วันอาสาฬหบูชา 2568 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
วันอาสาฬหบูชา 2568
ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และธรรมเนียมปฏิบัติ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2568
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
2. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงได้พระสาวกองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก
3. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ภายหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ยกขึ้นเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
4. เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ มิใช่เพียงแค่ตรัสรู้ธรรมเพียงพระองค์เดียวอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้า
ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชานั้น
เริ่มต้นจากในครั้งพุทธกาล หลังจากพระศาสดาตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน 6 แล้วทรงเสวยวิมุตติสุข คือ ความสุขจากการหลุดพ้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์ หลังจากนั้นทรงพระปริวิตกว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก หมู่สัตว์ที่ยังมีกิเลสหนายากที่จะรู้เห็นตามได้ ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความปริวิตกของพระองค์ จึงมาทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในจักษุน้อยยังมีอยู่
วันอาสาฬหบูชา
ท้าวสหัมบดีพรหมมาทูลอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ผู้ยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภพสาม จึงทรงตรวจดูหมู่สัตว์ด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่มีกิเลสน้อยก็มี มีกิเลสมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่สอนง่ายก็มี สอนยากก็มี เหมือนดอกบัวที่เกิดและเจริญเติบโตในน้ำ บางพวกก็อยู่ในน้ำลึก บางพวกก็อยู่เสมอน้ำ บางพวกก็พ้นจากน้ำแล้ว คือ บางจำพวกยังไม่พร้อมที่จะบาน บางจำพวกก็พร้อมที่จะบาน เช่นเดียวกันกับหมู่สัตว์ที่พอสอนได้ก็มีอยู่ จึงทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม
เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมกลับไปสู่พรหมโลกแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงดำริว่า “เราจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ใครจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว” ทรงดำริต่อว่า “อาฬารดาบสและอุทกดาบส เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีกิเลสเบาบางมานาน หากได้ฟังธรรมก็จะพึงรู้ทั่วถึงธรรมได้เร็ว เราควรแสดงธรรมแก่ท่านทั้งสองก่อน” / ประวัติวันอาสาฬหบูชา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาบุคคลที่จะรองรับธรรม คืออาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ดาบสทั้งสองได้สิ้นชีพเสียแล้ว
เทวดาตนหนึ่งทราบพระดำริของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงอันตรธานจากวิมานมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดาบสทั้งสองนั้นได้สิ้นชีวิตแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูก็ทรงทราบว่า ดาบสทั้งสองนั้นสิ้นชีพแล้ว จึงทรงดำริว่า “พระดาบสทั้งสองเป็นผู้ประสบความเสื่อมอย่างใหญ่แล้ว เพราะถ้าเขาได้ฟังธรรมก็จะพึงรู้ได้ตลอดทั้งหมดโดยฉับพลัน” ครั้นแล้ว จึงทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้มีอุปการะแก่พระองค์มาก ได้ตามมาอุปัฏฐากเมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ จึงเสด็จไปโปรด ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ประวัติวันอาสาฬหบูชา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้มีอุปการะแก่พระองค์มาก
ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงได้นัดหมายกันและกันว่า “ท่านทั้งหลาย พระสมณโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตร จีวร ของพระองค์ เพียงแต่วางอาสนะไว้ก็พอ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จะประทับนั่ง”
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึง ด้วยพุทธานุภาพจึงทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตร จีวร ของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งวางตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปัญจวัคคีย์จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท หลังจากดูแลต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พวกปัญจวัคคีย์ได้เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยระบุพระนาม และใช้คำว่า “อาวุโส”
เมื่อพวกปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสห้ามเหล่าปัญจวัคคีย์ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า อาวุโส ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พวกท่านจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกท่านปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เหล่าปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “อาวุโสโคดม ที่ผ่านมานั้นท่านได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด แต่ก็ยังไม่อาจบรรลุธรรมอันประเสริฐ ก็บัดนี้ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เล่า”
เมื่อพวกปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกท่านจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกท่านปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสต่อไปอีกว่า “ดูก่อนท่านทั้งหลาย ถ้อยคำเช่นนี้เราไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน เราเพิ่งพูดในบัดนี้เท่านั้น” / ประวัติวันอาสาฬหบูชา
พวกปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังถ้อยคำยืนยันอย่างหนักแน่น จึงยินยอมเชื่อฟังและตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ตรัสถึงข้อปฏิบัติ 2 อย่างที่บรรพชิตไม่พึงปฏิบัติ ได้แก่
1. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
2. การทรมานตนเองให้ลำบาก สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วันอาสาฬหบูชาเป็นการเกิดขึ้นของพระสงฆ์รูปแรก ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาปัตติผล
และทรงยกย่องทางสายกลาง คือ ข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 และ อริยสัจ 4 จบพระธรรมเทศนา ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาปัตติผล เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ด้วยเหตุนี้เอง พระรัตนตรัยจึงได้บังเกิดขึ้นครบถ้วนเป็นครั้งแรก
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระรัตนตรัยครบทั้ง 3 ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว บรรดาเทวดาทั่วทุกชั้นฟ้าก็บันลือเสียง ตั้งแต่ภุมมเทวาไปจนถึงชั้นพรหมโลกต่างชื่นชมอนุโมทนา ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุได้ไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ก็สว่างรุ่งเรืองไปทั่ว เพราะอานุภาพของเหล่าเทวดา
เมื่อเราได้ทราบประวัติความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาแล้ว พวกเราชาวพุทธทุกคนจึงควรทำจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย และตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในโดยเร็ว ประเพณีนิยมในวันอาสาฬหบูชา
ปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
การที่ปฐมเทศนานี้ได้รับการขนานนามว่าธัมมจักกัปปวัตนสูตรดังกล่าว ก็เนื่องด้วยปฐมเทศนานี้เปรียบประดุจธรรมราชรถ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะใช้บรรทุกสรรพเวไนยสัตว์ทั้งหลายออกจากห้วงวัฏสงสารไปสู่แดนเกษม คือพระอมตนิพพาน โดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นสารถี ส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้รถแล่นไปสู่ที่หมายก็คือ ล้อรถหรือที่เรียกว่า จักร นั่นเ อง ดังนั้น ล้อแห่งธรรมราชรถจึงได้ชื่อว่า จักรธรรม หรือ ธรรมจักร
ตามธรรมดา “ล้อ” หรือ “จักร” ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือดุม กำ และ กง ส่วน “จักรธรรม” นี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบโพธิปักขิยธรรมเป็นดุม ปฏิจจสมุปบาทธรรมเป็นกำ และอริยสัจ 4 เป็นกง
สาระสำคัญของธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้ คือ การประกาศทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ไม่เอียงไปทางกามสุขัลลิกานุโยค อันเป็นการประกอบตนแสวงหาความสุขจากกามคุณทั้ง 5 และไม่เอียงไปทางอัตตกิลมถานุโยคอันเป็นการทรมานตนโดยหาประโยชน์มิได้ ซึ่งข้อปฏิบัติทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดีเพื่อความดับตัณหา เพื่อพ้นไปจากข้าศึก คือ กิเลส เป็นทางของพระอริยเจ้าผู้ละจากสภาวะฆราวาสออกบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้วพึงปฏิบัติตามหนทางสายกลางนี้เท่านั้น ซึ่งมัชฌิมาปฏิปทานี้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มัชฌิมาปฏิปทานี้เป็นแนวปฏิบัติอันเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็น พระสัพพัญญูพุทธเจ้า และทำให้ประจักษ์แจ้งในอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย
1. ทุกขอริยสัจ คือ ทุกข์อย่างแท้จริง
2. ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง
แก้ไขล่าสุด (วันเสาร์ที่ 05 กรกฏาคม 2025 เวลา 07:20 น.)
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดเป็นทางอันประเสริฐ สามารถทำให้บุคคลเดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุหรือใครๆก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดนี้อยู่ โลกก็จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์”
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค *โน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง - สัมมาทิฏฐิ - สัมมาสังกัปโป - สัมมาวาจา - สัมมากัมมันโต - สัมมาอาชีโว
- สัมมาสะติ - สัมมาสะมาธิ ฯ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง - ชาติปิ ทุกขา - ชะราปิ ทุกขา - มะระณัมปิ ทุกขัง - โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา - อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข - ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข - ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง - สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ 'ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ' ฯ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง 'เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ' ฯ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระ*ง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัต*ง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง 'เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ' ฯ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ 'อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ' ฯ อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ 'อัญญาโกณทัญโญ' เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ .......................................................................................... |
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ
..........................................................................................................
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ฟัง) เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์[3] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
เนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยสรุปมีดังนี้
(ฟัง
![]() |
|
![]() |
— ธัมมจักกัปปวัตนสูตร |
กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง
- ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" คือการหมกมุ่นอยู่ในกามศก และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์
- มัชฌิมาปฏิปทา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
- อริยสัจสี่ คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
ส่วนที่สุดสองอย่าง
ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
- การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
- การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ปฏิปทาทางสายกลาง
ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด คือ
- ปัญญาเห็นชอบ ()สัมมาทิฏฐิ
- ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
- เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
- การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
- เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
- พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)
- ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
- ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)
อริยสัจสี่
อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ
- ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
- ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
- ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
- ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด
- อริยสัจสี่นี้
- ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้.
- ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย
- ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
- ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ
- วันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
-
พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไป -
พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคียทั้ง๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปัจจุบันนั่นเอง เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุดทั้ง ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ความจริงของอริยะ หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ(ญาณชนิดตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระศาสนา เรียกว่าเป็น ปฐมสาวกธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ปฐมเทศนา
แสดงธรรมเป็นครั้งแรกในโลก แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
(จาก พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละคือ
ปัญญาอันเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ๑,
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) ๑,
เจรจาชอบ(สัมมาวาจา) ๑,
กระทำชอบ(สัมมากัมมันตะ) ๑,
เลี้ยงชีวิตชอบ(สัมมาอาชีวะ) ๑,
พยายามชอบ(สัมมาวายามะ) ๑,
ระลึกชอบ(สัมมาสติ) ๑,
ตั้งจิตชอบ(สัมมาสมาธิ) ๑
ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่า
ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น. (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)
[๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.
ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ สงสัยได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.
วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.
ท่านทั้งสองได้เห็น ธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว
ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เป็นลำดับต่อไป
จนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สำเร็จพระอรหัตถผล
-
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.
-
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 28 มิถุนายน 2017 เวลา 09:48 น.)
ของจริงโดยสมมุติกับของจริงโดยปรมัตถ์
เรื่องของจริงสองประการ
นะโมตัสสะ ภควะโต อรหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
ของจริงโดยปรมัตถ์กับของจริงโดยสมมุติ
ผู้ปฏิบัติธรรม คงต้องเป็นคนมีตา ๒ ตา
ตา ๒ ตา คือตานอกกับตาใน ตานอก
มี๒.ตาจริงอยู่ คือตานอกกับตาใน
แต่ตาในนั้นมี มันก็ไม่รู้อะไร. คือไม่รู้ตามความเป็นจริง ตาในคือตาปัญญา หรือเรียกว่าปัญญาจักขุ คือสามารถที่จะมองเห็นสิ่งที่.กำบังได้ โดยไม่ต้องใช้แสงสว่าง ภายนอก ตาปัญญา เป็นตาที่จะมองเห็น ซึ่งของจริงเช่นเห็นทุกข์..เป็นต้น ก็เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวข้างต้นว่า .เมื่อคนผู้ไม่มีตาใน ก็ไม่อาจจะรู้ตามความเป็นจริงได้ ก็ย่อมจะสิ้นทุกข์ไม่ได้ ของจริง ต้องรู้ว่าของจริงนั้น ว่ามีอะไรบ้าง ของจริงนั้นก็คือของสมมุติ กับของปรมัตถ์ ของสมมุติ ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ คือเป็นสิ่งที่สมมุติกัน ของสมมุติที่สมมุติกัน ก็เป็นของผิวๆเผินๆ คือมีอยู่ ๒ อย่าง.เราสมมุติโดยว่า เป็นสิ่งที่เรียกร้อง สิ่งที่เรียกร้องหรือเป็นเครื่องหมาย. สิ่งที่เรียกร้องเป็นต้นว่า คนนั้นสมมุติชื่ออย่างนั้น คนนี้ชื่ออย่างนี้ คนนั้นเป็นหญิง คนนี้เป็นชาย คนนั้นเป็นคนบ้าน คนนี้เป็นคนวัด หรือคนโน้นเป็นคนครองเรือน คนนี้เป็นตุ๊เจ้า ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย อย่างนี้เป็นต้น คือเป็นของสมมุติ ของสมมุตินี้ก็คือ ไม่ใช่เป็นของจริง โดยสมมุติ เป็นที่รู้กันอยู่ในโลกนี้ คือในโลกนี้เป็นที่รู้กันทั่วโลก ถ้าไม่เรียนรู้ก็จะไม่ใช่คน หรือไม่ใช่มนุษย์ จะเอาปากมา หรือเอา เสียงมาพูดกันทำไม .ก็เพราะฉะนั้น มนุษย์เรา ซึ่งแตกต่างกันจากสัตว์อื่นเหล่าอื่น ที่พูดไม่ได้ สัตว์ที่พูดไม่ได้ ก็สู้มนุษย์ไม่ได้ ที่ไม่รู้ มนุษย์ก็ได้เรียนรู้สิ่งสมมุติ อะไรต่ออะไรต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโลกนี้ มนุษย์เราจึงมีความรู้มาก ดีกว่าสัตว์ได้เปรียบกว่าสัตว์ทั้งหลาย ที่พูดไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ได้ การเรียนหนังสือ เราก็เรียนรู้เรื่องสมมุติ ก็เพื่อว่า รู้ความจริงที่เป็นตัวหนังสือนั้น....แล้วเราก็นำเอาไปใช้ให้ถูกต้อง เพื่อจะเป็นเครื่องรู้กันในโลกนี้...หรือก็แทนคำพูด ก็เพื่อความสะดวก ความสบาย หรือหนังสือมันก็แทนคำพูด คำพูดก็แทนความหมาย ความรู้สึก ก็เพราะฉะนั้นเรื่องสมมุติ เป็นของจริงประการหนึ่ง ที่รู้กันในโลกนี้ ผู้ที่รู้จริง ก็คือรู้สมมุติในโลกนี้ประการแรก แต่การรู้ประการแรก คือสมมุติว่าเป็นของจริง แต่ของไม่จริงนั้น ของไม่จริงยังมีอยู่ คือของไม่จริงนี้ ก็ต้องเรียนรู้เหมือนกัน สมมุติข้างนอกนี้ ที่กล่าวมานี้ ๒ อย่าง สมมุติโดยนี่ สมมุติโดยชื่อสมมุติในความหมาย ก็สมมุติความจริง..อันนี้ก็คือสมมุติ ทั้งนั้น แล้วก็สมมุติอีกประการหนึ่งคือ สมมุติโดยปรมัตถ์ ของจริงโดยปรมัตถ์ เท่าที่กล่าวมาแล้ว เป็นของจริงโดยสมมุติ แล้วก็ของจริงโดยปรมัตถ์ นั้นคือเหนือกว่าสมมุติ คืออันนี้เกิดขึ้นจากตาใน คือตาปัญญา ตาปัญญานั้นนะ ก็ต้องมองเห็นสิ่งที่ เหนือไปจากสมมุติภายนอก..ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือมองเห็นเป็นธาตุ มองให้เห็นเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ คือไม่ใช่คนนั้น ไม่ใช่คนนี้ ไม่ใช่เป็นหญิง ไม่ใช่เป็นชาย ไม่มีขี้ข้า ไม่มีเจ้านาย คือว่าตัดไม่มี.อะไรสำคัญมั่นหมายทั้งนั้น คือ ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างในโลกนี้เป็นของ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็ตายไป เห็น เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็ว่างเปล่าไป .ไม่มีตัวตนอะไร ไม่มีเป็นของใคร เป็นของใคร ไม่มีตนของเรา ไม่มีตนของเขา อันนี้เรียกว่าของจริงโดย ปรมัตถ์ของจริงโดย ปรมัตถ์นี้ เกิดขึ้นจากตาปัญญา เป็นเหตุให้ทิ้งเสียซึ่งความ..หลงใหล ความมัวเมา ความเป็นตัวตน ก็จะปราศจากความ โลภ ความโกรธ ความหลง กิเลสทั้งหลายก็.หมดไป.ถ้าเห็นของจริง โดยความเป็นปรมัตถ์ ที่ได้กล่าวมานี้คือ ไม่ยึดถือเป็นตัวตนแล้ว มันก็ไม่มี โลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง ไม่ว่าเขา จะมาว่าเรา เราก็ไม่มี คือตัวเราที่จะมารับ.ไม่มีเขาจะด่าเรา เขาจะตีเรา เขาจะฆ่าเรา อะไรเหล่านี้ก็ไม่มี เพราะว่าตัวเราไม่มี มันก็ไม่มีความทุกข์ ที่ว่าไม่มี ก็คือหมายความว่า การไม่ยึดถือนั่นเอง เพราะรู้ตามความเป็นจริงว่า ตัวตนจริงๆนั้น ในสมมุตินี้มันไม่มี มันเป็นของว่างเปล่า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือเป็นแต่เพียง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ผสมกัน แล้วก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขาทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจะมีคนมาตี มาฆ่าอย่างนี้ก็.จะเห็นว่าเขาไม่ได้ตีเรา เขาไม่ได้ฆ่าเราเพราะ เรานั้นไม่มีในกองธาตุนั้นเหมือนกับว่า เขาเอามีดมาฟันท่อนไม้ ตอไม้นั้นก็ไม่ร้อง ต้นไม้นั้นก็ไม่หนี ต้นไม้นั้นก็ไม่ว่า และต้นไม้นั้นก็ไม่รัก ต้นไม้นั้นก็ไม่โศก คือไม่เหลืออารมณ์รับรู้ ฉันใดก็ดี อันนี้ชื่อว่า ไม่มีตัวตนในต้นไม้นั้น เพราะฉะนั้น. พระอรหันต์.ท่านรู้จริงในกองธาตุ..ทั้งหลาย ท่านจึงมีตาในคือตาปัญญา อันนี้เรียกว่าตาปัญญา หรือจะเรียกว่าปัญาจักขุข้างใน ที่รู้ตามความเป็นจริง ในสิ่งที่ เป็นของสมมุติ ก็ทีนี้ของจริง ยังมีอยู่อีกประการหนึ่ง คือของจริงอย่างยิ่งๆ ที่เหนือไปจากสมมุติ เหนือไปจากทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ไม่เที่ยง ของจริงนั้นก็คือพระนิพพาน ทีนี้ก็จะได้ย้อนมากล่าวถึง เรื่องสมมุติ ที่สัตว์ทั้งหลายนั้นยึดเอา ของไม่จริงหลงมัวเมาว่าเป็นของจริงกัน คือที่ไม่รู้ได้ตามความเป็นจริง เหมือนกับพระอรหันต์ หรือผู้ที่มีจักขุภายใน ก็จะเห็นจริงอย่างไรก็ตาม ในความรู้สึกของผู้ที่ยึดมั่น ในเรื่องหลงสมมุติ ก็ถือเอา ความยึดมั่นในเรื่องสมมุติ เป็นสำคัญ แล้วมอง. ผู้ที่หลุดพ้นว่าเป็นผู้ที่เพี้ยนไป คือมองไปกันคนละแบบ มองกันคนละมุม ท่านพระคุณเจ้าจะขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติผู้เหนือจากสมมุติ ผู้ที่เหนือไปจากสมมุติ ปุถุชนบางทีก็มองไปว่า ท่านเป็นผู้เพี้ยนไปเสียแล้วที่ มีทั้งศรัทรา หรือมีบางสิ่งบางอย่างที่ ดูเหมือนกับว่าจะเป็นคนบ้า เรื่องอันนี้ จะขอยกตัวอย่างถึง พระเจ้าตากสินตามประวัติ พระเจ้าตากสินในกาลครั้งหนึ่ง ก็ได้ยินมาว่าเมื่อท่านได้เป็นใหญ่เป็นโต ครองราชย์สมบัติแล้ว ภายหลังนี้ ท่านไม่ได้ครองราชย์สมบัติ เพราะว่าท่านปฏิบัติในทางธรรม ท่านปฏิบัติในทางธรรมจนมองเห็นตามความเป็นจริง แล้วท่านก็มีจิตใจน้อมไปในด้านที่จะสร้างพระบารมีเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลเบื้องหน้า คือ .เป็นพระโพธิสัตว์. ก่อนที่ท่านจะมีจิตใจน้อมไปในการที่ จะสร้างกองบุญบารมี ก็ท่านไปเห็นคนตาย เมื่อคราวที่กระทำสงคราม กระทำสงครามแล้วก็คนตายมาก คือสมัยนั้นการรบราฆ่าฟันกันเป็นมันก็มีมาก คนไทยก็ตายมาก พวกพม่าก็ตายมาก ทำสงครามกันหลายยก รบกันหลายหน ท่านก็เกิดความสังเวชใจ เกิดความเอ็นดูสงสารผู้ที่ตาย วิญญาณที่ตาย แล้วก็คนในแผ่นดินที่ไม่ตายก็ได้รับความทุกข์ทางกาย ทางใจแล้วต้องมาเวียนว่าย ตายเกิดกันอยู่อย่างนั้น เมื่อไรจะเห็นแสงสว่างกันเมื่อไรจะหลุดพ้นกัน .ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็เมื่อท่านเห็น คนตายโดยที่ท่านก็เป็นผู้นำทัพได้ไปยกทัพ สมัยเมื่อ กรุงศรีอยุธยา กรุงเทพยังไม่เป็นเมืองหลวง โดยยุคนี้พระเจ้าตากสินก็พอดี เกิดในสมัยนั้น แล้วพม่า ก็ได้มาเผามายึดเอาเมืองไทย ก็ตีกรุงศรีอยุธยา แตกย่อยยับเผาทำลาย พินาศวัดวาอารามโบสถ์วิหารถูกไหม้ถูกเผา แกะเอาทองทำไปจำนวนมาก เผาไหม้ฉิบหายวายวอดไปจนเกือบจะไม่มีอะไรเหลือหรอ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลายท่านก็เป็นนายทัพคราวนั้นเห็นว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกท่านก็ได้หลบหนี หรือได้ไปรวบรวมผู้คนมาได้ ๕๐๐ หรือประมาณ ๕๐๐ เป็นกำลังที่จะเข้าไปกู้บ้าน กู้เมืองไทย ก็เมื่อรวบรวมคนได้ประมาณ ๕๐๐ คน เป็นทหารฝีมือดี ก็จัดการวางแผน..เข้าตีประจัญบานทหารพม่า รบกันไปรบกันมา ฆ่ากันไปฆ่ากันมา แต่เพราะว่าท่าน เป็นคนมีบุญก็ในที่สุดท่านก็ปราบกองทัพพม่าให้พ่ายแพ้ไปได้ ตอนนั้นแหละท่านก็เกิดธรรมสังเวช แล้วก็ตั้งความปรารถนาขอให้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และอีกประการหนึ่ง ท่านก็ที่จะปรารถนาที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อให้ได้บรรลุซึ่งอริยสมบัติ หรือบรรลุซึ่ง มรรค ๔ ผล๔ ฌาน ๔ ฌาณ ๘ ก็ด้วยบุญบารมีพวกเทวดา ก็ได้คุ้มครองท่านตลอดมา.ให้ได้มีชัยชนะขึ้นเสวยราช ได้เป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วราษฏร ก็เห็นดี เห็นชอบ ยกท่านให้ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อครองกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้นมา กรุงเทพก็เจริญขึ้นมาทีหลัง ก็กลายมาเป็นมหานคร กลายเป็นกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ทีนี้ก็จะได้กล่าวถึงตอนที่ท่านเกิดซักน้อยหนึ่งก่อน การเกิดของท่านนั้นคือ ท่านก็เกิดเป็นเชื้อสายคนจีน คือท่านไม่ได้เกิดเป็นคนตระกูลเจ้า ท่านเกิดจาก เชื้อสายจากคนจีน คือมีพ่อค้าคนจีนในตอนนั้นคือ ๒ คนผัวเมีย คนจีนสองคนผัวเมียล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ก็มาเริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงเทพนั้นน่ะ ทีนี้ก็เมื่อตอนที่ท่านคลอดออกมาใหม่ๆ ฟ้าก็ผ่าลงมา ผ่าลงมาที่บ้านของคนจีน ๒ คนผัวเมียนั้น แต่ไม่มีอะไรเสียหาย ซึ่งเป็นนิมิตอันหนึ่งที่แสดงว่าท่านจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง หรือได้กอบกู้แผ่นดินดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แม้เทพเทวดาฟ้าดินก็มา สำแดงปาฎิหารร่วมกับท่าน. หรือประวัติของท่านให้ปรากฏแก่โลก พอท่านเกิดได้สามวันก็มีพญางูมาล้อมรอบ คือมาล้อมอยู่ ๓ รอบ คือมาล้อมท่านที่อยู่ในกระโด้ง ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็เหมือนกับหลวงปู่ทวดๆในกาลครั้งหนึ่งพอแม่ก็เอานอนไว้ในเปลเมื่อคราวไปทำนา ก็มีงูมันมานอนขดอยู่กับหลวงปู่ทวดเหมือนกัน แล้วก็ตอนที่งูนั้น หายไปก็ได้ทิ้งแก้วไว้ดวงหนึ่ง แล้วงูนั้นก็อันตรธานหายไป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านพระเจ้าตากสิน ก็มีงูมานอนกับท่านเหมือนกันคือมานอนปกปักษ์รักษานั่นเอ
ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย แล้วก็ตอนพญาจักรี พ่อแม่ของพระยาจักรี แม่ท่านชื่อแม่เอื้อม เป็นตระกูลเจ้าก็ได้มาขอเอา พระเจ้าตากสินกับ ๒ คนผัวเมียคนจีน มาเป็นเพื่อนพระเจ้าจักรี พ่อแม่พระยาจักรีก็ขอบุตร ขอเอาลูกของท่านทั้งสอง เอามาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม เหตุที่อยากได้ เพราะเห็นนิสัยดี ว่านอนสอนง่าย จะเป็นคนดี คนเก่ง หรือมีคุณลักษณะดี ถูกต้องอย่างนี้เป็นต้น ต่อเมื่อเขาเอาไปเลี้ยง เป็นลูกบุญธรรม ตอนที่เขาเอาไปเลี้ยง ทีนี้ก็ มีทรัพย์สิน เงินทองไหลมาเทมา มีสินทรัพย์เป็นเอนกอนันต์ เพราะฉะนั้นจึงให้ชื่อว่า สิน ก็คือสินทรัพย์นั้น เอนกอนันต์นั่นเอง ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็เมื่อท่านเจริญมา เจริญเติบโตมา เจ้านายก็เอาไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม เจ้านายก็เอาไปฝากกับพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เอาไปฝากกับพระเจ้าอยู่หัว ก็เพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ เข้าบวชเรียนหนังสือ .พระเจ้าอยู่หัวก็เอาไปฝากกับอาจารย์ ทองดี ที่วัดหนึ่ง โกษารามนั่นเอง ก็ได้ไปเรียนธรรม เรียนหนังสือ เรียนบาลี เรียนขอม เรียนไทย นอกจากนั้นก็ยังได้เรียน พระไตรปิฏกอีกด้วย ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ต่อมาท่านต่อมาอีกท่านก็ได้บวชๆ ก็เมื่อท่านได้บวช ประมาณอายุ ๑๐ กว่าปี หรือบวชเณรระหว่างที่ท่านได้บวช ท่านก็ได้เล่าเรียนเพิ่มเติมขึ้นอีก ทีนี้มีความรู้ในภาษาลัว๊ะ ภาษาจีน แล้วก็มีความรู้ภาษาแขก และก็มีความรู้ภาษาญวน มีความรู้ฉะฉานชัดเจน แตกฉานในภาษาต่างๆ แล้วก็ปฏิบัติธรรมด้วย ก็ในระหว่างที่ปฏิบัติธรรม เดินจงกรมอยู่กับเพื่อนอีกท่านหนึ่งคือทองด้วง ได้บวชเป็นพระ เป็นเณรเหมือนกัน หรือพระยาจักรี ก็กำลังเดินจงกรมกันอยู่ทำสมาธิ เดินจงกรม ระหว่างนั้นก็มีลุงคนชรา เป็นชินแสคนหนึ่ง ที่มีความรู้เรื่องดวงชะตา มาทำนายทายทักหรือทำนายโหงวเฮง ก็พอมองเห็น พระสินเณรสินและเณรด้วงเข้า ก็มีความรู้สึกสะท้อนเข้ามาในใจ แล้วรู้สึกหัวเราะขึ้นมา ยิ้มหัวเราะขึ้นมา ท่านจึงสงสัยๆว่า คนชราจีนคนนี้หัวเราะใครที่ไหน เรื่องอะไร ยืนหัวเราะทำไมคนจีน ก็บอกว่า เราน่ะเห็นท่านทั้งสอง แล้วก็มีความยินดี เพราะลักษณะของท่านทั้งสอง ต่อไปข้างหน้านี้ ท่านก็จะได้กอบกู้บ้านเมือง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ทั้งสองท่าน ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็เมื่อคนชราจีน มาทำนาย ทายทักท่านอย่างนั้น แล้วก็เป็นความจริงออกมา หลังจากนั้นท่านก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งสองพระองค์ ดังที่ ท่านพระคุณเจ้าหลวงพ่อ ได้กล่าวมาแล้วตะกี้ ทีนี้ก็ว่ามาถึง ตอนที่ท่านรบทัพจับศึก ครั้งหนึ่งท่านถูกเกณฑ์ เป็นหัวหน้ากองทัพมาช่วยเมืองเชียงใหม่. กาลครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่ ก็ถูกพม่าเข้ามารบ ถูกพม่าเข้ามายึด เข้าครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าตากสินก็คุมกองทัพ ขึ้นไปช่วยเมืองเชียงใหม่ให้พ้นจากพม่า ในระหว่างที่เดินทางมาก็เดินตามไหล่เขา ตามถิ่นทุรกันดาร จนถึงระหว่างทางป่าเขา หลายลูก ก็อดน้ำ อดท่า พวกขุนนาง ก็ทูลกล่าว บอกว่าต่อไปนี้ ข้างหน้าจะไม่มีน้ำแล้ว ถ้าท่านเดินทางไปสภาพนี้ ก็จะพากันอดตาย ไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแม่น้ำที่จะเลี้ยงจะดื่ม จะทำอย่างไรกัน ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย พระเจ้าตากสิน หรือท่านแม่ทัพตากสินบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก เราจะให้ฝนตกในคืนนี้แหละ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ท่านจะให้ฝนตกอย่างไร ข้าราชบริวารก็ไม่อาจจะรู้ได้ ท่านก็บอกว่าจะมาทางนั้น ตั้งเวลาไว้ วันฝนจะตกลงมาให้ เตรียมภาชนะไว้ แล้วท่านก็ทำพิธีท่านก็ตั้งสัจจะอธิฐานอยู่ในใจของท่าน ฝนก็ตกลงมาในคืนนั้น ตามวันตามเวลา ให้ไพร่ฟ้าชาวประชา กองทัพ ของท่าน ได้ดื่มน้ำไม่ขาดแคลน อุดมสมบูรณ์ ก็ไม่ถึงกับตาย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว. ถ้าไม่เช่นนั้น ก็จะพากันอดตาย ไปหมดหลังจากที่ท่านได้ตั้งสัจจะอธิฐานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านก็.ตั้งกองบุญกองบารมีหลายอย่างจนเงินในท้องพระคลังหมด แล้วบ้านเมืองก็ล่มจม ย่ำแย่ เป็นหนี้เป็นสินกับบ้านอื่น เมืองอื่น เป็นต้นว่าเป็นหนี้ของประเทศจีน อย่างนี้เป็นต้น ประเทศจีนเขาก็เอาเงินมาให้ เอาอะไรมาให้ ก็กลายเป็นหนี้เป็นสินเขาขึ้นมา มากมายในเวลานั้น ท่านจะทำอย่างไร ก็หาทางรอดให้ได้ หาเงินมาใช้เขาก็ไม่ได้. พวกไพร่ฟ้าก็เหน็ดเหนื่อย พวกทหารก็ตายมาก เพราะต้องทำสงคราม ไหนท่านจะต้องสร้างบารมี ไหนจะต้องใช้หนี้กู้แผ่นดิน สร้างบ้านสร้างเมือง วัดวาอาราม ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย อีกประการหนึ่งที่สำคัญสุด ก็คือทาง พระพุทธศาสนา ส่วนของพระพุทธศาสนาในเวลานั้น ก็ย่ำแย่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าใครเป็นพระ ไม่รู้ว่าใครไม่เป็นพระ ก็เกิดความสับสนวุ่นวายกันขึ้นมา เกิดความสับสนขึ้นมา ในเรื่องของพระสงฆ์องค์เจ้า เพราะว่าผู้ที่ไปบวชนั้น ไม่ได้บวชด้วยพระธรรมวินัย หรือบวชด้วยการโกนหัวนุ่งห่มเหลืองเอาเองอะไรก็มี ทหารก็มากหนีไปบวช ก็เป็นอันว่า เรื่องศาสนาก็กลายเป็นเรื่องวุ่นวายไป บางที พระก็เป็นทหารฝ่ายตรงข้ามปลอมตัวมารบกันก็มี แล้วที่จริงมันก็ไม่ใช่พระแล้ว บวชขึ้นบังหน้าเท่านั้น ทีนี้ในศาสนาการนุ่งเหลือง ห่มเหลือง ก็ไม่รู้ใครเป็นพระ ก็แล้วทีนี้ จะทำอย่างไรล่ะ ท่านก็จะกอบกู้ศาสนาอยู่แล้ว ท่านจะช่วยศาสนาจะทำอย่างไร ก็ไหนเลยจะรู้ได้ว่าใครห่มเหลืองแล้ว จะรู้ได้ว่าใครเป็นพระ หรือใครไม่เป็นพระ ท่านก็เลยเอามาสอบสวนกันละ ทีนี้ใครรู้อะไรก็ชี้แจง ใครต่อต้าน ใครมีเหตุ ใครมีผล ใครไม่มีเหตุ ใครไม่มีผลก็เอาผ้าเหลืองออก ใครไม่มีเหตุ ไม่มีผลก็ขับเอาผ้าเหลืองออก ก็เป็นอันว่าคนที่ขับออกนั้นมันไม่ใช่พระ เป็นคนปลอมมาทั้งนั้น ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลายบางทีก็ถึงกับถูกเฆี่ยนถูกตี เพราะการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ ปลอมตัวมาเพื่อ กระทำผิด หรือว่าบางพวกก็ถูกลงโทษหนักทีนี้.พวกราษฏร อยู่รอบนอก..ที่เป็นรอบนอกก็ไม่รู้เรื่องของภายใน ก็เข้าใจว่าพระเจ้าตากสินนั้นนะ เสียสติไปเสียแล้ว ขับให้พระสึกออกกันไปมาก อะไรต่อมิอะไร แล้วก็ตีพระ ก็มาเข้าใจว่าท่านเสียสติ ท่านเพี้ยนไปเสียแล้ว ก็แท้ที่จริงท่านต้องการช่วย กอบกู้พระพุทธศาสนา ให้ผ่องใสคืนมา ให้อยู่ในพระธรรมวินัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนนี้แหละ เขาก็หาว่าท่านนั้นเป็นบ้า เป็นก็เป็น เป็นทางที่ดี เป็นทางออกของท่านก็คือว่า เมื่อเขาหาว่าท่านเป็นบ้า ท่านก็ยอมรับว่าเออ!เขาว่าเราเป็นบ้าก็ดีแล้ว เอาเราไปฆ่าเสีย เอาไปประหารเสีย
ทีนี้ก็ มีคนที่จะถาม ก็คือเนื้อความนี้ หรือจะเป็นเทวดา หรือผู้ที่อุปถัมภ์กันมาเล่าให้ฟัง ดังที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กล่าวไว้ว่า พระเจ้าตากสินนั้น ท่านไม่ได้โดนประหารโทษ ท่านไม่ได้ถูกประหาร ท่านไม่ได้ถูกฆ่า คือท่านบวชแล้วก็เดินธุดงค์ ไปในป่า ตามถ้ำตามดง จนเสียชีวิตในผ้าเหลือง แต่ตามประวัติศาสตร์นั้น ตามประวัติของคนไทยนั้นว่า พระเจ้าตากสินได้ถูกลงโทษ แล้วก็หายเงียบไป เราทั้งหลายที่อยู่ภายนอกนั้นก็ไม่รู้ ก็เป็นอันว่าเรื่องจริงของพระเจ้าตากสินนั้น ท่านเป็นผู้มีบุญ ท่านเป็นผู้กอบกู้แผ่นดินประไทย และกอบกู้ทั้งพระพุทธศาสนา ท่านสร้างกองบุญ กองบารมีมามาก แล้วดำริที่จะเป็นองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลเบื้องหน้า ก็เพราะฉะนั้นท่านจึงยอมให้ คนทั้งหลายประณามว่าท่านเป็นคนเพี้ยน ทีนี้ก็ย้อนกล่าวมาถึงเรื่องสมมุติ หรือเรื่องวิมุติ ก็เพราะท่านพระเจ้าตากสิน ท่านก็รู้เรื่อง วิมุติ หรือเรื่อง ปรมัตถ์ หรือเรื่องสมมุติ ดีแล้ว ท่านจึงทำไป ด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือไม่เป็นบาป เพราะท่านสร้างกองบุญบารมี ทีนี้ท่านก็มารู้จักเรื่องสมมุติขึ้นมา เช่นว่าไอ้คน เอาผ้านุ่งเหลืองห่มเหลืองโกนหัว แท้จริงแล้วเป็นโจรไปก็มี ก็ว่าที่จับโจร เป็นอย่างนั้นมันจะเป็นบาปละหรือ เราก็จะโทษท่านว่าเป็นผู้ที่มีบาปนั้น ก็จะไม่ถูกต้อง เพราะคนเราทั้งหมด ยึดถือเรื่องภายนอก เรื่องสมมุติกันไปหมดคือเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยตาว่ามันเป็นของจริง เห็นด้วยตาว่าเป็นของจริง ก็ด้วยเหตุอันนี้เองคนทั้งหลาย ปุถุชนเรานี้ จึงถือเอาเรื่องภายนอกมายึดถือ ซากศพของคุณพ่อ คุณแม่ ครูบาอาจารย์ที่มีวิญญาณละทิ้งไปแล้ว ก็ยังห่วง ยังอาลัยรักใคร่ไม่ยอมถอดถอน บางทีก็เก็บไว้นานๆ ไม่ยอมเผา ไม่ยอมฝัง อะไรเหล่านี่หละ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย เก็บไว้ทำไม บางแห่งก็เป็นสำนัก..ปฏิบัติธรรม มีชื่อเสียงโด่งดัง เสียด้วยซ้ำ ศพครูบาอาจารย์ ก็เก็บซากศพ ครูบาอาจารย์เอาไว้ แล้วก็ไม่ยอมเผา แล้วก็ไม่ยอมฝัง เก็บไว้ตลอด เก็บไว้ทำไม เพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร นั่นละหรือ ที่จะรู้จักของจริง คือปรมัตถ์ หรือของสมมุติก็จะตอบยาก เก็บไว้ทำไม ก็ได้คำตอบออกมาว่า เก็บเอาไว้ขาย เอาเก็บไว้ขาย แต่ยังใดก็ตาม ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็มีคำตอบออกมาอย่างนี้ ก็ถ้าจะถามว่าเอาไปฝังเอาไปเผาไม่ได้เหรอ พระพุทธเจ้าของเรา ก็ยังเก็บไว้เพียง ๗ วัน ก็ยังเอาไปเผา แล้วทีนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าและไม่ใช่ พระราชา มหากษัตริย์เสียด้วยซ้ำ ก็ยังเก็บไว้ไม่มีกำหนดเผา เก็บไว้ทำไม ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ก็คือว่าคนไม่รู้จักความไม่เที่ยงแห่งกองสังขารทั้งหลาย คือว่าคนไม่รู้จักความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เอง ยึดเอาของสมมุติว่าเป็นของจริง ว่าเป็นของแท้ ว่าเป็นของเที่ยง ว่าเป็นของดี แท้ที่จริงจะเก็บไว้ได้เพียง ร้อยปีมันก็เสื่อมแล้ว คนเพียงร้อยปีก็เสื่อมแล้ว ก็หมดความนับถือ แล้วคนรุ่นหลัง ก็ไม่รู้จัก ไม่รู้ว่าเอ่อ ครูบาอาจารย์สมัยก่อนท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติชอบ เป็นผู้วิเศษในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์อะไรเหล่านี้ ร้อยปีเขาก็ไม่รู้ แล้วก็หมดความนับถือ ก็พากันลบหลู่ ว่าเอาไว้รกที่รกทาง รกแผ่นดิน รกที่ทำมาหากิน จะปลูกบ้านปลูกเรือน ทำไร่ไถนาไป เขาก็หาว่ารกเกะกะกีดขวาง ไม่มีประโยชน์ ทีนี้ก็จะมากล่าวในเรื่อง หากเก็บไว้ก็จะเป็นหนทางหา คนเข้าวัด หรือนำมาซึ่งทรัพย์สินเงินทองต่อไป เพราะไม่รู้ ความไม่เที่ยงมั่นอย่างนี้ ศรัทราญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลายนี่ก็เป็นเรื่องของความไม่รู้ ความเป็นจริง ก็ยึดถือเอาสิ่ง ภายนอกมาเป็นสิ่งสำคัญ ก็เป็นอันว่าท่านพระคุณเจ้าหลวงพ่อ ได้กล่าวมาหรือพรรณามาถึงเรื่อง สมมุติ ภายนอกกับ ปรมัตถ์คือของจริง ไม่ใช่สิ่งสมมุติ ที่ไม่ใช่เปลือกนอก ผู้ปฏิบัติธรรม พึงมีผู้รู้ เกิดตาปัญญาขึ้นมาภายใน ซึ่งก็เป็นตาใน ตาปัญญารู้ได้แจ้ง ตามความเป็นจริง ขอให้ตัดการยึดถือ สิ่งสมมุติออก ก็จะไม่หลงในสมมุติ หลงเปลือกนอกของเขา ของเรา ของสิ่งเหล่านี้ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แสดงมาย่อๆเรื่องของจริงสองประการ โดยเนื้อความก็ขอยุติ ด้วยประการละฉะนี้
ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2016 เวลา 02:33 น.)