มาอาศัยร่างกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น 
ร่างกายย่อมไม่พ้นความตายเป็นธรรมดา 

แต่จิตมันไม่ตาย จะต้องเป็นไปตามกรรมที่จิตตนกระทำกรรมเอาไว้ 
เมื่อยังไม่รู้ก็ต้องเกิด-ตาย ๆ กันต่อไปเป็นธรรมดา

 

 

***คำสอน สมเด็จองค์ปฐม*** 

สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาสอน อุบายการละสักกายทิฏฐิไว้ 
มีความสำคัญดังนี้

๑. ให้พิจารณาความไม่เที่ยงไว้เสมอๆ 
จักได้คลายความยึดมั่น ถือมั่น ลงได้ด้วยประการทั้งปวง

แม้จักละได้ยังไม่สนิท 
ก็บรรเทาสักกายทิฏฐิ ลงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

๒. อย่าลืม คำว่า "สักกายทิฏฐิ" มีเป็นขั้นๆ 
ตั้งแต่อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด

คือ ตั้งแต่ ปุถุชน มาสู่ พระโสดาบัน, 
พระสกิทาคามี, พระอนาคามี, พระอรหันต์ 

ล้วนแต่ละสักกายทิฏฐิในระดับนั้นๆ ทั้งสิ้น

๓. สาเหตุก็เนื่องจากการเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยง
จากการเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์
พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจเป็นทุกข์

ความโศรกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ 
แล้วในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ 

ต่างคนต่างปฏิบัติไป ก็เข้าสู่อริยสัจตามระดับจิตนั้นๆ
โดยเห็นความไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-เป็นโทษ

จึงพิจารณาสักกายทิฏฐิ 
เพื่อปลดเปลื้องความยึดมั่น ถือมั่น ในทุกข์นั้นลงเสีย

๔. อย่าลืมละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น 
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ

หากจิต หรือใจ ดีเสียอย่างเดียว 
กาย-วาจา ซึ่งเป็นบ่าวก็จักดีตามไปด้วย 

เดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทางแล้ว 
จักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย


 

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ มีความสำคัญดังนี้

๑. สังโยชน์ ๑๐ หรือกิเลสที่ร้อยรัดจิตเราไว้ ๑๐ ประการ ก็คือศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ ประการนั่นเอง ในการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ก็ออกจากง่ายไปหายาก คือเพียรปฏิบัติให้เกิดอธิศีลก่อน แล้วจึงมุ่งหาอธิจิต และอธิปัญญาตามลำดับ โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และในที่สุดก็อนัตตา ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น แล้ววกเข้าหาอริยสัจ ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ เป็นทุกขัง จิตยอมรับกฎของธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตก็สงบเป็นสุข จึงมีอุบายอยู่มากมายในการพิจารณา

๒. เช่น

ก) พิจารณาการสัมผัสกับอากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ให้เห็นตัวไม่เที่ยงทั้งของธรรมภายนอกและธรรมภายใน อากาศก็ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ก็ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ เพราะธรรมทุกอย่างเข้าสู่ไตรลักษณญาณทั้งสิ้น เกิดแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็สลายไปเป็นธรรมดา อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ อย่าสร้างอารมณ์ให้จิตเป็นทุกข์ยิ่งกว่านี้ แค่หนาวทุกข์เพียงร่างกายก็พอแล้ว อย่าได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ ให้เกิดอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจอยู่ในจิต

ข) ขณะนี้ในช่วงเย็น ทางวัดได้เปิดเทปคำสอนเก่า ๆ ของท่านฤๅษี ให้ได้ฟังเพื่อทบทวนกันอีกที ก็ให้ตั้งใจฟัง แล้วพิจารณาคำสอนเหล่านั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะเทปคำสอนสายตรงอย่างนี้ ยิ่งฟังก็ยิ่งได้กำไร ฟังแล้วพิจารณานำมาปฏิบัติยิ่งได้กำไรหลายเท่าตัว

ค) หลวงพ่อสอนมีความว่า เรามีร่างกายจะห้ามไม่ให้มันหิวก็ไม่ได้ ห้ามตาไม่ให้เห็นรูป ห้ามหูไม่ให้ได้ยินเสียงย่อมไม่ได้ ทางที่ถูกเราต้องห้ามใจ วิธีออกจากทุกข์ก็คือการปฏิบัติตัดสังโยชน์ ให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง และตัวไม่เที่ยงสำคัญที่สุด คือร่างกายที่ยังทรงชีวิตอยู่นี่ เห็นธรรมภายนอกแล้วย้อนเข้ามาหาธรรมภายใน เพื่อตัด สักกายทิฎฐิ คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ลงเสีย เพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดี ล้วนเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มาประชุมกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน พิจารณาจุดนี้อยู่เนืองๆ แล้วจักตัดราคะและปฏิฆะลงได้

ง) เรื่องทานบริจาค บุคคลใดเข้าถึงความไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำทานบริสุทธิ์ เรื่องนี้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจจักต้องศึกษากันอีกนาน และแม้แต่จักพูด ก็พูดได้แต่เฉพาะบางบุคคล สำหรับพวกที่มี ทิฎฐิ แรงพูดไม่ได้ เขายังไม่เข้าใจเรื่องเมตตา - กรุณาตนเองในพรหมวิหาร ๔ จึงทำทานเกินพอดี ทำทานจนตนเองเดือดร้อนก็ยังไม่เห็น แล้วยังเที่ยวหยิบยืมเงินผู้อื่นมาทำทานเป็นต้น นี่แหละคนล่ะ จงทำใจของเราให้ได้ว่าธรรมดาของคน ซึ่งแปลว่ายุ่ง มันก็เป็นอย่างนี้ จักได้ไม่ต้องกลับมาเกิดพบคนเจอคนอย่างนี้อีก

๓. อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นเรื่องของจิตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จงตั้งใจละความโกรธด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) จงอย่าท้อถอยคิดว่า กิเลสที่จรเข้ามาคือครูทดสอบอารมณ์ของจิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น พยายามเจริญวิปัสสนาให้มาก (เจริญพรหมวิหาร ๔) จักเห็นโทษของความโกรธได้ชัด แล้วจึงจักละซึ่งความโกรธได้

๔. การรับฟังคำสอนของหลวงปู่ไวย ก็ดี ของท่านฤๅษีก็ดี จากเสียงตามสายก็ดี ให้นำมาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มากๆ จักมีผลให้จิตเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป อนึ่ง เหตุผ่านไปแล้ว อย่าเอาจิตไปเกาะให้เศร้าหมอง ยกเหตุขึ้นมาพิจารณาเป็นบทเรียนสอนจิตได้ แต่อย่าเกาะพยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะคารมกับผู้อื่นเข้าไว้ เพราะขึ้นชื่อว่าไฟไม่มีใครอยากเอามาเผากาย เผาใจตน หรือขี้ก็ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ พยายามอย่าใส่ใจกับอารมณ์โกรธที่มาจากภายนอก พยายามใส่ใจและควบคุมระงับความโกรธที่อยู่ภายในให้มาก อย่าแก้บุคคลอื่น ให้มุ่งแก้ไขอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ

๕. พุทธานุสสติ อย่าทิ้งไปจากจิต ในเมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์โทสจริตยังเด่นอยู่ (อย่าทิ้งพระอย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ) และพยายามรู้ลมหายใจให้มาก รู้ภาพพระไปด้วย จักได้ช่วยระงับอารมณ์โทสะได้ และอย่าคิดว่าทำยาก ให้พยายามทำเข้าไว้ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น อย่าลืมจักไปพระนิพพานได้ ก็อยู่ที่จิตของเรานั้นต้องพยายามชนะความโกรธ - โลภ - หลง เตือนตนเองเอาไว้เสมอ ด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายนั้นเที่ยง อาจเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต พิจารณาจุดนี้ให้จิตยอมรับ จักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต



ให้ศึกษาอารมณ์จิต ที่ยังเกาะติดร่างกายให้มาก

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. ให้ศึกษาอารมณ์ของจิตที่เกาะติดร่างกายให้มาก จักเห็นความเกาะติดในทุกๆ อิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมา จนกระทั่งหลับนอนไปเลย นี่แหละคือการค้นคว้าหาตัว สักกายทิฎฐิ คนเราจักละหรือตัดมันได้ ก็ต้องรู้จักตัว สักกายทิฎฐิ จริงๆ ต้องเห็นศัตรูก่อนจึงจักกำจัดศัตรูได้ ข้อนี้ฉันใด การจักตัด สักกายทิฎฐิ ก็ฉันนั้น จึงต้องทำกันจริงๆ มิใช่ทำเล่นๆ ต้องอย่างจริงจัง แล้วหาเหตุหาผลในการละ หรือตัดกิเลสด้วยปัญญาจริงๆ แล้วผลที่ได้ก็จักจริงทุกอย่าง

๒. งานทางโลกไม่มีใครทำได้จบจริงๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณญาณ บุคคลใดยังข้องติดอยู่กับงานทางโลก จึงทำไปไม่รู้จักจบ งานทางโลกเป็นกิจที่ทำได้เฉพาะเมื่อมีขันธ์ ๕ เท่านั้น บุคคลผู้รู้คุณค่าของการมีขันธ์ ๕ ก็จักทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด มุ่งทำงานเพื่อเป็นที่เจริญของจิตด้วย ไม่เบียดเบียนตนเองทั้งกาย - วาจา - ใจด้วย สงเคราะห์ตนเองและผู้อื่น เท่าที่จักสงเคราะห์ได้ จิตก็จักเป็นสุข ทำงานทางโลกไปตามหน้าที่ โดยไม่เบียดเบียนและไม่ข้องติดอยู่ในหน้าที่นั้น ความรับผิดชอบนั้นมี ทำอย่างดีที่สุด ตามกำลังความสามารถจักทำได้ แต่จิตไม่เกาะติดให้เกิดความเศร้าหมองของจิต มีธรรมค้ำชูจิต ตายเมื่อไหร่ งานทางโลกก็เลิกกัน วางได้สนิท จิตไม่ติดห่วงใด ๆ ทั้งสิ้น เวลานี้จิตเจ้ายังห่วงทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม งานทางโลกกลัวจักทำไม่เสร็จ งานทางธรรมกิเลสก็ยังสิงใจหนาอยู่ กลัวทำไม่เสร็จเช่นกัน เพราะฉะนั้น จงพยายามตรวจสอบจิต อย่าให้คิดห่วงอะไร เพียรใช้ปัญญาปล่อยอารมณ์ห่วงนั้นให้ลุล่วงไป ตรวจสอบดูกันให้ดี แล้วจักเห็นจุดบกพร่องได้

๓. สิ่งใดเป็นอันตรายกับจิต เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส ก็พึงหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น และพยายามหาเหตุหาผลมา วางอารมณ์เกาะยึดโทสะ - โมหะ - ราคะ ให้คลายไปจากจิต ให้เห็นสภาพความโกรธ - ความรัก ความหลงตามความเป็นจริง อย่าไปอนุโลมตามกิเลสคำว่ารักมิใช่เพียงแต่หนุ่มสาว ให้ดูอารมณ์เกาะติดในรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัสด้วย ให้ครอบไปหมดทุกอายตนะสัมผัส อย่าไปใจอ่อนยอมแพ้กิเลส ค่อยๆ พิจารณาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง แล้วจิตจึงจักตัดวางอารมณ์ที่เกาะติดนั้นลงได้

๔. ให้สังเกตอารมณ์ของจิต ยิ่งตามรู้ลึกเข้าไป ยิ่งเห็นความละเอียดของกิเลสมาก อย่าพึงสนใจกับบุคคลอื่น ให้สนใจกับจิตของตนเองให้มาก เช่น การพูดกล่าวสอนธรรมให้คนอื่นยังเป็นของง่าย แต่ที่จักกล่าวสอนธรรมให้แก่จิตตนเองเป็นของยาก ที่เห็นๆได้ง่ายก็เรื่องการติดรูปและรสอาหาร เป็นต้น แม้จักรู้สึกเบื่อในการประกอบอาหาร แต่บางขณะพอกระทบกลิ่น - รสของอาหารเข้า จิตก็ยังมีความอยากบริโภคอาหารนั้น เรียกว่าเบื่อไม่จริง ยังมีราคะในอาหาร จุดนี้เป็นการยกให้เห็นแนวทางของการพิจารณาหาอริยสัจ และให้เห็นอารมณ์ทะยานอยากของจิต แต่การพิจารณานี้ให้เป็นแนวทางครอบคลุมไปทั่วทั้งรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ สุดแล้วแต่จิตของพวกเจ้าจักละเอียดขึ้นมาพิจารณาธรรมนั้นๆ ได้สักแค่ไหน

๕. สุขภาพไม่ดี ก็ให้หมั่นพิจารณาดูโทษของขันธ์ ๕ ที่สร้างทุกข์ให้กับจิตตลอดเวลา เมื่อเห็นสภาวะที่น่าเบื่อเยี่ยงนี้ จิตจักต้องหาพ้นไปอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ ๆ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย เป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอริยสัจ เป็นหนทางอันจักให้พ้นไปเสียได้จากร่างกาย พ้นเสียจากความเกิด มิใช่ให้ไปดูอื่นไกล ดูอาการของจิตที่เกาะติดยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่แหละเป็นสำคัญ สิ่งอื่นใดที่อยู่ภายนอกมิใช่หนทางพ้นทุกข์ให้พิจารณาให้ลึกซึ้ง ที่เราเกิดโทสะ - ราคะ - โมหะ หรือ โลภะ ก็เนื่องจากการที่จิตเกาะกายเป็นต้นเหตุนี่แหละ พิจารณาอนุโลม - ปฏิโลมให้ลึกซึ้ง แล้วจักเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง เรื่องนี้สำคัญมากไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ นอกเสียจากว่าเราต้องพยายามช่วยเหลือตนเอง

๖. ให้พิจารณาไตรลักษณ์ควบคู่กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง แล้วให้เห็นจิตที่ถูกอำนาจไตรลักษณ์ครอบงำ จิตตกอยู่ในกามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา เพราะไตรลักษณ์ครอบงำโดยละเอียด แล้วเจ้าจักเห็นทุกข์ - สมุทัย - นิโรธ - มรรค อยู่ที่จิตเจ้าที่เข้าใจนั้น สอบสวนค้นคว้าเข้าไปให้ลึกซึ้ง และอย่าลืมเห็นไตรลักษณ์แล้ว ให้หวนคิดไปถึงพระสูตรที่แสดงถึงพระ ๕๐๐ รูป ซึ่งเคยพิจารณาอนิจจะลักษณะมาหลายชาติ แต่มิอาจบรรลุธรรมอันที่จักหลุดพ้นจากอำนาจไตรลักษณ์ได้ มาถึงพุทธันดรนี้ พระทั้ง ๕๐๐ รูป ได้รับฟังคำสอนของสมเด็จองค์ปัจจุบัน แล้วไฉนจึงหลุดพ้นจากบ่วงไตรลักษณ์ได้ ให้พิจารณาจุดนี้โดยเอก ปริยายด้วย อนึ่งอย่าตั้งเป้าหมาย ไว้เพียงแต่อนาคามีผล ให้มุ่งหวังพระอรหัตผล ปฏิบัติควบคู่กันไปเลย

๗. อย่าทิ้งอานาปานัสสติกรรมฐาน ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตจักยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ให้เอาลมหายใจมาเตือนใจไว้เสมอว่า ชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจจักตายลงในปัจจุบันนี้ได้ตลอดเวลา เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มี มรณา ควบอุปสมานัสสติ ตลอดเวลา และอย่าลืมว่าจักเพียรละกิเลสจุดไหน กิเลสจุดนั้นจักเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก อย่างกำลังศึกษาอานาปาเป็นต้น ความอึดอัดขัดข้องก็จักเข้ามาเล่นงาน เช่น ถีนมิทธะเล่นงานอย่างหนัก จนไม่สามารถยกจิตขึ้นนิพพานได้ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ก็จักต้องใช้ความอดทนให้มากๆ และการพิจารณารูป - นามก็เช่นกัน รูป - นาม ก็จักแสดงอาการเป็นโทษให้เห็นอย่างชัดเจน พยายามอย่าปล่อยอารมณ์ให้เบื่อหน่ายมากเกินไป เพราะจักทำให้จิตหดหู่เศร้าหมอง จิตไม่ผ่องใส เพราะฉะนั้นจงพิจารณาลงตัวธรรมดาของรูป - นามเสียให้ได้

๘. พิษของนิวรณ์ตัวฟุ้งซ่านนั้นมีอยู่มากหลาย ให้ศึกษาจุดนี้ให้มากๆ ด้วย

๘.๑ จิตของคนเรา เมื่อมีเวลาละทิ้งหน้าที่การงานของกายในชั่วขณะหนึ่ง จุดนั้นกายวิเวกแล้ว

๘.๒ เมื่อเป็นเวลาว่างจากการสนทนากับบุคคลภายนอก นั่นเป็นวจีวิเวกแล้ว

๘.๓ เมื่อคุมอารมณ์มิให้ฟุ้งซ่านได้ นั่นเป็นมโนวิเวกแล้ว

และเมื่อเอาสติ - สัมปชัญญะมากำหนดรู้ในพระธรรมคำสั่งสอน เอโกธัมโมก็เกิด ทำให้จิตมีความเข้าใจในพระธรรม แม้จักเผลอฟุ้งซ่านไปบ้าง ก็มีสติ - สัมปชัญญะรู้ตัวเร็ว หักล้างอารมณ์นิวรณ์ให้สลายตัวไปได้ดีกว่าไม่รู้ตัวเสียเลย เมื่อทำเช่นนั้นจนสามารถรู้ตัวได้ว่า จิตสงบเป็นอย่างไร หมายถึงสงบโดยปราศจากอารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร และสามารถรู้ได้ว่าจิตมีกำลังพิจารณาวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างไร เมื่อนั้นจิตก็จักพบกับความสุขสงบเยือกเย็น รู้คุณ - รู้โทษของอารมณ์ที่จิตเสวยอยู่อย่างชัดเจน จุดนี้พึงศึกษาให้มาก

๙. จิตจักเจริญได้ ต้องอาศัยความเพียร เจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้จิตเป็นไปตามแบบปลาตายลอยน้ำ จักต้องรู้จักฝึกจิต ทรมานจิตให้คลายจากอารมณ์เกาะติดในรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัสให้ได้ นี่เป็นจุดต้น แต่ถ้าหากจักตัดให้เป็นอุกฤษฏ์ ก็คือสังวรจิต ฟอกอารมณ์หลงเอาไว้เสมอๆ (โดยขู่มันว่าหากตายตอนนี้เจ้าจะไปไหน) และอย่าลืมอย่าตั้งความหวังไว้แค่พระอนาคามี ให้ตั้งไว้ให้ได้พึงความเป็นพระอรหันต์ให้ได้ เพราะนั่นแหละจึงจักถึงซึ่งพระนิพพานได้ในปัจจุบัน ในการปฏิบัติจริงๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อน โดยเอาอธิศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อได้แล้ว สังโยชน์ ๔ - ๕ ไม่ต้องตัด ให้รวบรัดตัดอวิชชาข้อที่ ๑๐ ของสังโยชน์เลย เพราะในคนฉลาดที่มีบารมีเต็มหรือกำลังใจเต็ม ทรงให้ตัดข้อเดียวคือ สักกายทิฎฐิ ตัดโดยไม่มีอวิชชาครอบงำก็พ้นทุกข์ได้ อุบายที่ทรงพระเมตตาแนะนำวิธีเข้าสู่พระนิพพานแบบง่ายๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์ ๓ ข้อแรกแล้วก็คือ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน

++++++++++++++++++
(พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนมกราคม ๒๕๓๙)
วิธีออกจากทุกข์ คือการปฏิบัติตัดกิเลสตามสังโยชน์
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

 

คำสอน สมเด็จองค์ปฐม

"อย่าทำใจให้อึดอัด ฝึกหัดปล่อยวางเสียบ้าง จิตใจจักได้ไม่เครียด แล้วให้ถือว่ากรรมใครกรรมมัน อย่าไปแบกกรรมของบุคคลอื่น อย่าให้อารมณ์เบื่อครอบงำจิตใจให้มากจนเกินไป จงหมั่นลงกฎของธรรมดาให้มากจิตจักเป็นสุขและปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างมากขึ้น และมีปัญหาอะไรให้ใช้ความใจเย็นแก้ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง งานที่ทำอยู่ก็ไม่เที่ยงเช่นกัน ให้ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงเหล่านี้เอาไว้เสมอ จิตจักได้มีความสงบเยือกเย็น"

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๒
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

 

คนเราสร้างบุญมาไม่เท่ากัน ใครสั่งสมสร้างมายังไงก็ได้ผลอย่างนั้น ทานทำให้รวย ศีลทำให้สวย ภาวนาทำให้ฉลาด ในทางพระพุทธศาสนาคำว่า "บังเอิญไม่มี ดวงก็ไม่มี ฟลุ๊คก็ไม่มี" ทุกอย่างเป็นไปตามสิ่งที่เราทำมาแล้วทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจะโคจรมาเจอกันเมื่อไรก็เท่านั้นเอง

 

"อย่าเที่ยวแบกทุกข์ของผู้อื่น เรื่องของใครก็เรื่องของใคร จงอย่าเอาภาระของคนอื่นมาไว้ในใจ ปล่อยวางมันไปเสีย จิตจักมีความสุข ไม่วุ่นวายกับใครทั้งสิ้น ค่อยๆ ทำไป อย่าเร่งรัด"

 



 

                                 

รูปภาพ : ละเอียดแจ่มแจ้ง ใคร่ครวญและปฏิบัติตามนี้ได้เลยจ้ะ**************************************           สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ มีความสำคัญดังนี้          ๑. สังโยชน์ ๑๐ หรือกิเลสที่ร้อยรัดจิตเราไว้ ๑๐ ประการ ก็คือศีล-สมาธิ-ปัญญา ซึ่งย่อมาจากอริยมรรค ๘ ประการนั่นเอง ในการปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ก็ออกจากง่ายไปหายาก คือเพียรปฏิบัติให้เกิดอธิศีลก่อน แล้วจึงมุ่งหาอธิจิต และอธิปัญญาตามลำดับ โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และในที่สุดก็อนัตตา ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น แล้ววกเข้าหาอริยสัจ ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ เป็นทุกขัง จิตยอมรับกฎของธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตก็สงบเป็นสุข จึงมีอุบายอยู่มากมายในการพิจารณา          ๒. เช่น               ก) พิจารณาการสัมผัสกับอากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ให้เห็นตัวไม่เที่ยงทั้งของธรรมภายนอกและธรรมภายใน อากาศก็ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ก็ไม่เที่ยง ยึดถืออันใดมิได้ เพราะธรรมทุกอย่างเข้าสู่ไตรลักษณญาณทั้งสิ้น เกิดแล้วก็เสื่อม เสื่อมแล้วก็สลายไปเป็นธรรมดา อย่าเอาจิตไปปรุงแต่ง รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ อย่าสร้างอารมณ์ให้จิตเป็นทุกข์ยิ่งกว่านี้ แค่หนาวทุกข์เพียงร่างกายก็พอแล้ว อย่าได้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ ให้เกิดอารมณ์ขุ่นข้องหมองใจอยู่ในจิต               ข) ขณะนี้ในช่วงเย็น ทางวัดได้เปิดเทปคำสอนเก่า ๆ ของท่านฤๅษี ให้ได้ฟังเพื่อทบทวนกันอีกที ก็ให้ตั้งใจฟัง แล้วพิจารณาคำสอนเหล่านั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการเสริมการปฏิบัติให้ได้ผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะเทปคำสอนสายตรงอย่างนี้ ยิ่งฟังก็ยิ่งได้กำไร ฟังแล้วพิจารณานำมาปฏิบัติยิ่งได้กำไรหลายเท่าตัว               ค) หลวงพ่อสอนมีความว่า เรามีร่างกายจะห้ามไม่ให้มันหิวก็ไม่ได้ ห้ามตาไม่ให้เห็นรูป ห้ามหูไม่ให้ได้ยินเสียงย่อมไม่ได้ ทางที่ถูกเราต้องห้ามใจ วิธีออกจากทุกข์ก็คือการปฏิบัติตัดสังโยชน์ ให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง และตัวไม่เที่ยงสำคัญที่สุด คือร่างกายที่ยังทรงชีวิตอยู่นี่ เห็นธรรมภายนอกแล้วย้อนเข้ามาหาธรรมภายใน เพื่อตัด สักกายทิฎฐิ คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ลงเสีย เพราะคนก็ดี สัตว์ก็ดี ล้วนเป็นธาตุ ๔ มีอาการ ๓๒ มาประชุมกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน พิจารณาจุดนี้อยู่เนืองๆ แล้วจักตัดราคะและปฏิฆะลงได้               ง) เรื่องทานบริจาค บุคคลใดเข้าถึงความไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ผู้นั้นได้ชื่อว่าทำทานบริสุทธิ์ เรื่องนี้ผู้ที่ยังไม่เข้าใจจักต้องศึกษากันอีกนาน และแม้แต่จักพูด ก็พูดได้แต่เฉพาะบางบุคคล สำหรับพวกที่มี ทิฎฐิ แรงพูดไม่ได้ เขายังไม่เข้าใจเรื่องเมตตา - กรุณาตนเองในพรหมวิหาร ๔ จึงทำทานเกินพอดี ทำทานจนตนเองเดือดร้อนก็ยังไม่เห็น แล้วยังเที่ยวหยิบยืมเงินผู้อื่นมาทำทานเป็นต้น นี่แหละคนล่ะ จงทำใจของเราให้ได้ว่าธรรมดาของคน ซึ่งแปลว่ายุ่ง มันก็เป็นอย่างนี้ จักได้ไม่ต้องกลับมาเกิดพบคนเจอคนอย่างนี้อีก          ๓. อย่าหนีความโกรธ เพราะเป็นเรื่องของจิตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส จงตั้งใจละความโกรธด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา (กสิณ ๔ และพรหมวิหาร ๔) จงอย่าท้อถอยคิดว่า กิเลสที่จรเข้ามาคือครูทดสอบอารมณ์ของจิต จึงต้องแก้ที่จิตตน อย่าไปแก้ที่บุคคลอื่น พยายามเจริญวิปัสสนาให้มาก (เจริญพรหมวิหาร ๔) จักเห็นโทษของความโกรธได้ชัด แล้วจึงจักละซึ่งความโกรธได้          ๔. การรับฟังคำสอนของหลวงปู่ไวย ก็ดี ของท่านฤๅษีก็ดี จากเสียงตามสายก็ดี ให้นำมาคิดพิจารณาไตร่ตรองให้มากๆ จักมีผลให้จิตเจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป อนึ่ง เหตุผ่านไปแล้ว อย่าเอาจิตไปเกาะให้เศร้าหมอง ยกเหตุขึ้นมาพิจารณาเป็นบทเรียนสอนจิตได้ แต่อย่าเกาะพยายามอยู่ในธรรมปัจจุบันให้มาก พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะคารมกับผู้อื่นเข้าไว้ เพราะขึ้นชื่อว่าไฟไม่มีใครอยากเอามาเผากาย เผาใจตน หรือขี้ก็ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ พยายามอย่าใส่ใจกับอารมณ์โกรธที่มาจากภายนอก พยายามใส่ใจและควบคุมระงับความโกรธที่อยู่ภายในให้มาก อย่าแก้บุคคลอื่น ให้มุ่งแก้ไขอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ          ๕. พุทธานุสสติ อย่าทิ้งไปจากจิต ในเมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์โทสจริตยังเด่นอยู่ (อย่าทิ้งพระอย่าไปไหนคนเดียว อย่าอยู่คนเดียว ให้อยู่กับพระ) และพยายามรู้ลมหายใจให้มาก รู้ภาพพระไปด้วย จักได้ช่วยระงับอารมณ์โทสะได้ และอย่าคิดว่าทำยาก ให้พยายามทำเข้าไว้ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น อย่าลืมจักไปพระนิพพานได้ ก็อยู่ที่จิตของเรานั้นต้องพยายามชนะความโกรธ - โลภ - หลง เตือนตนเองเอาไว้เสมอ ด้วยความไม่ประมาท เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายนั้นเที่ยง อาจเกิดกับเราได้ทุกขณะจิต พิจารณาจุดนี้ให้จิตยอมรับ จักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต ให้ศึกษาอารมณ์จิต ที่ยังเกาะติดร่างกายให้มาก          สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้          ๑. ให้ศึกษาอารมณ์ของจิตที่เกาะติดร่างกายให้มาก จักเห็นความเกาะติดในทุกๆ อิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นลืมตาขึ้นมา จนกระทั่งหลับนอนไปเลย นี่แหละคือการค้นคว้าหาตัว สักกายทิฎฐิ คนเราจักละหรือตัดมันได้ ก็ต้องรู้จักตัว สักกายทิฎฐิ จริงๆ ต้องเห็นศัตรูก่อนจึงจักกำจัดศัตรูได้ ข้อนี้ฉันใด การจักตัด สักกายทิฎฐิ ก็ฉันนั้น จึงต้องทำกันจริงๆ มิใช่ทำเล่นๆ ต้องอย่างจริงจัง แล้วหาเหตุหาผลในการละ หรือตัดกิเลสด้วยปัญญาจริงๆ แล้วผลที่ได้ก็จักจริงทุกอย่าง          ๒. งานทางโลกไม่มีใครทำได้จบจริงๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณญาณ บุคคลใดยังข้องติดอยู่กับงานทางโลก จึงทำไปไม่รู้จักจบ งานทางโลกเป็นกิจที่ทำได้เฉพาะเมื่อมีขันธ์ ๕ เท่านั้น บุคคลผู้รู้คุณค่าของการมีขันธ์ ๕ ก็จักทำหน้าที่อย่างชาญฉลาด มุ่งทำงานเพื่อเป็นที่เจริญของจิตด้วย ไม่เบียดเบียนตนเองทั้งกาย - วาจา - ใจด้วย สงเคราะห์ตนเองและผู้อื่น เท่าที่จักสงเคราะห์ได้ จิตก็จักเป็นสุข ทำงานทางโลกไปตามหน้าที่ โดยไม่เบียดเบียนและไม่ข้องติดอยู่ในหน้าที่นั้น ความรับผิดชอบนั้นมี ทำอย่างดีที่สุด ตามกำลังความสามารถจักทำได้ แต่จิตไม่เกาะติดให้เกิดความเศร้าหมองของจิต มีธรรมค้ำชูจิต ตายเมื่อไหร่ งานทางโลกก็เลิกกัน วางได้สนิท จิตไม่ติดห่วงใด ๆ ทั้งสิ้น เวลานี้จิตเจ้ายังห่วงทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม งานทางโลกกลัวจักทำไม่เสร็จ งานทางธรรมกิเลสก็ยังสิงใจหนาอยู่ กลัวทำไม่เสร็จเช่นกัน เพราะฉะนั้น จงพยายามตรวจสอบจิต อย่าให้คิดห่วงอะไร เพียรใช้ปัญญาปล่อยอารมณ์ห่วงนั้นให้ลุล่วงไป ตรวจสอบดูกันให้ดี แล้วจักเห็นจุดบกพร่องได้          ๓. สิ่งใดเป็นอันตรายกับจิต เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส ก็พึงหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น และพยายามหาเหตุหาผลมา วางอารมณ์เกาะยึดโทสะ - โมหะ - ราคะ ให้คลายไปจากจิต ให้เห็นสภาพความโกรธ - ความรัก ความหลงตามความเป็นจริง อย่าไปอนุโลมตามกิเลสคำว่ารักมิใช่เพียงแต่หนุ่มสาว ให้ดูอารมณ์เกาะติดในรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัสด้วย ให้ครอบไปหมดทุกอายตนะสัมผัส อย่าไปใจอ่อนยอมแพ้กิเลส ค่อยๆ พิจารณาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง แล้วจิตจึงจักตัดวางอารมณ์ที่เกาะติดนั้นลงได้          ๔. ให้สังเกตอารมณ์ของจิต ยิ่งตามรู้ลึกเข้าไป ยิ่งเห็นความละเอียดของกิเลสมาก อย่าพึงสนใจกับบุคคลอื่น ให้สนใจกับจิตของตนเองให้มาก เช่น การพูดกล่าวสอนธรรมให้คนอื่นยังเป็นของง่าย แต่ที่จักกล่าวสอนธรรมให้แก่จิตตนเองเป็นของยาก ที่เห็นๆได้ง่ายก็เรื่องการติดรูปและรสอาหาร เป็นต้น แม้จักรู้สึกเบื่อในการประกอบอาหาร แต่บางขณะพอกระทบกลิ่น - รสของอาหารเข้า จิตก็ยังมีความอยากบริโภคอาหารนั้น เรียกว่าเบื่อไม่จริง ยังมีราคะในอาหาร จุดนี้เป็นการยกให้เห็นแนวทางของการพิจารณาหาอริยสัจ และให้เห็นอารมณ์ทะยานอยากของจิต แต่การพิจารณานี้ให้เป็นแนวทางครอบคลุมไปทั่วทั้งรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัส - ธรรมารมณ์ สุดแล้วแต่จิตของพวกเจ้าจักละเอียดขึ้นมาพิจารณาธรรมนั้นๆ ได้สักแค่ไหน          ๕. สุขภาพไม่ดี ก็ให้หมั่นพิจารณาดูโทษของขันธ์ ๕ ที่สร้างทุกข์ให้กับจิตตลอดเวลา เมื่อเห็นสภาวะที่น่าเบื่อเยี่ยงนี้ จิตจักต้องหาพ้นไปอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาร่างกายอยู่เสมอ ๆ เป็นอุบายไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย เป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นอริยสัจ เป็นหนทางอันจักให้พ้นไปเสียได้จากร่างกาย พ้นเสียจากความเกิด มิใช่ให้ไปดูอื่นไกล ดูอาการของจิตที่เกาะติดยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ว่าเป็นเรา เป็นของเรานี่แหละเป็นสำคัญ สิ่งอื่นใดที่อยู่ภายนอกมิใช่หนทางพ้นทุกข์ให้พิจารณาให้ลึกซึ้ง ที่เราเกิดโทสะ - ราคะ - โมหะ หรือ โลภะ ก็เนื่องจากการที่จิตเกาะกายเป็นต้นเหตุนี่แหละ พิจารณาอนุโลม - ปฏิโลมให้ลึกซึ้ง แล้วจักเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง เรื่องนี้สำคัญมากไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ นอกเสียจากว่าเราต้องพยายามช่วยเหลือตนเอง          ๖. ให้พิจารณาไตรลักษณ์ควบคู่กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง แล้วให้เห็นจิตที่ถูกอำนาจไตรลักษณ์ครอบงำ จิตตกอยู่ในกามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา เพราะไตรลักษณ์ครอบงำโดยละเอียด แล้วเจ้าจักเห็นทุกข์ - สมุทัย - นิโรธ - มรรค อยู่ที่จิตเจ้าที่เข้าใจนั้น สอบสวนค้นคว้าเข้าไปให้ลึกซึ้ง และอย่าลืมเห็นไตรลักษณ์แล้ว ให้หวนคิดไปถึงพระสูตรที่แสดงถึงพระ ๕๐๐ รูป ซึ่งเคยพิจารณาอนิจจะลักษณะมาหลายชาติ แต่มิอาจบรรลุธรรมอันที่จักหลุดพ้นจากอำนาจไตรลักษณ์ได้ มาถึงพุทธันดรนี้ พระทั้ง ๕๐๐ รูป ได้รับฟังคำสอนของสมเด็จองค์ปัจจุบัน แล้วไฉนจึงหลุดพ้นจากบ่วงไตรลักษณ์ได้ ให้พิจารณาจุดนี้โดยเอก ปริยายด้วย อนึ่งอย่าตั้งเป้าหมาย ไว้เพียงแต่อนาคามีผล ให้มุ่งหวังพระอรหัตผล ปฏิบัติควบคู่กันไปเลย          ๗. อย่าทิ้งอานาปานัสสติกรรมฐาน ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่ จิตจักยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น ให้เอาลมหายใจมาเตือนใจไว้เสมอว่า ชีวิตนี้มันไม่เที่ยง อาจจักตายลงในปัจจุบันนี้ได้ตลอดเวลา เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มี มรณา ควบอุปสมานัสสติ ตลอดเวลา และอย่าลืมว่าจักเพียรละกิเลสจุดไหน กิเลสจุดนั้นจักเข้ามาทดสอบจิตอย่างหนัก อย่างกำลังศึกษาอานาปาเป็นต้น ความอึดอัดขัดข้องก็จักเข้ามาเล่นงาน เช่น ถีนมิทธะเล่นงานอย่างหนัก จนไม่สามารถยกจิตขึ้นนิพพานได้ เพราะฉะนั้นการต่อสู้ก็จักต้องใช้ความอดทนให้มากๆ และการพิจารณารูป - นามก็เช่นกัน รูป - นาม ก็จักแสดงอาการเป็นโทษให้เห็นอย่างชัดเจน พยายามอย่าปล่อยอารมณ์ให้เบื่อหน่ายมากเกินไป เพราะจักทำให้จิตหดหู่เศร้าหมอง จิตไม่ผ่องใส เพราะฉะนั้นจงพิจารณาลงตัวธรรมดาของรูป - นามเสียให้ได้          ๘. พิษของนิวรณ์ตัวฟุ้งซ่านนั้นมีอยู่มากหลาย ให้ศึกษาจุดนี้ให้มากๆ ด้วย               ๘.๑ จิตของคนเรา เมื่อมีเวลาละทิ้งหน้าที่การงานของกายในชั่วขณะหนึ่ง จุดนั้นกายวิเวกแล้ว               ๘.๒ เมื่อเป็นเวลาว่างจากการสนทนากับบุคคลภายนอก นั่นเป็นวจีวิเวกแล้ว               ๘.๓ เมื่อคุมอารมณ์มิให้ฟุ้งซ่านได้ นั่นเป็นมโนวิเวกแล้ว          และเมื่อเอาสติ - สัมปชัญญะมากำหนดรู้ในพระธรรมคำสั่งสอน เอโกธัมโมก็เกิด ทำให้จิตมีความเข้าใจในพระธรรม แม้จักเผลอฟุ้งซ่านไปบ้าง ก็มีสติ - สัมปชัญญะรู้ตัวเร็ว หักล้างอารมณ์นิวรณ์ให้สลายตัวไปได้ดีกว่าไม่รู้ตัวเสียเลย เมื่อทำเช่นนั้นจนสามารถรู้ตัวได้ว่า จิตสงบเป็นอย่างไร หมายถึงสงบโดยปราศจากอารมณ์ฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร และสามารถรู้ได้ว่าจิตมีกำลังพิจารณาวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างไร เมื่อนั้นจิตก็จักพบกับความสุขสงบเยือกเย็น รู้คุณ - รู้โทษของอารมณ์ที่จิตเสวยอยู่อย่างชัดเจน จุดนี้พึงศึกษาให้มาก          ๙. จิตจักเจริญได้ ต้องอาศัยความเพียร เจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้จิตเป็นไปตามแบบปลาตายลอยน้ำ จักต้องรู้จักฝึกจิต ทรมานจิตให้คลายจากอารมณ์เกาะติดในรูป - รส - กลิ่น - เสียง - สัมผัสให้ได้ นี่เป็นจุดต้น แต่ถ้าหากจักตัดให้เป็นอุกฤษฏ์ ก็คือสังวรจิต ฟอกอารมณ์หลงเอาไว้เสมอๆ (โดยขู่มันว่าหากตายตอนนี้เจ้าจะไปไหน) และอย่าลืมอย่าตั้งความหวังไว้แค่พระอนาคามี ให้ตั้งไว้ให้ได้พึงความเป็นพระอรหันต์ให้ได้ เพราะนั่นแหละจึงจักถึงซึ่งพระนิพพานได้ในปัจจุบัน ในการปฏิบัติจริงๆ แล้ว ให้ตัดสังโยชน์ ๓ ให้ได้ก่อน โดยเอาอธิศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อได้แล้ว สังโยชน์ ๔ - ๕ ไม่ต้องตัด ให้รวบรัดตัดอวิชชาข้อที่ ๑๐ ของสังโยชน์เลย เพราะในคนฉลาดที่มีบารมีเต็มหรือกำลังใจเต็ม ทรงให้ตัดข้อเดียวคือ สักกายทิฎฐิ ตัดโดยไม่มีอวิชชาครอบงำก็พ้นทุกข์ได้ อุบายที่ทรงพระเมตตาแนะนำวิธีเข้าสู่พระนิพพานแบบง่ายๆ สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานได้สังโยชน์ ๓ ข้อแรกแล้วก็คือ รู้ลม - รู้ตาย - รู้นิพพาน++++++++++++++++++(พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนมกราคม ๒๕๓๙)วิธีออกจากทุกข์ คือการปฏิบัติตัดกิเลสตามสังโยชน์รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

แก้ไขล่าสุด (วันอาทิตย์ที่ 09 มีนาคม 2014 เวลา 02:58 น.)